facebook  youtube  line

อาหารเด็ก 6 เดือน –1 ปี

เมนูบำรุงสายตา อาหารเสริมลูกวัย 6-12 เดือน

อาหารเสริม, เมนูอาหารเด็ก, เมนูบำรุงสายตา, อาหารบำรุงสายตา, เมนูอาหารเด็กวัย 6-12 เดือน, เมนูอาหารเสริมเด็กขวบปีแรก  

เมนูบำรุงสายตา อาหารเสริมลูกวัย 6-12 เดือน 


เด็กขวบปีแรกมีพัฒนาการต่างๆ รุดหน้าอย่างรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาการทางการมองเห็นด้วย ซึ่งอาหารมีส่วนอย่างมากในการช่วยพัฒนา 3 เมนูอาหารเสริมที่เหมาะกับเด็กวัย 6-12 เดือนนี้ มีคุณสมบัติช่วยบำรุงสายตาลูกได้เป็นอย่างดี

 

สารอาหารสำคัญสำหรับดวงตา

วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี คือสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา มีซึ่งส่วนใหญ่พบในพืช ผักผลไม้หลากสีสัน ไม่ว่าจะสีส้ม สีแดง สีเหลือง เช่น ฟักทอง ข้าวโพด ไข่แดง มะเขือม่วง มะละกอ มะเขือเทศ แครอต มะม่วงสุก แคนตาลูป ตับหมู ตับไก่ ปวยเล้ง องุ่น กีวี ส้ม และเนยสด

นอกจากนี้ยังมี ลูทีน และซีแซนทีน สารธรรมชาติที่จัดอยู่ในตระกูลแคโรทีนอยด์ ซึ่งพบมากในพืชผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ผักโขม ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง และมีมากในน้ำนมแม่ แม้จะยังไม่คุ้นหูเราเท่าไหร่ แต่ก็ถือเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญกับลูกไม่น้อย

เพราะสารลูทีนทำหน้าที่กรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นแสงที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ให้เข้ามาทำลายจอประสาทตา และยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์ในจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งร่างกายของลูกเองก็ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ การให้ลูกดื่มนมแม่และรับประทานอาหารที่มีวิตามินดังกล่าวเป็นประจำ จะช่วยทะนุถนอมสายตาของลูกให้มีประสิทธิภาพในการมองเห็น และช่วยชะลอความเสื่อมของสายตาได้ด้วย

-------------------------------------------

รวมพลังเบต้า สำหรับเด็กวัย 6-8 เดือน
 

อาหารเสริม, เมนูอาหารเด็ก, เมนูบำรุงสายตา, อาหารบำรุงสายตา, เมนูอาหารเด็กวัย 6-12 เดือน, เมนูอาหารเสริมเด็กขวบปีแรก


ส่วนผสม

ฟักทองนึ่งบด 2 ช้อนโต๊ะ

แครอตนึ่งบด 2 ช้อนโต๊ะ

มันเทศนึ่งบด 2 ช้อนโต๊ะ
 

วิธีทำ

1.นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ภาชนะคนเข้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน

2.เติมน้ำต้มผัก น้ำซุป หรือ นมเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ข้นมาก

-------------------------------------------

ดูโอสมูทตี้ สำหรับเด็กวัย 8-10 เดือน
 

อาหารเสริม, เมนูอาหารเด็ก, เมนูบำรุงสายตา, อาหารบำรุงสายตา, เมนูอาหารเด็กวัย 6-12 เดือน, เมนูอาหารเสริมเด็กขวบปีแรก

 

ส่วนผสม

มะม่วงสุกปอกเปลือกหั่น 1 ถ้วยตวง

แคนตาลูปหั่น ¼ ถ้วยตวง

โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ¼ ถ้วยตวง

นมสดหรือนมของลูก ¼ ถ้วยตวง

น้ำแข็งเกล็ด ¼ ถ้วยตวง
 

วิธีทำ

1.ใส่ส่วนผสมทั้งหมดในเครื่องปั่นผสมอาหาร

2.เทส่วนผสมที่ได้ใส่ถ้วยสวยๆ แต่งหน้าด้วยมะม่วงสุก เพิ่มลูกเล่นด้วยการกดพิมพ์รูปหัวใจ

-------------------------------------------

Creamy Corn Soup สำหรับเด็กวัย 10-12 เดือน


อาหารเสริม, เมนูอาหารเด็ก, เมนูบำรุงสายตา, อาหารบำรุงสายตา, เมนูอาหารเด็กวัย 6-12 เดือน, เมนูอาหารเสริมเด็กขวบปีแรก


