facebook  youtube  line

ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน ลูกในท้องตัวลูกเชอร์รี่

ตั้งครรภ์ 2 เดือน-อายุครรภ์ 2 เดือน-ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน  ลูกในท้องตัวลูกเชอร์รี่

แม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน หรือเราจะนับว่าเป็นการตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ (ครบ 2 เดือนทางจันทรคติ-เดือนไทย) ช่วงเดือนนี้ พัฒนาการทารก ในครรภ์ มีมากกว่าเดือนแรกถึง 4 เท่า เราลองมาส่องท้อง คุณแม่ อายุครรภ์ 2 เดือน กันค่ะว่าลูกในท้อง เป็นยังไงกันบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน ลูกในท้องตัวเท่าลูกเชอร์รี่

  • ร่างกาย ส่วนหัวของลูกยังโตไม่มาก ลำตัวค่อย ๆ ยืดยาวออกมีความยาว 2.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัว 3 กรัม
  • ส่วนของแขนขาก็เริ่มแยกให้เห็นนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และเริ่มมีการพัฒนาให้เห็นเค้าโครงของใบหน้า สามารถมองเห็นลูกตาดำราง ๆ จมูก ริมฝีปาก และหู
  • ผิวหนัง เริ่มแบ่งเป็นสองชั้น และมีการพัฒนาต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน รวมทั้งเริ่มมีขนงอกออกมาจากรูขุมขน
  • อวัยวะภายใน ครบสมบูรณ์ทั้งหมด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างหลักใหญ่ ๆ ของอวัยวะอื่นๆ ด้วย
  • อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจลูกจะเต้นเร็วกว่าคุณแม่ประมาณเท่าตัว คือ 140-150 ครั้งต่อนาที

แม่ท้องอายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการคนท้องและร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  1. ช่วงอายุครรภ์ 2 เดือนสำหรับแม่ท้องบางคนจะแพ้ท้องหนักมาก อาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน เหนื่อยง่าย เหม็นบางสิ่งบางอย่างจนทนไม่ได้ อารมณ์แปรนปรวนง่าย ดังนั้นพยายามพักผ่อนและดื่มน้ำเยอะ ๆ เลี่ยงอาหารที่มีกลิ่น และเลี่ยงบรรยากาศที่อาจจะทำให้หงุดหงิดง่ายค่ะ (แต่ถ้าเหม็นเบื่อสามีช่วงนี้ก็ช่วยไม่ได้จริง ๆ ค่ะ)  
     
  2. อายุ 2 เดือนยังต้องงดการออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ๆ เพราะอาจจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะแท้งได้ง่าย และช่วงนี้อาจจะมีตกขาวมากกว่าปกติ หรือมีเลือดออกบ้าง ไม่ควรซื้อยาใด ๆ มากินเองนะคะ ควรพบแพทย์เพื่อรับการดูแลและแนะนำอย่างถูกต้องค่ะ

อาหารคนท้องอายุครรภ์ 2 เดือนควรกินอะไร

    1. โฟเลท ยังต้องกินอย่างต่อเนื่องและขาดไม่ได้นะคะ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอผู้ดูแลครรภ์จะให้วิตามินแบบเม็ดมาด้วย
       
    2. โอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในเนื้อปลาทะเลและถั่วต่าง ๆ เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาสมอง ระบบประสาท และไขสันหลัง
       
    3. แคลเซียม คุณแม่ควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวัน กินปลา ไข่ นม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และควรออกไปรับวิตามินดีจากแสงแดดอ่อนยามเช้า
       
    4. วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วย ขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัด

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

      1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
      2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
      3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
      4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
      5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
      6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
      7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
      8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
      9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน ลูกตัวเท่าดอกกะหล่ำและได้ยินเสียงแม่แล้ว

ตั้งครรภ์ 6 เดือน-อายุครรภ์ 6 เดือน-ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์-ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์-พัฒนาการทารกในครรภ์

การตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน ลูกตัวเท่าดอกกะหล่ำและได้ยินเสียงแม่แล้ว

