facebook  youtube  line

คัสตาร์ดฟักทองอาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 - 9 เดือน

4354

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ฯลฯ วันนี้เรามีเมนูคัสตาร์ดฟักทองอาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 - 9 เดือน สาธิตการทำโดยคุณ Janes Rungkan มาฝากกันค่ะ




ส่วนผสมคัสตาร์ดฟักทองอาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 - 9 เดือน

ฟักทอง นมผสม ไข่แดง

วิธีทำคัสตาร์ดฟักทองอาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 - 9 เดือน


นำนมผสมตั้งไฟจนเดือดใส่ฟักทองลงไปต้มจนเปื่อยและใส่ไข่แดงลงไปคนให้ทั่ว ต้มจนสุกแล้วนำไปปั่นให้ละเอียด


หลังจากให้ลูกทานมื้อแรกแล้ว แพ็คใส่กล่องแช่แข็ง

ทิปส์ อาหารที่แช่แข็งสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 8 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ควรจะเก็บไว้นาน ทำแค่ 2 - 3 มื้อก็เพียงพอแล้วค่ะ

ฟักทอง&มันฝรั่ง อาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 เดือน

4358

ฟักทองและมันฝรั่งมีสารอาหารและวิตามินมากมายที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใยอาหาร ฯลฯ วันนี้เรามีสูตรฟักทอง&มันฝรั่งบด สาธิตการทำโดย คุณ Janes Rungkan มาฝากกันค่ะ

ฟักทอง,มันฝรั่ง, อาหารเสริม,อาหารเสริม 6 เดือน,อาหารเด็ก,อาหารลูก,อาหารบด,อาหารแช่แข็ง,มันบด

 

ส่วนผสมฟักทอง มันฝรั่ง อาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 เดือน

ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก 7 ช้อนโต๊ะ

มันฝรั่งหั่นชิ้นเล็ก 7 ช้อนโต๊ะ

นมผสมชง 3 ออนซ์

น้ำต้มสุก 5 ออนซ์

เนยจืด 1/2 ช้อนชา

วิธีทำฟักทอง มันฝรั่ง อาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 เดือน


ฟักทอง,มันฝรั่ง, อาหารเสริม,อาหารเสริม 6 เดือน,อาหารเด็ก,อาหารลูก,อาหารบด,อาหารแช่แข็ง,มันบด

นำฟักทองไปนึ่งประมาณ 8-10 นาที จนเนื้อฟักทองกลายเป็นสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นหอม และนึ่งมันฝรั่งประมาณ 15-20 นาที จนเนื้อนุ่ม


ฟักทอง,มันฝรั่ง, อาหารเสริม,อาหารเสริม 6 เดือน,อาหารเด็ก,อาหารลูก,อาหารบด,อาหารแช่แข็ง,มันบด

นำฟักทองและมันฝรั่งมาใส่เครื่องปั่น ตามด้วยนมและน้ำต้มสุก ปั่นจนเนื้อเนียนนุ่ม


ฟักทอง,มันฝรั่ง, อาหารเสริม,อาหารเสริม 6 เดือน,อาหารเด็ก,อาหารลูก,อาหารบด,อาหารแช่แข็ง,มันบด

หลังจากให้ลูกทานมื้อแรกแล้ว ก็แพ็คลงกล่องแช่แข็ง

ทิปส์ อาหารเสริมเด็กที่แช่แข็งไว้จะเก็บได้ราว 8 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน ทำแค่เก็บไว้ประมาณ 2-3 มื้อก็เพียงพอค่ะ และทำเมนูอื่นๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนไป

ฟักทองบด อาหารเสริมลูกน้อยวัย 6-7 เดือน

4350

ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย เช่น วิตมินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี ฯลฯ วันนี้เรามีสูตรฟักทองบด สาธิตการทำโดยคุณ Janes Rungkan มาฝากกันค่ะ





ส่วนผสมฟักทองบด อาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 - 7 เดือน

ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก 14 ช้อนโต๊ะ ข้าว

กล้องสุก 6 ช้อนโต๊ะ

นมผสมหรือนมแม่ 3 ออนซ์

น้ำต้มสุก 6 ออนซ์

วิธีทำฟักทองบด อาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 - 7 เดือน

 