ส่วนผสม

ข้าวโพดดิบฝาน 1 ถ้วยตวง

นมสด 1 ถ้วยตวง

หอมใหญ่สับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ

เนยสด 1 ช้อนชา

ขนมปังโฮลวีตหั่นสี่เหลี่ยมอบ 2 ช้อนโต๊ะ
 

วิธีทำ

1.นำนมสดและข้าวโพดไปปั่นให้ละเอียด

2.กรองผ่านกระชอนเพื่อแยกกากออก

3.ละลายเนยสด ในหม้อตั้งไฟอ่อนๆ

4.ใส่หอมใหญ่ลงไปผัดให้มีกลิ่นหอม

5.เทข้าวโพดที่กรองแล้วลงไปเคี่ยวต่อจนส่วนผสมเริ่มข้น

6.ตีไข่แดงผสมลงในซุปคนเร็วๆ เพื่อไม่ให้ส่วนผสมเป็นก้อน เสิร์ฟพร้อมกับขนมปังกรอบ
 

 

 

หวังว่าเมนูบำรุงสายตาคราวนี้ คงทำให้แม่ๆ มีไอเดียดีๆ ไว้คอยเติมเต็มสุขภาพลูกให้แข็งแรง พร้อมๆ กับสนุกกับเมนูใหม่ๆ เหล่านี้ได้อย่างไม่รู้เบื่อ ทั้งหมดก็เพื่อคนที่คุณรักทั้งนั้น จริงไหมคะ
 

  • Hits: 4044

แนะนำวิธีเลือกอะโวคาโด วิธีกินและเมนูจากอะโวคาโดสำหรับเด็ก

 อะโวคาโด-อโวคาโด-วิธีเลือกอะโวคาโด-Avocado-ให้ลูกกินอะโวคาโด-อาหารเสริม-ผลไม้สำหรับเด็ก-เมนูอะโวคาโด

อะโวคาโดเป็นผลไม้มีไขมัน มีความเข้มข้นของรสชาติ เป็นไขมันที่มีประโยชน์ แม่ ๆ นิยมเลือกอะโวคาโดมาประกอบอาหารให้ลูก ๆ โดยเฉพาะลูกเล็กๆ ที่เริ่มอาหารเสริม

แนะนำวิธีเลือกอะโวคาโด วิธีกินและเมนูจากอะโวคาโดสำหรับเด็ก

คุณค่าทางโภชนาการ ของ อะโวคาโด

อะโวคาโดเป็นผลไม้ซูเปอร์ฟรุตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พ่อแม่หลายคนนิยมให้ลูกกินอะโวคาโด เพราะย่อยง่าย มีกากใย ดีต่อระบบขับถ่ายและภูมิคุ้มกันของลูก อะโวคาโด 100 กรัม ให้พลังงาน 160 กิโลแคลอรี มีไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามินซี โพแทสเซียม วิตามินและแร่ธาตุ ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์มากมาย

 

วิธีเลือกอะโวคาโดให้ลูก

วิธีเลือกอะโวคาโด ถ้าจะกินอะโวคาโดทันทีควรเลือกอะโวคาโดที่สุกพร้อมกินได้เลย โดยบีบดูแล้วอะโวคาโดถ้านิ่ม ๆ ก็แสดงว่าสุกพร้อมกินแล้ว แต่หากว่ายังไม่กินทันทีสามารถเก็บไว้ 2-3 วันเพื่อบ่มรอให้สุกได้ โดยเลือกลูกที่ยังแข็งอยู่แล้วห่อหนังสือพิมพ์ไว้ก่อนค่ะ


อะโวคาโด-อโวคาโด-วิธีเลือกอะโวคาโด-Avocado-ให้ลูกกินอะโวคาโด-อาหารเสริม-ผลไม้สำหรับเด็ก-เมนูอะโวคาโด


หรือดูจากขั้วโดยถ้าเด็ดขั้วดู หากเป็นสีน้ำตาลเข้มแสดงว่าแก่ไป หรือถ้ายังเป็นสีเขียวอาจจะอ่อนไป ควรให้ขั้วด้านในเป็นสีเหลืองน้ำตาลถึงจะสุกพอดี
 

วิธีปอกเปลือกอะโวคาโด


การปอกอะโวคาโดสามารถทำได้ง่ายๆ โดยทั่วไปมักทำใช้มีดผ่าครึ่งโดยรอบผลอะโวคาโด แบ่งแกะออกมาเป็นสองซีกจะพบว่ามีเม็ดขนาดใหญ่อยู่ เอามีดดึงเม็ดออกมาจากนั้นใช้มีดค่อย ๆ ผ่าเป็นเสี้ยวจากทั้งเปลือก แล้วใช้ช้อนตักเนื้อออกมา หรือผ่าเป็นแว่น ๆ ค่อยลอกเปลือกออกก็สามารถทำได้โดยง่าย