พัฒนาการทารภในครรภ์ 6 เดือน หรือ แม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนที่ อายุครรภ์ 6 เดือน คุณแม่กำลังย่างเข้าสู่ การตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 3 ( อายุครรภ์ 21 สัปดาห์, อายุครรภ์ 22 สัปดาห์,อายุครรภ์ 23 สัปดาห์,อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ )แล้วนะคะ ช่วงนี้ พัฒนาการทารกในครรภ์ มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง แม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน ดูแลตัวเองอย่างไรและ ร่างกาย แม่ท้องอายุครรภ์ 6 เดือน เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง มาเช็กกันตรงนี้ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ลูกในท้องตัวหัวดอกกะหล่ำ

(24 สัปดาห์ สิ้นเดือนที่ 6 ทางจันทรคติ หรือ 5 1/2 เดือนตามปฏิทิน)

  • ทารกในครรภ์มีความยาวหัวจรดเท้าประมาณ 33 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 600 กรัม 
  • ตามร่างกายมีขนอ่อนปกคลุมมากขึ้น และเปลือกตาเริ่มเปิดออกได้แล้ว
  • ปอดเริ่มทำงานได้ แต่หลอดลมของปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ลูกในท้องเริ่มไวต่อคลื่นเสียงความถี่สูง ๆ และจะเคลื่อนตัวตามจังหวะเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ได้ การที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับทารกเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทารกสามารถจดจำเสียงได้ ยิ่งพูดคุยด้วยบ่อย ๆ ก็จะยิ่งดี
  • คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าช่วงตั้งท้อง 6 เดือนลูกไม่ค่อยดิ้นโดยทั่วไปคุณหมอจะแนะนำให้นับลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ หรือตั้งครรภ์ 7 เดือนขึ้นไปเดังนั้นหากรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น แต่คุณแม่ไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติใด ๆ ในร่างกาย ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ

อาการคนท้อง 6 เดือนร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • คุณแม่ท้อง 6 เดือน เท้าบวมเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอ เพราะร่างกายจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณอาทิตย์ละครึ่งกิโลกรัม คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าท้องจะเล็กหรือใหญ่แล้วมีผลกับพัฒนาการทารกในครรภ์นะคะ ขอแค่ดูแลตัวเองดี กินอาหารหลากหลายครบถ้วน ลูกในท้องจะแข็งแรงแน่นอนค่ะ
  • เวลาแม่เปลี่ยนอิริยาบทอาจจะเกิดการเสียดท้องน้อยได้ เพราะมดลูกจะเกิดการหดตัวและเกร็ง
  • อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 6 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ท้องแข็งมีหลายสาเหตุ เช่น ท้องแข็งที่เกิดจากลูกโก่งตัว เป็นอาการท้องแข็งในบางที่ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นร่างกายลูก เช่น ศีรษะ ศอก เข่า หรือท้องแข็งหลังจากคุณแม่กินอิ่มเกินไปจนรู้สึกแน่น อึดอัด 
  • คุณแม่อาจจะปวดชายโครงได้ เนื่องจากขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้น และขณะที่ทารกดิ้นก็อาจเกิดการกดทับกระเพาะอาหารและแสบร้อนได้เหมือนกัน
  • สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้คือ โรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ การอักเสบจากเชื้อรา เป็นต้น ดังนั้นจะต้องระวังเรื่องอาหาร และหากตรวจพบภาวะดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด


อาหารคนท้องอายุครรภ์ 6 เดือน

  • แคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว
  • กากใย การกินอาหารที่มีกากใยสูงตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยป้องกันท้องผูกหรือริดสีดวงทวารแล้ว ยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้

 *************************************************

เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน 
  2. ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน 
  3. ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน 
  4. ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน 
  5. ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน 
  6. ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน 
  7. ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน 
  8. ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน 
  9. ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน 

 

พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกโตแค่ไหน พ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไร

พัฒนาการทารก 6 เดือน, พัฒนาการเด็ก อายุ 6 เดือน, พัฒนาการของทารก, ทารก 6 เดือน พัฒนาการทางร่างกาย, เด็ก 6 เดือน พัฒนาการทางสมอง, ทารก 6 เดือน พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์, ทารก 6 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, เด็ก อายุ 6 เดือน เป็นยังไง, ลูก อายุ 6 เดือน ต้องดูแลยังไง 

ทารก 6 เดือนมีพัฒนาการเด็กอย่างไร พ่อแม่ต้องรู้และส่งเสริมพัฒนาการทารก 6 เดือนอย่างไร ลองมาเช็กกันตรงนี้จะได้ดูแลลูกได้อย่างถูกต้องค่ะ

พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกโตแค่ไหน พ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไร

พัฒนาการทางร่างกายทารก 6 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเจ้าหนูวัย 6 เดือนคือ การนั่งได้นานยิ่งขึ้น โดยมีสิ่งของให้พิงบ้าง หรือบางครั้งไม่มีของพิงกล้ามเนื้อหลังก็สามารถพยุงตัวให้นั่งคงที่ได้แล้ว เว้นแต่ว่าเมื่อเอื้อมมือหยิบของ เขาจะเอนเอียงจนต้องใช้มืออีกข้างพยุงตัวบ้าง ที่น่าดีใจไปกว่านั้นคือการเริ่มหัดคืบของเขา โดยเขาจะยกขากระดกเพื่อถีบตัวไปข้างหน้า แต่บางครั้งก็เคลื่อนผิดทิศไปด้านหลังแทน นอกจากนั้นเขาชอบให้คุณพ่อคุณแม่จับตัวพยุงเดินเพื่อจะได้เห็นโลกใบใหม่ในมุมมองที่เปลี่ยนไป

พัฒนาการทางร่างกายของลูกจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกมากขึ้นว่าลูกนั้นมีลักษณะนิสัยชอบหรือไม่ชอบอะไร เช่น เด็กบางคนจะชอบเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่บางคนกลับชอบสนใจของเล่นในมือเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น ดังนั้นการฝึกพัฒนาการของตนเองจะเป็นลักษณะเฉพาะและความถนัดของแต่ละคน

ฟันซี่แรกเริ่มขึ้นแล้ว เจ้าหนูจะมีอาการเข็ดฟันและคันเหงือกบ้าง คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องหายางกัดสำหรับเด็กหรือแตงกวาชิ้นเล็ก ๆ ไว้ให้ลูกขบเล่น เพื่อกระตุ้นการขึ้นของฟันได้ดีขึ้นด้วย และสำหรับคุณแม่ที่ยังให้นมลูกอยู่ เมื่อลูกฟันขึ้นแล้วลูกอาจจะขบกัดหัวนมทำให้เกิดอาการเจ็บปวด คุณแม่สามารถใช้ขวดนมแทนโดยใช้ท่าทางการอุ้มเช่นเดียวกับการให้นมแม่

พัฒนาการทางร่างกายของทารก 6 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • หันหน้าเอี้ยวตัวไปมาได้ดี
  • พลิกคว่ำได้คล่องแคล่ว อาจพลิกคว่ำมาเป็นท่าทางกึ่งนั่งได้
  • คืบไปข้างหน้าหรือข้างหลัง
  • ทรงตัวได้ดีแต่ต้องมีสิ่งช่วยพยุง เพราะอาจจะหน้าคว่ำหรือหงายท้องได้
  • ถือขวดนมเองได้
  • จับของเล่นและถ่ายของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้
  • เอื้อมมือหยิบของทันทีที่อยากได้
  • ดื่มนมจากถ้วยได้
  • ใช้มือแย่งช้อนเวลาป้อนอาหารเสริมให้ลูก
  • นอนหลับสนิทตลอดคืน เฉลี่ยนอนวันละประมาณ 12 ชั่วโมง

พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจทารก 6 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

