facebook  youtube  line

ทารกกินน้ำได้ไหม ทำไมห้ามป้อนน้ำเด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน


ทารก กินน้ำ, เด็ก ทารก กินน้ำ ได้ ไหม, ทารก กินน้ำ ได้ ไหม, ห้ามป้อนน้ำทารก, ห้ามป้อนน้ำเด็กแรกเกิด, อันตรายของการป้อนน้ำเด็กทารก, ห้ามป้อนน้ำเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน, ทำไมเด็กอ่อนห้ามดื่มน้ำ, กินนมแม่แล้วต้องกินน้ำไหม, เด็กทารกห้ามกินน้ำ, ทารกดื่มน้ำลำไส้ติดเชื้อ, ทารกลำไส้ติดเชื้อ, รักลูก Community of The Experts

ทารกห้ามดื่มน้ำเพราะอาจเสี่ยงการติดเชื้อในลำไส้และส่งผลต่อพัฒนาการ หรือชีวิตได้ค่ะ 

ทารกกินน้ำได้ไหม ทำไมห้ามป้อนน้ำเด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน

เด็กทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน ต้องดื่มน้ำ หรือ ไม่ดื่ม เรื่องนี้คาใจคุณแม่ชาวโซเชียลกันมานาน และหลายคนก็ทำผิดจนเด็กบางคนได้รับอันตรายเข้าโรงพยาบาลกันมาเยอะแล้วค่ะ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีข้อเท็จจริงและคำแนะนำเรื่องการดื่มน้ำของเด็กเล็กมาแนะนำพ่อแม่มือใหม่ค่ะ 

นมแม่หรือนมผสมเป็นอาหารหลักของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งในนมแม่หรือนมผสมจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่า 80%  เด็กจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำเพิ่มเลยค่ะ เนื่องจากการให้เด็กกินน้ำจะทำให้อิ่มเร็ว และกินนมได้น้อยลง ส่งผลให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์

ป้อนน้ำให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพ

  1. ขาดสารอาหารที่จำเป็น เมื่อป้อนน้ำให้เด็กเล็กในปริมาณมาก มักจะทำให้เด็กกินนมแม่หรือนมผสมได้น้อยลง และทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นจากการกินนม ลดลงถึงขั้นขาดสารอาหารได้ อีกทั้งยังทำให้คุณแม่มีโอกาสที่น้ำนมจะลดลงจากการที่ลูกดูดนมได้น้อยลงด้วย

  2. มีโอกาสติดเชื้อทางเดินอาหารจากความสะอาดของภาชนะ และจากน้ำที่สะอาดไม่เพียงพอค่ะ เด็กอายุต่ำกว่า 6-12 เดือน ไม่ควรกินน้ำกรอง หรือน้ำขวดโดยไม่ได้ผ่านการต้มน้ำก่อน เพราะภูมิต้านทานของเด็กยังน้อยมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางอาหาร

  3. ภาวะน้ำเป็นพิษ ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน การป้อนน้ำให้เด็กมากเกินไปจะทำให้ไตของเด็กซึ่งยังทำงานไม่เต็มที่ ไม่สามารถกรองของเหลวได้ทัน อีกทั้งอาจจะไปเจือจางความเข้มข้นของโซเดียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญของร่างกายที่ช่วยรักษาสมดุลน้ำระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เด็กที่ได้รับน้ำมากเกินกว่าร่างกายจะปรับสมดุลได้ อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อสมอง เกิดสมองบวม และเสียชีวิตได้ 

สรุปว่า น้ำดื่มไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน  เพราะเด็กวัยนี้ได้รับ “น้ำ” จากนมก็เพียงพอแล้ว

คำแนะนำเมื่อแม่ไม่อยากให้ลูกขาดน้ำ และ การเริ่มน้ำดื่มในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป

  • แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในแถบอากาศร้อนก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องป้อนน้ำลูกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนค่ะ แต่ให้ลูกดื่มนมแม่มากขึ้นได้