ทิปส์การเก็บอะโวคาโด


ถ้าผ่าออกมาแล้วใช้ไม่หมดให้ใช้มะนาวทาที่ผิวอะโวคาโดเพื่อไม่ให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและนำพลาสติกแรปปิดเก็บไว้ได้ค่ะ


อะโวคาโด-อโวคาโด-วิธีเลือกอะโวคาโด-Avocado-ให้ลูกกินอะโวคาโด-อาหารเสริม-ผลไม้สำหรับเด็ก-เมนูอะโวคาโด  

 
 

เมนูอาหารจากอะโวคาโด



อะโวคาโด-อโวคาโด-วิธีเลือกอะโวคาโด-Avocado-ให้ลูกกินอะโวคาโด-อาหารเสริม-ผลไม้สำหรับเด็ก-เมนูอะโวคาโด

เมนูอะโวคาโดสำหรับเด็ก ๆ แม่ส่วนใหญ่มักนำมาบดกับผัก หรือไข่ เช่น

  • เมนูอะโวคาโดบดกับฟักทอง
  • เมนูอะโวคาโดปั่นบดกับมะม่วง
  • เมนูอะโวคาโดบดกับไข่แดง
  • เมนูอะโวคาโดบดกับกล้วยราดน้ำนม

 



หรือถ้าทำเมนูสำหรับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ก็สามารถกินสด ๆ ได้เลย หรืออาจจะราดน้ำผึ้ง ใส่ไอศกรีมก็ได้ค่ะ อยากให้ลองชิมสด ๆ กันดูก่อนว่าชอบหรือไม่ และจะนำมาประยุกต์เป็นเมนูอะไรได้ ก็แล้วแต่จะสร้างสรรค์เลยค่ะ
 
 
 

ของหวานสำหรับเด็ก, อะโวคาโด

  • Hits: 60354

เมนูตับ เสริมธาตุเหล็กลูกวัย 6-12 เดือน

เมนูตับ-เมนูอาหารเด็ก-อาหารเสริมเด็กทารก-อาหารเสริม-อาหารเด็ก-อาหารเด็กวัย 6-12 เดือน-ตับมีประโยชน์-ให้ลูกกินตับตอนไหน-ตับบด

เมนูตับ เป็นเมนูอาหารเสริมลูกวัย 6-12 เดือน ที่มีธาตุเหล็กและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มาดูเทคนิคการเลือกและการปรุงเมนูตับให้เป็นเมนูอาหารเด็กที่แสนอร่อยให้ลูกน้อยกันค่ะ

เมนูตับ เสริมธาตุเหล็กลูกวัย 6-12 เดือน

หลัง 6 เดือนไปแล้ว นมแม่จะมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับเด็กวัยขวบปีแรก การได้อาหารตามวัยคุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงให้ลูก หนึ่งในแหล่งธาตุเหล็กชั้นดีก็คือตับนั่นเอง มาดูกันว่าตับเป็นอาหารที่มีประโยชน์ในด้านไหนกันบ้าง
 

-โปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

-ธาตุเหล็กสูง ช่วยเสริมสร้างฮีโมโกบิน ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

-วิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงรักษาผิวหนัง เส้นผม ทำให้เนื้อเยื่อในตาแข็งแรง สายตาดี มองเห็นได้ชัดในที่มีแสงสว่างน้อย

-วิตามินบี 3 ทำให้ลำไส้มีสุขภาพดี ระบบย่อยเป็นปกติ กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-วิตามินบี 5 ช่วยให้ร่างกายสามารถนำคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

-วิตามิน บี 6 สร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ๆ ให้กับร่างกาย

-วิตามิน บี 12 บำรุงประสาทให้แข็งแรง ทำให้สมองทำงานได้ดี ความจำดี และทำให้การสร้างเลือดเป็นปกติ
 

เลือกตับให้เหมาะกับลูก

การเลือกตับให้เหมาะสำหรับเด็กวัย 6-8 เดือนนั้น แม่ ๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้ตับไก่เพราะเนื้อนิ่ม ควรเลือกที่สีอ่อน หากซื้อตอนเช้าจะได้ตับที่สด และควรปรุงอาหารในวันเดียวกัน ไม่ควรเก็บตับที่ซื้อมาเกิน 24 ชั่วโมง เนื่องจากตับจะเสียง่าย ส่วนการเลือกซื้อตับหมู ควรเลือกตับที่สดเนื้อขึ้นเงา สีอ่อนไม่แดงเข้ม เนื้อตับจะไม่กระด้าง
 