อารมณ์ดี ๆ ของลูกมักมาจากการเล่นที่บ้างครั้งแม้ว่าการเล่นนั้นดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่ลูกก็สามารถยิ้มแย้มและเอิ๊กอ๊ากจนน้ำลายไหลได้ บางทีเจ้าหนูก็ร้องไห้อยู่แท้ๆ แต่เมื่อเจอสิ่งที่น่าสนใจเขาก็สามารถพลิกกลับมาหัวเราะได้ทันที สำหรับเกมที่สามารถทำให้เจ้าหนูอารมณ์ดีได้ง่ายๆ คือ เกมจ๊ะเอ๋ ปิดหน้าเราด้วยมือหรือผ้าแล้วเล่นจ๊ะเอ๋กับเขา ลูกจะรู้สึกตื่นเต้นและหัวเราะจนเรามองเห็นเหงือกเกือบทั้งหมดเลย

ร่างกายของลูกก็มีเรื่องเกี่ยวพันกับอารมณ์ของเจ้าหนูได้เหมือนกัน เด็กที่อ้วนจะมีผลทำให้เฉื่อยชา อึดอัดเวลาเคลื่อนไหวทำให้พัฒนาการทางร่างกายพัฒนาไปได้น้อย ความสนุกสนานและการเรียนรู้โลกกว้างก็น้อยตามไปด้วย

พัฒนาการทางภาษาของทารกวัย 6 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

เสียงของคุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการฝึกภาษาให้ลูก แม้ว่าลูกจะฟังดนตรีอยู่แต่เมื่อได้ยินเสียงคุณแม่ เขาก็จะหยุดและเพ่งความสนใจมาที่แม่ทันที และตั้งอกตั้งใจฟังสิ่งที่คุณแม่พูดราวกับรู้เรื่องทั้งหมด และบางครั้งอาจจะดต้ตอบด้วยน้ำเสียงอ้อแอ้กลับด้วย หรือมักจะเรียกคุณด้วยน้ำเสียงที่อ้อนแม้ว่าตนเองจะไม่ได้ต้องการอะไรก็ตาม

พัฒนาการทางภาษาของทารก 6 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • ส่งเสียงเป็นพยัญชนะได้มากขึ้น
  • ควบคุมเสียงได้ดีขึ้น แต่ว่ายังไม่เป็นภาษา
  • ชอบส่งเสียงคุย และส่งเสียงจ้อตอบเสียงที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเสียงผู้หญิง
  • ส่งเสียงบอกอารมณ์ต่างๆ ของตัวเอง

พัฒนาการทางสังคมทารก 6 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

ลูกได้เรียนรู้ว่าจะมีปฏิกิริยาตอบกลับจากสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง มีการปักใจในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวด้วยการมองสังเกต อดทนทดลองเล่นไปเรื่อยๆ เผื่อว่าจะมีสิ่งใดแปลกใหม่สะท้อนกลับมา คุณพ่อคุณแม่บางคนเริ่มให้ลูกนั่งรถเข็นเดินเล่นในระแวกบ้าน ก็จะทำให้เขาพบเจอลุงป้าน้าอามากมาย ที่สำคัญเขาจะเรียนรู้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลได้

พัฒนาการทางสังคมของทารก 6 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • ยิ้มให้กับเงาตนเองในกระจก สามารถแยกตัวเองกับกระจกเงาได้
  • พยายามเลียนแบบการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า
  • หันหน้ามามองเมื่อได้ยินคนเรียกชื่อตัวเอง
  • ยิ้มและเอื้อมไปจับเด็กแปลกหน้า
  • ร้องเรียกพ่อแม่เพื่อขอความช่วยเหลือ
  • ชอบเล่นกับคนอื่น โดยเฉพาะเมื่อมีเกม

พัฒนาการทางสมองของทารก 6 เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

ลูกจะเข้าใจหน้าที่ของของเล่นและของใช้ต่างๆ ได้อย่างดี เรียนรู้และเชื่อมโยงกับกิจกรรมประจำวันได้อย่างรวดเร็ว ลูกจะรับรู้กิจวัตรประจำวันและเรียงลำดับได้อย่างแม่นยำ ส่วนด้านการทำงานของระบบประสาทจะมีความแม่นยำขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับ การเคลื่อนไหว รวมทั้งการเรียนรู้ที่เริ่มเลียนแบบกิริยาท่าทางรวมทั้งภาษาที่ได้ยินอยู่เป็นประจำด้วย