นำฟักทองไปนึ่ง 8-10 นาที จนเนื้อกลายเป็นสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นหอม


นำไปปั่นพร้อมข้าวและน้ำต้มสุก


เมื่อปั่นส่วนผสมทั้งหมดแล้วจึงราดนมผสมหรือนมแม่

หลังจากให้ลูกทานมื้อแรกแล้ว ก็แพ็คลงกล่องแช่แข็ง

ทิปส์ การใส่น้ำ นมชงหรือนมแม่ ควรใส่ทีละน้อย เพราะถ้าใส่ทีเดียวอาจทำให้ข้าวโพดบดเหลวเกินไป อาหารเสริมที่แช่แข็งไว้จะเก็บได้ราว 8 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน ทำแค่เก็บไว้ประมาณ 2-3 มื้อก็เพียงพอค่ะ และทำเมนูอื่นๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนไป


วิธีเริ่มอาหารเสริมลูกทารกวัย 6 - 12 เดือน เริ่มอาหารเสริมอย่างไรให้ตรงพัฒนาการ

อาหารเสริม ทารก, อาหาร เสริม ทารก 6 เดือน, อาหาร เสริม ทารก วัย 3 เดือน, วิธีเริ่มอาหารเสริม ทารก, วิธีเริ่ม อาหารเสริมตามวัย, เริ่มอาหารเสริม ให้ลูก ยังไง, อาหารเสริม ทารก มีอะไรบ้าง, อาหารเสริมทารก เริ่มตอนอายุกี่เดือน, เริ่มอาหารเสริม ตอนกี่เดือน, อาหารเสริมตามวัย

อาหารเสริมลูกทารกต้องเริ่มเมื่อไหร่ เริ่มอย่างไร แต่ละเดือนต้องปรับอะไรบ้าง คุณแม่ที่กำลังหาวิธีเริ่มอาหารเสริมทารก ต้องอ่านบทความนี้ค่ะ 

วิธีเริ่มอาหารเสริมลูกทารกวัย 6 - 12 เดือน เริ่มอาหารเสริมอย่างไรให้ตรงพัฒนาการ

เตรียมพร้อมก่อนถึงเวลาอาหารเสริมมื้อแรก

เด็กเล็กเมื่อถึงเวลากินอาหารเสริม ครั้งแรกอาจมีปฏิเสธบ้างเนื่องจากความไม่คุ้นชิน ประกอบกับการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้รับอาหารอื่นเลย เมื่อโตขึ้นถึงวัยที่ต้องกินอาหารเสริมลูกจึงปฏิเสธการกินได้ เป็นเรื่องธรรดา

ดังนั้นเมื่อลูกอายุ 5 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ควรนวดเหงือกให้ลูกบ่อยๆ เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักกับสัมผัสที่แปลกใหม่ และถึงแม้องค์การอนามัยโลกจะบอกว่าเด็กทารกควรกินนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่การให้ลูกได้สัมผัสน้ำอุ่นน้ำเย็นเล็กน้อย เพียงแตะสัมผัสที่เหงือกและนวดไปพร้อมกัน ก็ช่วยฝึกการรับสัมผัสในช่องปากของลูกได้ เมื่อถึงเวลาอาหาร ลูกก็จะยอมรับสิ่งแปลกใหม่ได้ง่ายขึ้น

สิ่งสำคัญของอาหารมื้อแรกของลูก ไม่ใช่เรื่องที่ลูกกินได้เยอะๆ แต่เป็นการฝึกให้ลูกได้รับรส และลิ้นสัมผัสสิ่งที่ต่างไปจากนม เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังว่าลูกจะต้องกินให้ได้ในปริมาณเยอะๆ ให้ชิมเพียงแค่ 1-2 ช้อน ก็พอ

อาหารเสริมทารก 6 เดือน เริ่มอย่างไร

  • วัยขวบปีแรก นมคืออาหารหลักของลูกรัก ฉะนั้นเมื่อเด็กสามารถชันคอได้ดี ประคองคอได้แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวประมาณ 2 เท่าของน้ำหนักตัวแรกเกิด คุณแม่ก็สามารถเริ่มอาหารเสริมให้ลูกได้แล้ว เพียงแต่อาหารของลูกจะต้องมีความเหมาะสมตามวัยของลูกด้วย