เทคนิคการปรุงตับ

ที่ช่วยปรุงตับไม่ขม ไม่คาว และไม่แข็ง แถมนิ่ม อร่อย ต้องใช้วิธีนี้
 

1.เลือกซื้อตับที่สด

2.ล้างตับด้วยเกลือป่น ช่วยลดความคาวของตับ

3.หมักด้วยซีอิ๊วหรือนมสดเล็กน้อยประมาณ 15-30 นาทีก่อนนำมาปรุงอาหาร ช่วยลดความคาวของตับ

4.นำตับไปลวกด้วยน้ำร้อนจัด ช่วยลดความขมและกลิ่นคาว

5.การผัดตับด้วยน้ำมันที่ร้อน ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะทำให้ตับนิ่ม อร่อยและไม่คาว
 


เมนูตับ-เมนูอาหารเด็ก-อาหารเสริมเด็กทารก-อาหารเสริม-อาหารเด็ก-อาหารเด็กวัย 6-12 เดือน-ตับมีประโยชน์-ให้ลูกกินตับตอนไหน-ตับบด

เมนูอาหารเด็ก เมนูตับ


โจ๊กตับ (6-8 เดือน)
 

เครื่องปรุง  

ปลายข้าวกล้อง 2 ช้อนโต๊ะ

ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก ¼ ถ้วย

หมูสันนอกหั่นชิ้นหนา 1 นิ้ว 1 ขีด

ตับไก่ 1 ชิ้น

ผักกาดขาวหั่นฝอย ¼ ถ้วย

เกลือป่น ¼ ช้อนชา

น้ำเปล่า 1 ถ้วย
 

วิธีทำ

1.คลุกเคล้าตับไก่กับเกลือป่น แล้วล้างน้ำเพื่อดับกลิ่นคาว พักใส่ชาม

2.ต้มปลายข้าวกล้องกับน้ำ พอเดือดใส่ฟักทอง ผักกาดขาวและหมูสันนอก เร่งไฟให้เดือด ใส่ตับไก่ คนให้สุกทั่ว

3.เทส่วนผสมใส่หม้อตุ๋นประมาณ 2-3 ชั่วโมง คนข้าวตุ๋นบ้างเพื่อไม่ให้ข้าวไหม้ติดก้นหม้อตุ๋น
 

Tip

การตักโจ๊กตับป้อนลูกในมื้อแรกที่เริ่มอาหารเสริม ควรตักเฉพาะส่วนที่เป็นโจ๊กและฟักทองที่เปื่อย สำหรับตับและเนื้อหมู การตุ๋นช่วยให้โปรตีน วิตามินและเกลือแร่บางส่วนละลายในน้ำ ทำให้เหมาะต่อการย่อยการดูดซึม มื้อที่สองให้ตักแบ่งตับไก่ เนื้อหมูอย่างละ 1- 2 ช้อนชาแล้วบดผ่านกระชอนให้ละเอียดนำมาคลุกเคล้ากับโจ๊ก เป็นการเพิ่มปริมาณสารโปรตีนและฝึกให้หนูน้อยคุ้นเคยกับการกินตับ มื้อถัดไปจึงเพิ่มปริมาณเป็น 1 ช้อนโต๊ะ พร้อมกับสังเกตการย่อยอาหารของหนูน้อยด้วย จากการที่ไม่มีท้องอืด สามารถดื่มนมได้ปริมาณเท่าเดิมในมื้อที่กินนม สามารถดัดแปลงเพิ่มด้วยการเติมผักอื่น เช่น แครอต ผักขม ผักตำลึง เพื่อเด็กมีโอกาสฝึกกินผักได้หลากหลาย
 

ไข่แดงตับบด (9-10 เดือน)

เครื่องปรุง

ไข่แดงต้มสุก ½ ฟอง

ตับไก่สับละเอียดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ

ไก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

หอมใหญ่สับละเอียด 1 ช้อนชา

เนย 1 ช้อนชา

แครอตต้มสุกสับ 1 ช้อนโต๊ะ

กล้วยน้ำว้าสุกครูด 2 ช้อนโต๊ะ
 

วีธีทำ

1.ผัดเนยกับหอมใหญ่สับด้วยไฟอ่อน ในหม้อเล็กจนหอมใหญ่สุก เหลืองกลิ่นหอม

2.ใส่ตับไก่สับ ใช้ไฟแรงผัดเร็ว รวนตับให้สุก ลดไฟลงใส่ไก่สับผัดให้เข้ากัน

3.ใส่แครอตสับ กล้วยน้ำว้าครูด ผัดให้เข้ากัน ใช้ไฟอ่อน

4.ใส่ไข่แดงต้มสุก ยีรวมให้เข้ากัน ตักข้าวต้ม 1 ถ้วยคนให้เข้ากัน เคี่ยวไฟอ่อนจนข้าวต้มเปื่อย
 