  • สำหรับเด็กอายุ 6-12 เดือน ที่เริ่มได้รับอาหารเสริมนอกจากนม อาจจะเริ่มให้ดูดน้ำจากแก้วหัดดื่มได้ แต่ไม่ควรเกิน 1-2 ออนซ์ต่อวัน และควรให้หลังจากการกินอาหารเสริมไม่ควรให้ทดแทนนมแม่หรือนมผสม น้ำดื่มที่ป้อนให้เด็กควรเป็นน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่ควรกินน้ำกรองหรือน้ำขวดโดยไม่ได้ผ่านการต้ม เพราะภูมิต้านทานของเด็กยังน้อย และที่สำคัญควรทำความสะอาดภาชนะแก้วหรือขวดน้ำของเด็กเป็นประจำ เพราะเชื้อโรคจากภาชนะอาจทำให้เด็กท้องเสียได้ หลังอายุ 1 ปี เด็กต้องกินอาหารหลัก 3 มื้อ และนมกลายเป็นอาหารเสริม ถึงเวลานั้นพ่อแม่สามารถให้ลูกดื่มน้ำได้ตามความต้องการของเด็ก

ถ้าลูกเล็กสะอึกจะแก้อาการอย่างไร

  1. ถ้าลูกสะอึกบ่อยจริง ๆ อาจจะต้องจับเรอให้บ่อยขึ้น เช่น ถ้ากินนมแม่ อาจจับเรอช่วงที่จะสลับเต้า หรือ ถ้ากินนมผสม หากกินไป 2-3 ออนซ์ ยังไม่อิ่ม ลองจับเรอสักครู่ก่อนกินต่อ เป็นต้น

  2. วิธีอุ้มเรอที่พ่อแม่ใช้บ่อย มี 2 ท่า
  • ท่าแรก คือ อุ้มพาดบ่า จับลูกพาดขึ้นบ่า มือข้างหนึ่งประคองตัวลูก มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ จนกว่าจะเรอ การเดินไปมาจะช่วยให้ลมออกง่ายยิ่งขึ้น
  • ท่าที่สอง คือ ให้ลูกนั่งตัวตรงบนตัก แล้วใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับประคองคางลูกไว้ โดยให้ตัวลูกเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือลูบขึ้นเบาๆ ช้าๆ ลูบจากเอวด้านหลังขึ้นมาจนถึงต้นคอ เพื่อไล่ลม 

ถ้าเมื่อไหร่ที่ลองหมดแล้วทุกวิธีก็ไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ยังกังวลก็ปรึกษาคุณหมอได้ค่ะ

 

รักลูก Community of The Experts
พญ.สินดี จำเริญนุสิต
กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
 

ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง อันตรายอาจถึงตายได้

น้ำผึ้งเป็นอาหารที่มีสรรพคุณที่ดีหลายอย่าง แต่น้ำผึ้งก็อันตรายสำหรับเด็กเล็กเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ไม่ควรกินน้ำผึ้งอย่างยิ่ง

ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง อันตรายอาจถึงตายได้-น้ำผึ้ง-เด็กเล็กกินน้ำผึ้ง-อาหารเสริมเด็กทารก-แบคทีเรียโบทูลิซึ่ม-อันตรายจากน้ำผึ้ง-ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง-แบคทีเรีย botulism

ห้ามเด็กเล็กกินน้ำผึ้ง อันตรายอาจถึงตายได้

ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะคิดว่าน้ำผึ้งเป็นยา ช่วยบำรุงร่างกายได้ ถ้าให้เด็กกินน่าจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่ความจริงแล้วในน้ำผึ้งมีสปอร์ของแบคทีเรียที่เป็นอตรายต่อลำไส้ของทารก ระบบประสาท และอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism)