  • อาหารเสริมลูกทารกวัย 6 เดือน อาหารของลูกควรมีเนื้อสัมผัสที่นิ่ม มีเนื้อละเอียด เช่น กล้วย หรือข้าวครูด โดยให้เริ่มทีละอย่างก่อน เนื่องจากเด็กเล็กมีโอกาสแพ้อาหารได้ง่าย หากเริ่มไปแล้วสักระยะลูกไม่มีการแพ้ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเริ่มอาหารอย่างที่ 2 ให้ลูกได้

  • อาหารเสริมลูกทารกวัย 6-8 เดือน เพื่อให้เด็กๆ ได้รับสัมผัสและฝึกกล้ามเนื้อปาก คุณพ่อคุณแม่อาจหั่นอาหารให้มีรูปร่างต่างกันให้ลูกได้กินบ้าง เช่น เส้นสปาเก็ตตี้กลมๆ หั่นสั้นๆ กล้วยหอมหั่นกลมๆ หรืออาหารบางอย่างที่สามารถหั่นเป็นรูปทรงต่างๆ ได้

    หรืออาจให้ลูกได้ฝึกกินอาหารที่มีความกรอบ ความเหนียวบ้าง เช่น ข้าวตังหรือข้าวเหนียว เพื่อให้ลูกได้ฝึกการเคี้ยว เพราะเด็กวัยนี้เริ่มมีฟันงอกขึ้นมาบ้างแล้ว ทั้งรู้สึกมีความสุขกับการกินเมื่อได้มีส่วนร่วมในอาหารมื้อนั้นๆ ดังนั้นหากคุณแม่ให้ลูกได้ลองจับ สัมผัส ดม เล่น หรือขยำอาหารบ้าง ก็จะช่วยให้เขารู้สึกสนุกและมีความสุขกับการกินอาหารมากขึ้น เพียงแต่ก่อนกินอย่าลืมล้างมือของลูกให้สะอาด

  • อาหารเสริมลูกทารกวัย 8-12 เดือน ช่วงนี้ลูกสามารถกินได้ 2-3 มื้อต่อวัน และอาหารที่จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อปากของลูกได้เป็นอย่างดีก็คืออาหารจำพวกฟิงเกอร์ฟู้ดส์ เช่น แครอต ฟักทอง แตงกวาหั่น เป็นต้น

  • อาหารเสริมลูกทารกวัย 12 เดือนขึ้นไป ตอนนี้ลูกสามารถกินข้าวเป็นอาหารหลักได้แล้ว และสามารถให้ลูกกินอาหารของผู้ใหญ่บางอย่างได้ด้วย แต่ต้องเน้นที่มีลักษณะนุ่มๆ รสไม่จัด เช่น ข้าวผัด หรือต้มจืด เป็นต้น

 

อาหารเสริมมื้อแรกกับตัวช่วยสำคัญ

 

เตรียมพร้อมอาหารเสริมมื้อแรก กับ ตัวช่วยสำคัญ


เราจะทราบว่าลูกพร้อมทานอาหารเสริมก็ต่อเมื่อเขามีน้ำหนักตัวเป็น 2 เท่าของตอนแรกคลอด หรือประมาณ 4-6 เดือนขึ้นไป และลูกสามารถนั่งเองได้ ชันคอได้ ที่สำคัญ อย่าลืมปรึกษากุมารแพทย์ก่อน เพราะเด็กแต่ละคนความพร้อมทางร่างกายไม่เหมือนกัน

และเมื่อต้องทำอาหารให้ลูกทาน มื้อแรกๆ อาจจะติดขัดหน่อย แต่ถ้าทำบ่อยๆ ก็จะชำนาญเอง ซึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ

 
กระชอนของใช้จำเป็นที่ขาดไม่ได้ เอาไว้บดอาหารให้ลูก เนื่องจากมีขนาดเล็ก เหมาะมือ ใช้ง่ายและไม่ยุ่งยากอะไร แต่หากบ้านไหนมีเครื่องปั่นอาหาร จะใช้ปั่นอาหารให้ลูกก็ได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องแยกของเด็กและของผู้ใหญ่ให้ชัดเจนไปเลย
 
หม้อนึ่งอาหารการนึ่งอาหารจะสงวนคุณค่าของสารอาหารได้ดีกว่าการต้ม เนื่องจากสารอาหารจะไม่ละลายไปกับน้ำที่ระเหยเป็นไอออกมา
 