Tip

การผัดตับไก่กับเนย ช่วยทำให้ลดกลิ่นคาว ขณะใส่ไข่แดง ใช้หลังทัพพียีเนื้อไก่ ตับไก่ แครอตและกล้วยครูดให้แหลก ช่วยย่นเวลาในการเคี่ยวข้าวต้ม อาจสับตับไก่ให้ละเอียดทำให้ตับไก่สุกเนื้อเนียน ไม่เป็นเม็ด
 

ตับไก่รวมมิตร (11-12 เดือน)


เครื่องปรุง 

ตับไก่สับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ

หมูสับ 1 ช้อนโต๊ะ

ไก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

เต้าหู้อ่อนหั่นเต๋าเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมหั่นซอย 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว ¼ ช้อนชา

แครอตต้มสับ 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำมัน 1 ช้อนชา

น้ำซุปต้มกระดูก ¼ ถ้วย
 

วิธีทำ

1.นำตับไก่สับไปหมักซีอิ๊ว ¼ ช้อนชา 15 นาที

2.ตั้งกระทะพอร้อน เติมน้ำมัน 1 ช้อนชา พอน้ำมันร้อนใส่ตับไก่ลงรวนพอสุก ตักพักไว้ในจาน

3.เติมน้ำซุปใส่กระทะ พอน้ำซุปร้อนใส่ไก่สับ หมูสับลงรวนสุก เติมแครอต เต้าหู้อ่อน ใส่ตับไก่ที่รวนแล้ว ลงผัดคลุกเข้ากัน โรยต้นหอมผัดจนต้นหอมสุก เสิร์ฟกับข้าวสวยหุงสุกนิ่มหรือ ข้าวต้ม
 

Tip

เทคนิคผัดตับไก่สุกพักไว้ ทำให้เนื้อตับไม่แข็ง นิ่มอร่อย และไม่คาว อาหารหนูน้อยวัย 11-12 เดือน ลักษณะเนื้อจะหยาบและมีความข้นหนืดขึ้น คุณแม่อาจหั่นตับเป็นชิ้นหนาทอดในน้ำมันประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แบ่งตับทอดที่สะเด็ดน้ำมัน สับให้ละเอียดนำมาคลุกทีหลังก็ได้


 

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน, อาหารเสริมเด็กทารก, เมนูตับ

  • Hits: 77139

เมนูไข่ อาหารเสริมเด็กวัย 6-12 เดือน

อาหารเสริมเด็ก-เมนูไข่-เมนูอาหารเด็ก-อาหารทารก-เด็กทารกกินไข่ได้มั้ย-ไข่เป็ด-ไข่ไก่-ไข่นกกระทา

เมนูไข่ อีกหนึ่งอาหารเสริมเด็กวัย 6-12 เดือน ที่เป็นเมนูถ้วยโปรดของเด็กอีกหลายคน เป็นจุดเริ่มต้นโภชนาการที่ดีเมื่อถึงวัยที่ลูกเริ่มอาหารเสริม

เมนูไข่ อาหารเสริมเด็กวัย 6-12 เดือน

ไข่ทุกชนิดเป็นแหล่งโปรตีนและไขมันเป็นหลัก มีคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก โปรตีนในไข่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย มีเกลือแร่วิตามินสำคัญต่างๆ ได้แก่ ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินเอ บี ดี อี นอกจากนี้ ไข่ยังให้โปรตีนที่สมบูรณ์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมองได้เป็นอย่างดี

ไข่ที่นิยมบริโภค

มี 3 ชนิด ได้แก่ ไข่ไก่มีเนื้อนุ่มและคาวน้อยกว่าไข่เป็ด ไข่นกกระทาฟองเล็กและรสจืด และไข่เป็ดมีเนื้อหยาบและกลิ่นคาวมากกว่าไข่ไก่ ไข่แต่ละชนิดมีคุณค่าและสารอาหารที่ต่างกันออกไป หากเปรียบเทียบไข่แต่ละชนิดในปริมาณ 100 กรัมเท่ากันแล้ว

ไข่เป็ด ให้พลังงานมากที่สุดประมาณ 197 กิโลแคลอรี มีคอเลสเตอรอลน้อยที่สุดคือ 210 มิลลิกรัม มีส่วนประกอบของโปรตีน 14.4 กรัม ไขมัน 14.6 กรัม วิตามินบี1 0.29 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.3 ไมโครกรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 269 มิลลิกรัม และเหล็ก 1 มิลลิกรัม