โรคนี้เกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinum และสร้างสารพิษโบทูลิซึมในทางเดินอาหารของทารก ซึ่งทางเดินอาหารของทารกมีปัจจัยสำคัญ ที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อ ได้แก่ การพัฒนาการเคลื่อนไหวยังไม่ดีและความเป็นกรดต่ำ โดยอาการที่พบในเด็กทารก จะเริ่มด้วยท้องผูก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ดูดกลืนลำบาก ร้องไห้เสียงเบา และคออ่อนพับ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อ Clostridium botulinum เช่น น้ำผึ้ง ในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

สำหรับโรคโบทูลิซึมในทารกนี้ จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กทารกเท่านั้น และสัดส่วนความเป็นไปได้ที่จะพบเชื้อชนิดนี้ภายในน้ำผึ้งตามท้องตลาดนั้นก็มีเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก

เชื้อโรค Clostridium botulinum คืออะไร

เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบมากในดิน เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อยเช่นในกระป๋องบรรจุอาหาร  ในขวดที่ปิดสนิท  หรือในปี๊บ ซึ่งหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแก่การเจริญเชื้อนี้จะหลบอยู่ในสภาพสปอร์ ซึ่งคงทนในสภาพแวดล้อมได้ดีมาก และรอจนกว่าจะพบสภาพที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโตและสร้างสารพิษในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตนั้น


เชื้อโรค Clostridium botulinum และ สารพิษโบทูลิซึม เกี่ยวข้องกับอาหารอย่างไร

การปนเปื้อนอาหารเกิดจากการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อ Clostridium botulinum ในอาหาร เมื่ออาหารถูกเก็บในสภาพที่มีออกซิเจนน้อย เช่น ในกระป๋องบรรจุอาหาร ในขวดที่ปิดสนิท หรือในปี๊บ เชื้อก็จะเจริญและสร้างสารพิษ อาหารที่ได้รับการปนเปื้อนสารพิษอาจไม่ปรากฏความผิดปรกติใด ๆ ทั้งลักษณะภายนอก สี กลิ่น และ รส

อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารที่บรรจุในภาชนะเหล่านี้จะต้องมีเชื้อและสารพิษนี้อยู่ เพราะว่าการถนอมอาหารเหล่านี้อย่างถูกวิธีเช่น การปรุงด้วยความร้อนที่นานพอ หรือการปรับค่าความเป็นกรดที่เหมาะสมในอาหาร จะทำลายหรือยับยั้งไม่ให้สปอร์ของเชื้อเจริญและสร้างสารพิษได้

อาการของโรคโบทูลิซึม

  • ท้องผูก
  • กินอาหารได้น้อย
  • อ่อนเพลีย
  • ไม่มีแรง
  • ร้องไห้เสียงเบา
  • คออ่อนพับ
  • ตัวอ่อนปวกเปียก
  • ทารกบางราย อาจมีอาการหายใจลำบาก หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตกระทันหัน (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS)

 

สำหรับคนที่ให้ลูกกินแล้วไม่เห็นเป็นไรเลย ก็ถือว่าโชคดีไปค่ะ แสดงว่าไม่โดนสปอร์ ส่วนคนที่บอกว่า ลูกกินแล้วผิวสวย แข็งแรง ผมดกดำ น่าจะเป็นเพราะผมดกดำและผิวสวยตามกรรมพันธุ์ เพราะการเลี้ยงดูที่ดีลูกก็เลยแข็งแรง ไม่เกี่ยวกับน้ำผึ้งค่ะ

แม่ให้นมสามารถกินน้ำผึ้งได้

ส่วนคุณแม่ที่ให้นมลูก กินน้ำผึ้งได้ค่ะ เพราะถึงมีสปอร์ก็จะถูกกำจัดออกไปทางลำไส้ของคุณแม่ ไม่ได้ออกทางน้ำนม แต่ก็ไม่ควรกินเยอะ เพราะจะทำให้คุณแม่เป็นโรคอ้วนได้ค่ะ