เขียงและมีด ให้แยกของผู้ใหญ่กับเด็กเพื่อไม่ให้อาหารปะปนกัน ช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและลดโอกาสเกิดการแพ้อาหารได้ด้วย
 
อุปกรณ์การกินของลูกไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม ควรเลือกที่เป็นแบบพลาสติกที่ปราศจากสาร BPA เพื่อสุขภาพและโภชนาการที่ดีของลูก แถมอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้ป้อนข้าวลูกได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรูปทรงที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ แต่หากไม่มีก็ใช้ช้อนชาที่บ้านตักอาหารป้อนลูกได้
 
ถุงซิปล็อกหรือกล่องใส่อาหารแช่แข็งสำหรับแบ่งใส่อาหารเพื่อแช่ในช่องฟรีซเวลาที่พ่อแม่ไม่มีเวลาทำอาหารเสริมให้ลูกแล้วต้องทำในปริมาณมากๆ เก็บเอาไว้เพื่อให้ลูกได้กินในมื้อถัดไป แต่ก็อย่าลืมจนแช่ทิ้งไว้นานเกิน 1 อาทิตย์นะ
 
ไม่ใช่แค่คุณค่าทางโภชนาการที่ลูกจะได้รับ หากแต่ยังเป็นคุณค่าของความใส่ใจ รสชาติ และความสะอาดของอาหารที่พ่อกับแม่เตรียมให้ลูกด้วย นอกจากนี้การเตรียมอาหารให้ลูกเองยังจะทำให้รู้ว่าลูกชอบอะไรไม่ชอบอะไร และลูกสามารถกินอะไรตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัยของเขาได้บ้าง 

เมนูตับ เสริมธาตุเหล็กลูกวัย 6-12 เดือน

เมนูตับ-เมนูอาหารเด็ก-อาหารเสริมเด็กทารก-อาหารเสริม-อาหารเด็ก-อาหารเด็กวัย 6-12 เดือน-ตับมีประโยชน์-ให้ลูกกินตับตอนไหน-ตับบด

เมนูตับ เป็นเมนูอาหารเสริมลูกวัย 6-12 เดือน ที่มีธาตุเหล็กและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มาดูเทคนิคการเลือกและการปรุงเมนูตับให้เป็นเมนูอาหารเด็กที่แสนอร่อยให้ลูกน้อยกันค่ะ

เมนูตับ เสริมธาตุเหล็กลูกวัย 6-12 เดือน

หลัง 6 เดือนไปแล้ว นมแม่จะมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับเด็กวัยขวบปีแรก การได้อาหารตามวัยคุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงให้ลูก หนึ่งในแหล่งธาตุเหล็กชั้นดีก็คือตับนั่นเอง มาดูกันว่าตับเป็นอาหารที่มีประโยชน์ในด้านไหนกันบ้าง
 

-โปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

-ธาตุเหล็กสูง ช่วยเสริมสร้างฮีโมโกบิน ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

-วิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงรักษาผิวหนัง เส้นผม ทำให้เนื้อเยื่อในตาแข็งแรง สายตาดี มองเห็นได้ชัดในที่มีแสงสว่างน้อย

-วิตามินบี 3 ทำให้ลำไส้มีสุขภาพดี ระบบย่อยเป็นปกติ กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-วิตามินบี 5 ช่วยให้ร่างกายสามารถนำคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

-วิตามิน บี 6 สร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ๆ ให้กับร่างกาย

-วิตามิน บี 12 บำรุงประสาทให้แข็งแรง ทำให้สมองทำงานได้ดี ความจำดี และทำให้การสร้างเลือดเป็นปกติ
 

เลือกตับให้เหมาะกับลูก

การเลือกตับให้เหมาะสำหรับเด็กวัย 6-8 เดือนนั้น แม่ ๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้ตับไก่เพราะเนื้อนิ่ม ควรเลือกที่สีอ่อน หากซื้อตอนเช้าจะได้ตับที่สด และควรปรุงอาหารในวันเดียวกัน ไม่ควรเก็บตับที่ซื้อมาเกิน 24 ชั่วโมง เนื่องจากตับจะเสียง่าย ส่วนการเลือกซื้อตับหมู ควรเลือกตับที่สดเนื้อขึ้นเงา สีอ่อนไม่แดงเข้ม เนื้อตับจะไม่กระด้าง
 