ไข่นกกระทา 161 กิโลแคลอรี มีคอเลสเตอรอลมากที่สุดถึง 508 มิลลิกรัม มีส่วนประกอบของโปรตีน 13.1 กรัม ไขมัน 11.1 กรัม วิตามินบี1 0.13 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.73 ไมโครกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 224 มิลลิกรัม

ไข่ไก่ 155 กิโลแคลอรี มีคอเรสเตอรอล 427 มิลลิกรัม มีส่วนประกอบของโปรตีน 12.8 กรัม ไขมัน 10.8 กรัม วิตามินบี1 0.15 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.61 ไมโครกรัม แคลเซียม 38 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 230 มิลลิกรัม และเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม

อาหารเสริมเด็ก-เมนูไข่-เมนูอาหารเด็ก-อาหารทารก-เด็กทารกกินไข่ได้มั้ย-ไข่เป็ด-ไข่ไก่-ไข่นกกระทา

 

เลือกไข่ไก่ให้ลูก

ไข่ดีเอชเอหรือไข่โอเมก้า3 เป็นไข่ที่ได้จากไก่ที่กินอาหารสูตรเติมน้ำมันปลา เฉลี่ยไข่ 1 ฟอง น้ำหนัก 50 กรัม มีดีเอชเอประมาณ 200 มิลลิกรัม จากเดิมที่ไม่มีดีเอชเลย และลดโคเลสเตอรอลจาก 215 เป็น188 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของดีเอชเอคือ การเสริมสร้างสมองและช่วยพัฒนาเรื่องความจำ ซึ่งร่างกายสร้างสารนี้เองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น ดังนั้น ไข่ดีเอชเอจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของแม่ท้องและเด็กวัยขวบปีแรก

ไข่โอโอดีน เป็นไข่ที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารเสริมไอโอดีน เฉลี่ยไข่ 1 ฟองจะมีปริมาณไอโอดีน 100 ไมโครกรัม ซึ่งเพียงพอสำหรับความต้องการของเด็กที่ต้องการวันละ 70-100 ไมโครกรัม และสารไอโอดีนช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและสมองได้ค่ะ

ไข่ปลอดสารหรือไข่ออร์แกนิก ไข่แดงมีสีเหลืองธรรมชาติ ไม่มีการฉีดสารเร่ง ส่วนไข่ขาวก็ไม่คาวจัด เพราะแม่ไก่ได้รับอาหารที่ไม่มียาปฏิชีวนะ โดยอาหารที่เลือกให้แม่ไก่ทำมาจากข้าวโพด กากถั่วเหลือง รำข้าว ปลาป่น น้ำสมุนไพรชีวภาพ และเลี้ยงแม่ไก่ปล่อยในฟาร์มแบบธรรมชาติ เน้นทำให้ไก่อารมณ์ดี

การที่ไข่เหล่านี้มีสารอาหารที่ต่างกันเพิ่มมาจากสารอาหารปกตินั้นขึ้นอยู่กับสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ ซึ่งสารอาหารที่เพิ่มขึ้นทำให้ไข่ทางเลือกเหล่านี้จะมีราคาสูงแตกต่างกันไปด้วยค่ะ

กินไข่ไม่ให้แพ้

สำหรับในเด็กวัยขวบปีแรก ปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่ไม่ใช่ปัญหา เพราะคอเลสเตอรอลมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์โดยเฉพาะที่สมอง ไขสันหลังและตับ อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดน้ำดีและฮอร์โมนสเตียรอยด์

การเริ่มอาหารโปรตีนในเด็ก 6 เดือนถึงขวบปีแรก ส่วนมากเริ่มให้กินไข่ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เพราะไข่เป็นอาหารโปรตีนที่สมบูรณ์ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน หาซื้อได้ง่าย

หลักการกินไข่ของทารก

วัย 6-7 เดือน ควรเริ่มด้วยไข่แดงก่อนประมาณ 1- 2 ช้อนชา หรือประมาณ 1 ใน 4 ของไข่แดง 1 ฟอง เพื่อทดสอบเรื่องภูมิแพ้และการย่อยโปรตีน

วัย 8-9 เดือน เพิ่มเป็น ½ ฟอง

วัย 10 เดือนขึ้นไป เมื่อลูกไม่แพ้สามารถเพิ่ม

เมื่อลูกอายุครบ 1 ปี จึงค่อยเริ่มให้กินไข่ขาวได้ เพื่อป้องกันการแพ้โปรตีนจากไข่ขาวค่ะ