เทคนิคการปรุงตับ

ที่ช่วยปรุงตับไม่ขม ไม่คาว และไม่แข็ง แถมนิ่ม อร่อย ต้องใช้วิธีนี้
 

1.เลือกซื้อตับที่สด

2.ล้างตับด้วยเกลือป่น ช่วยลดความคาวของตับ

3.หมักด้วยซีอิ๊วหรือนมสดเล็กน้อยประมาณ 15-30 นาทีก่อนนำมาปรุงอาหาร ช่วยลดความคาวของตับ

4.นำตับไปลวกด้วยน้ำร้อนจัด ช่วยลดความขมและกลิ่นคาว

5.การผัดตับด้วยน้ำมันที่ร้อน ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะทำให้ตับนิ่ม อร่อยและไม่คาว
 


เมนูตับ-เมนูอาหารเด็ก-อาหารเสริมเด็กทารก-อาหารเสริม-อาหารเด็ก-อาหารเด็กวัย 6-12 เดือน-ตับมีประโยชน์-ให้ลูกกินตับตอนไหน-ตับบด

เมนูอาหารเด็ก เมนูตับ


โจ๊กตับ (6-8 เดือน)
 

เครื่องปรุง  

ปลายข้าวกล้อง 2 ช้อนโต๊ะ

ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก ¼ ถ้วย

หมูสันนอกหั่นชิ้นหนา 1 นิ้ว 1 ขีด

ตับไก่ 1 ชิ้น

ผักกาดขาวหั่นฝอย ¼ ถ้วย

เกลือป่น ¼ ช้อนชา

น้ำเปล่า 1 ถ้วย
 

วิธีทำ

1.คลุกเคล้าตับไก่กับเกลือป่น แล้วล้างน้ำเพื่อดับกลิ่นคาว พักใส่ชาม

2.ต้มปลายข้าวกล้องกับน้ำ พอเดือดใส่ฟักทอง ผักกาดขาวและหมูสันนอก เร่งไฟให้เดือด ใส่ตับไก่ คนให้สุกทั่ว

3.เทส่วนผสมใส่หม้อตุ๋นประมาณ 2-3 ชั่วโมง คนข้าวตุ๋นบ้างเพื่อไม่ให้ข้าวไหม้ติดก้นหม้อตุ๋น
 

Tip

การตักโจ๊กตับป้อนลูกในมื้อแรกที่เริ่มอาหารเสริม ควรตักเฉพาะส่วนที่เป็นโจ๊กและฟักทองที่เปื่อย สำหรับตับและเนื้อหมู การตุ๋นช่วยให้โปรตีน วิตามินและเกลือแร่บางส่วนละลายในน้ำ ทำให้เหมาะต่อการย่อยการดูดซึม มื้อที่สองให้ตักแบ่งตับไก่ เนื้อหมูอย่างละ 1- 2 ช้อนชาแล้วบดผ่านกระชอนให้ละเอียดนำมาคลุกเคล้ากับโจ๊ก เป็นการเพิ่มปริมาณสารโปรตีนและฝึกให้หนูน้อยคุ้นเคยกับการกินตับ มื้อถัดไปจึงเพิ่มปริมาณเป็น 1 ช้อนโต๊ะ พร้อมกับสังเกตการย่อยอาหารของหนูน้อยด้วย จากการที่ไม่มีท้องอืด สามารถดื่มนมได้ปริมาณเท่าเดิมในมื้อที่กินนม สามารถดัดแปลงเพิ่มด้วยการเติมผักอื่น เช่น แครอต ผักขม ผักตำลึง เพื่อเด็กมีโอกาสฝึกกินผักได้หลากหลาย
 

ไข่แดงตับบด (9-10 เดือน)

เครื่องปรุง

ไข่แดงต้มสุก ½ ฟอง

ตับไก่สับละเอียดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ

ไก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

หอมใหญ่สับละเอียด 1 ช้อนชา

เนย 1 ช้อนชา

แครอตต้มสุกสับ 1 ช้อนโต๊ะ

กล้วยน้ำว้าสุกครูด 2 ช้อนโต๊ะ
 

วีธีทำ

1.ผัดเนยกับหอมใหญ่สับด้วยไฟอ่อน ในหม้อเล็กจนหอมใหญ่สุก เหลืองกลิ่นหอม

2.ใส่ตับไก่สับ ใช้ไฟแรงผัดเร็ว รวนตับให้สุก ลดไฟลงใส่ไก่สับผัดให้เข้ากัน

3.ใส่แครอตสับ กล้วยน้ำว้าครูด ผัดให้เข้ากัน ใช้ไฟอ่อน

4.ใส่ไข่แดงต้มสุก ยีรวมให้เข้ากัน ตักข้าวต้ม 1 ถ้วยคนให้เข้ากัน เคี่ยวไฟอ่อนจนข้าวต้มเปื่อย
 

Tip

การผัดตับไก่กับเนย ช่วยทำให้ลดกลิ่นคาว ขณะใส่ไข่แดง ใช้หลังทัพพียีเนื้อไก่ ตับไก่ แครอตและกล้วยครูดให้แหลก ช่วยย่นเวลาในการเคี่ยวข้าวต้ม อาจสับตับไก่ให้ละเอียดทำให้ตับไก่สุกเนื้อเนียน ไม่เป็นเม็ด
 

ตับไก่รวมมิตร (11-12 เดือน)


เครื่องปรุง 

ตับไก่สับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ

หมูสับ 1 ช้อนโต๊ะ

ไก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

เต้าหู้อ่อนหั่นเต๋าเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมหั่นซอย 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว ¼ ช้อนชา

แครอตต้มสับ 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำมัน 1 ช้อนชา

น้ำซุปต้มกระดูก ¼ ถ้วย
 

วิธีทำ

1.นำตับไก่สับไปหมักซีอิ๊ว ¼ ช้อนชา 15 นาที

2.ตั้งกระทะพอร้อน เติมน้ำมัน 1 ช้อนชา พอน้ำมันร้อนใส่ตับไก่ลงรวนพอสุก ตักพักไว้ในจาน

3.เติมน้ำซุปใส่กระทะ พอน้ำซุปร้อนใส่ไก่สับ หมูสับลงรวนสุก เติมแครอต เต้าหู้อ่อน ใส่ตับไก่ที่รวนแล้ว ลงผัดคลุกเข้ากัน โรยต้นหอมผัดจนต้นหอมสุก เสิร์ฟกับข้าวสวยหุงสุกนิ่มหรือ ข้าวต้ม
 

Tip

เทคนิคผัดตับไก่สุกพักไว้ ทำให้เนื้อตับไม่แข็ง นิ่มอร่อย และไม่คาว อาหารหนูน้อยวัย 11-12 เดือน ลักษณะเนื้อจะหยาบและมีความข้นหนืดขึ้น คุณแม่อาจหั่นตับเป็นชิ้นหนาทอดในน้ำมันประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แบ่งตับทอดที่สะเด็ดน้ำมัน สับให้ละเอียดนำมาคลุกทีหลังก็ได้


 

ให้ลูกดื่มนมย่อยง่าย ช่วยให้หลับสบาย พัฒนาการดี



กล่อมลูกนอน-การนอน-ลูกนอนไม่พอ-การนอนหลับ-การนอนของเด็ก-การนอนหลับของเด็ก-การเลี้ยงลูก-ทารกนอนไม่พอ-ลูกไม่ยอมนอน-พัฒนาการสมองของเด็ก-ทารกต้องนอนหลับอย่างเพียงพอ-ตารางการนอน-ตารางนอน-ตารางเวลานอน-เด็กนอน-การนอนของทารก-ตารางนอนตื่น-ตารางการนอนที่เหมาะสม-การนอนของทารก 2 เดือน-การนอนของทารก 1 เดือน-การนอนของทารก 3 เดือน-ตารางเวลานอนเวลาตื่น-ตารางเวลานอนตื่น-การนอนของทารกแรกเกิด-ตารางเวลานอนที่เหมาะสม-ตารางการนอนและตื่น-เวลานอนของทารก-ตารางนอนหลับ-ตารางการนอนหลับ-เด็กทารกนอนไม่พอ- ฝึกวินัยการนอน-ฝึกลูกนอน, ห้องนอนลูก, พาลูกเข้านอน, ระบบย่อยอาหารของเด็กทารก, นมแม่, หย่านม, พัฒนาการของลูกทารก-นมเสริมสำหรับลูกเล็ก-นมเสริมสำหรับลูก-การเลือกนมเสริมสำหรับลูกเล็ก-ลูกหย่านม