อาหารเสริมเด็ก-เมนูไข่-เมนูอาหารเด็ก-อาหารทารก-เด็กทารกกินไข่ได้มั้ย-ไข่เป็ด-ไข่ไก่-ไข่นกกระทา

เมนูไข่สำหรับเด็กวัย 6-12 เดือน

ซุปข้าวกล้องงอกไข่แดง (วัย 6 -8 เดือน)

ส่วนผสม

ข้าวกล้องงอกสุก 2 ช้อนโต๊ะ

ผักกาดขาวหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ

ไข่แดง 1 ฟอง

น้ำซุปไก่ 2 ถ้วย

วิธีทำ

ต้มข้าวกล้องงอกสุก ผักกาดขาว และน้ำซุปจนผักสุก ใส่ไข่แดงคนให้สุก เทใส่โถปั่นจนละเอียด

Tips

- ผักกาดขาวเป็นผักมีรสหวานทำให้ซุปมีรสหวานธรรมชาติ

- เมื่อลูกน้อยคุ้นกับไข่แดง คุณแม่สามารถเพิ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์อื่นทีละอย่าง เพื่อสังเกตเรื่องการแพ้และการย่อยได้ค่ะ

ข้าวกล้องงอกตุ๋นไข่แดง (วัย 8-10 เดือน )

ส่วนผสม

ข้าวกล้องงอกหุงสุก 2 ช้อนโต๊ะ

ไข่แดง 1 ฟอง

บร็อกโคลีสับ 1 ช้อนโต๊ะ

หอมใหญ่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

แครอตสับ 1 ช้อนโต๊ะ

แอบเปิ้ลสับ 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำซุปไก่ 2 ถ้วย

เนย 1 ช้อนชา

วิธีทำ

ผัดหอมใหญ่กับเนยด้วยไฟอ่อนจนสุกเหลือง ใส่แครอตบรอกโคลี แอบเปิ้ล และน้ำซุปไก่1/2 ถ้วย ผัดพอสุกใส่ข้าวกล้องงอกสุกและน้ำซุปที่เหลือ ตุ๋นไฟอ่อนจนข้าวสุกเปื่อย จึงใส่ไข่แดงลงกวนจนไข่แดงสุก

Tips :

- ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกใช้ส้อมยีบดข้าวให้แหลก เมื่อใส่ลงตุ๋นกับแครอต และบร็อกโคลีช่วยลดเวลาในการตุ๋น

- คุณแม่สามารถเติมอกไก่บดหรือตับไก่บด 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อเพิ่มโปรตีน

ไข่ม้วนฟักทอง (วัย 10-12 เดือน )

ส่วนผสม

ไข่แดง 1 ฟอง

ฟักทองนึ่งสุกยี 1 ช้อนโต๊ะ

ขนมปังตัดขอบหั่นเต๋าเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ

ไก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

เนยละลาย 1 ช้อนชา

วิธีทำ

ไก่สับใส่กระทะรวนน้ำพอสุก ใส่ฟักทองสุกผัดให้เข้ากัน พักไว้ตอกเอาเฉพาะไข่แดงใส่ถ้วย เติมน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ ตีให้ไข่แดงฟู ใส่เนยละลายคนให้เข้ากันกระทะแบนตั้งไฟอ่อน เทไข่แดงที่เตรียมไว้แผ่เป็นแผ่นกลม ใส่ฟักทองที่ผัดไว้ โรยหน้าด้วยขนมปังหั่นเต๋า ม้วนไข่ด้านหนึ่งเข้าหาตัวเป็นท่อนกลม

Tips :

- เมนูนี้ใช้ไฟอ่อนเพื่อให้ไข่สุกนุ่ม ส่วนขนมปังให้โรยขณะที่ไข่ยังสุกไม่หมด

- ลูกวัย 10-12 เดือน ที่มือเริ่มหยิบจับของ อาจให้ไข่ม้วนชิ้นเล็กสำหรับหัดให้ลูกใช้มือหยิบจับได้

ที่ปรึกษาทางโภชนาการ : คุณกิ่งกมล กิตติภูมิวงศ์ นักโภชนาการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

 

การดูแลลูก, เมนูไข่, อาหารเสริมเด็ก

  • Hits: 39835

ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง อันตรายอาจถึงตายได้

น้ำผึ้งเป็นอาหารที่มีสรรพคุณที่ดีหลายอย่าง แต่น้ำผึ้งก็อันตรายสำหรับเด็กเล็กเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ไม่ควรกินน้ำผึ้งอย่างยิ่ง

ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง อันตรายอาจถึงตายได้-น้ำผึ้ง-เด็กเล็กกินน้ำผึ้ง-อาหารเสริมเด็กทารก-แบคทีเรียโบทูลิซึ่ม-อันตรายจากน้ำผึ้ง-ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง-แบคทีเรีย botulism

ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง อันตรายอาจถึงตายได้

ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะคิดว่าน้ำผึ้งเป็นยา ช่วยบำรุงร่างกายได้ ถ้าให้เด็กกินน่าจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่ความจริงแล้วในน้ำผึ้งมีสปอร์ของแบคทีเรียที่เป็นอตรายต่อลำไส้ของทารก ระบบประสาท และอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism)

โรคนี้เกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinum และสร้างสารพิษโบทูลิซึมในทางเดินอาหารของทารก ซึ่งทางเดินอาหารของทารกมีปัจจัยสำคัญ ที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อ ได้แก่ การพัฒนาการเคลื่อนไหวยังไม่ดีและความเป็นกรดต่ำ โดยอาการที่พบในเด็กทารก จะเริ่มด้วยท้องผูก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ดูดกลืนลำบาก ร้องไห้เสียงเบา และคออ่อนพับ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อ Clostridium botulinum เช่น น้ำผึ้ง ในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

สำหรับโรคโบทูลิซึมในทารกนี้ จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กทารกเท่านั้น และสัดส่วนความเป็นไปได้ที่จะพบเชื้อชนิดนี้ภายในน้ำผึ้งตามท้องตลาดนั้นก็มีเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก

เชื้อโรค Clostridium botulinum คืออะไร

เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบมากในดิน เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อยเช่นในกระป๋องบรรจุอาหาร  ในขวดที่ปิดสนิท  หรือในปี๊บ ซึ่งหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแก่การเจริญเชื้อนี้จะหลบอยู่ในสภาพสปอร์ ซึ่งคงทนในสภาพแวดล้อมได้ดีมาก และรอจนกว่าจะพบสภาพที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโตและสร้างสารพิษในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตนั้น


เชื้อโรค Clostridium botulinum และ สารพิษโบทูลิซึม เกี่ยวข้องกับอาหารอย่างไร

การปนเปื้อนอาหารเกิดจากการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อ Clostridium botulinum ในอาหาร เมื่ออาหารถูกเก็บในสภาพที่มีออกซิเจนน้อย เช่น ในกระป๋องบรรจุอาหาร ในขวดที่ปิดสนิท หรือในปี๊บ เชื้อก็จะเจริญและสร้างสารพิษ อาหารที่ได้รับการปนเปื้อนสารพิษอาจไม่ปรากฏความผิดปรกติใด ๆ ทั้งลักษณะภายนอก สี กลิ่น และ รส

อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารที่บรรจุในภาชนะเหล่านี้จะต้องมีเชื้อและสารพิษนี้อยู่ เพราะว่าการถนอมอาหารเหล่านี้อย่างถูกวิธีเช่น การปรุงด้วยความร้อนที่นานพอ หรือการปรับค่าความเป็นกรดที่เหมาะสมในอาหาร จะทำลายหรือยับยั้งไม่ให้สปอร์ของเชื้อเจริญและสร้างสารพิษได้

อาการของโรคโบทูลิซึม

  • ท้องผูก
  • กินอาหารได้น้อย
  • อ่อนเพลีย
  • ไม่มีแรง
  • ร้องไห้เสียงเบา
  • คออ่อนพับ
  • ตัวอ่อนปวกเปียก
  • ทารกบางราย อาจมีอาการหายใจลำบาก หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตกระทันหัน (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS)

 

สำหรับคนที่ให้ลูกกินแล้วไม่เห็นเป็นไรเลย ก็ถือว่าโชคดีไปค่ะ แสดงว่าไม่โดนสปอร์ ส่วนคนที่บอกว่า ลูกกินแล้วผิวสวย แข็งแรง ผมดกดำ น่าจะเป็นเพราะผมดกดำและผิวสวยตามกรรมพันธุ์ เพราะการเลี้ยงดูที่ดีลูกก็เลยแข็งแรง ไม่เกี่ยวกับน้ำผึ้งค่ะ

แม่ให้นมสามารถกินน้ำผึ้งได้

ส่วนคุณแม่ที่ให้นมลูก กินน้ำผึ้งได้ค่ะ เพราะถึงมีสปอร์ก็จะถูกกำจัดออกไปทางลำไส้ของคุณแม่ ไม่ได้ออกทางน้ำนม แต่ก็ไม่ควรกินเยอะ เพราะจะทำให้คุณแม่เป็นโรคอ้วนได้ค่ะ

 

 

 

น้ำผึ้ง

  • Hits: 41449