ให้ลูกดื่มนมย่อยง่าย ช่วยให้หลับสบาย พัฒนาการดี

กินอิ่ม นอนหลับ พัฒนาการเด็กทารกดีเยี่ยม เป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนพยายามสร้างให้ลูกเล็กตั้งแต่แรกเกิด แต่ในลูกเล็กที่ยังดื่มนมเป็นอาหารหลักอาจจะเกิดปัญหา เช่น ลูกท้องอืด ลูกท้องเสีย ลูกแหวะนม หรือร้องกวนเพราะรู้สึกไม่สบายท้อง หากคุณแม่แก้ไขและรับมือไม่ถูกต้องก็จะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกทารกได้ แต่จะทำอย่างไรเพื่อลดและแก้ปัญหาลูกดื่มนมไม่สบายท้อง เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

โดยปกติแล้วลูกแรกเกิดที่ดื่มนมแม่จะไม่มีปัญหาการดื่มนมแล้วไม่สบายท้อง เพราะนมแม่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยง่าย ดูดซึมได้ไว แต่เมื่อลูกหย่านมแม่และดื่มนมเสริม ลูกอาจเริ่มมีอาการท้องอืด ท้องเสีย แหวะนม และร้องกวนเพราะไม่สบายท้องบ่อยขึ้น เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กทารกยังไม่สามารถย่อยโปรตีนนมขนาดใหญ่ และน้ำตาลแลคโตสในนมทั่วไปได้ดีเท่าผู้ใหญ่ หรือย่อยได้ไม่หมดจึงทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว

การเลือกและการให้นมเสริมที่เหมาะสำหรับระบบการย่อย และดูดซึมของลูกเล็กจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้สารอาหารที่ลูกจะได้รับ ซึ่งคุณแม่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

  1. นมเสริมสำหรับลูกเล็กควรเป็นนมที่ได้รับการปรับสูตรให้โปรตีนนมถูกย่อยแล้วบางส่วน เพื่อทำให้โปรตีนมีโมเลกุลเล็กลง ย่อยง่าย และลำไส้ดูดซึมได้ดีขึ้น เพื่อป้องกันอาการเกิดแก๊สและท้องอืด
  2. นมเสริมสำหรับลูกควรมีน้ำตาลแลคโตปริมาณน้อย หรือมีการย่อยน้ำตาลแลคโตสแล้วบางส่วน เพื่อป้องกันการย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียจากการดื่มนมในลูกเล็ก
  3. ควรให้ลูกได้ดื่มนมเสริมในช่วงที่กำลังหิวพอดี ไม่ควรปล่อยให้หิวจัด เพราะลูกจะดูดนมเร็วเกินไปจนเป็นสาเหตุของอาการแหวะนม
  4. มั่นสังเกตอุจจาระลูกอยู่เสมอ นมเสริมที่ย่อยง่ายและเหมาะสำหรับลูกเล็ก จะทำให้อุจจาระของลูกคงรูปอ่อนนุ่ม ไม่แข็ง และไม่ทำให้ท้องผูก

การเลือกนมเสริมสำหรับลูกเล็ก คุณแม่ควรมีหลักในการเลือกให้ถูกต้องตามพัฒนาการของเขาในแต่ละช่วงวัย เช่น ย่อยง่าย มีสารอาหารครบถ้วน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการสร้างสุขภาพที่ดีให้ลูกรัก เพื่อต่อยอดไปสู่พัฒนาการสมวัย และความฉลาดที่ลูกจะได้รับการส่งเสริมต่อไป


Tips :

  • ลูกแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ควรดื่มนมแม่เป็นหลัก เพราะนอกจากจะได้รับสารอาหรครบถ้วนและภูมิคุ้มกันร่างกายแล้ว ยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกผ่านการสื่อสารระหว่างแม่ลูกในขณะให้นมแม่
  • ควรเริ่มให้นมเสริมเมื่อลูกหย่านมแม่ คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ หรือทานยารักษาโรคที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ เป็นต้น