พัฒนาการทางสมองของทารก 6 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่

  • รู้ความสัมพันธ์ระหว่างมือและของที่อยู่ในมือ
  • เมื่อถือของอยู่ จะใช้อีกมือหยิบของเล่น และมองของชิ้นที่ 3
  • ระบบประสาทสัมพันธ์กันมากขึ้น คว้าสิ่งของด้วยความแม่นยำ ไม่มีกระตุก หรือแกว่งไปมา
  • ฮึมฮัมตามเพลง หรือหยุดร้องเมื่อได้ยินเสียงเพลง

พัฒนาการทารก 6 เดือน, พัฒนาการเด็ก อายุ 6 เดือน, พัฒนาการของทารก, ทารก 6 เดือน พัฒนาการทางร่างกาย, เด็ก 6 เดือน พัฒนาการทางสมอง, ทารก 6 เดือน พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์, ทารก 6 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, เด็ก อายุ 6 เดือน เป็นยังไง, ลูก อายุ 6 เดือน ต้องดูแลยังไง  

เมนูตับ เสริมธาตุเหล็กลูกวัย 6-12 เดือน

เมนูตับ-เมนูอาหารเด็ก-อาหารเสริมเด็กทารก-อาหารเสริม-อาหารเด็ก-อาหารเด็กวัย 6-12 เดือน-ตับมีประโยชน์-ให้ลูกกินตับตอนไหน-ตับบด

เมนูตับ เป็นเมนูอาหารเสริมลูกวัย 6-12 เดือน ที่มีธาตุเหล็กและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มาดูเทคนิคการเลือกและการปรุงเมนูตับให้เป็นเมนูอาหารเด็กที่แสนอร่อยให้ลูกน้อยกันค่ะ

เมนูตับ เสริมธาตุเหล็กลูกวัย 6-12 เดือน

หลัง 6 เดือนไปแล้ว นมแม่จะมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับเด็กวัยขวบปีแรก การได้อาหารตามวัยคุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงให้ลูก หนึ่งในแหล่งธาตุเหล็กชั้นดีก็คือตับนั่นเอง มาดูกันว่าตับเป็นอาหารที่มีประโยชน์ในด้านไหนกันบ้าง
 

-โปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

-ธาตุเหล็กสูง ช่วยเสริมสร้างฮีโมโกบิน ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

-วิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงรักษาผิวหนัง เส้นผม ทำให้เนื้อเยื่อในตาแข็งแรง สายตาดี มองเห็นได้ชัดในที่มีแสงสว่างน้อย

-วิตามินบี 3 ทำให้ลำไส้มีสุขภาพดี ระบบย่อยเป็นปกติ กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-วิตามินบี 5 ช่วยให้ร่างกายสามารถนำคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

-วิตามิน บี 6 สร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ๆ ให้กับร่างกาย

-วิตามิน บี 12 บำรุงประสาทให้แข็งแรง ทำให้สมองทำงานได้ดี ความจำดี และทำให้การสร้างเลือดเป็นปกติ
 

เลือกตับให้เหมาะกับลูก

การเลือกตับให้เหมาะสำหรับเด็กวัย 6-8 เดือนนั้น แม่ ๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้ตับไก่เพราะเนื้อนิ่ม ควรเลือกที่สีอ่อน หากซื้อตอนเช้าจะได้ตับที่สด และควรปรุงอาหารในวันเดียวกัน ไม่ควรเก็บตับที่ซื้อมาเกิน 24 ชั่วโมง เนื่องจากตับจะเสียง่าย ส่วนการเลือกซื้อตับหมู ควรเลือกตับที่สดเนื้อขึ้นเงา สีอ่อนไม่แดงเข้ม เนื้อตับจะไม่กระด้าง
 

เทคนิคการปรุงตับ

ที่ช่วยปรุงตับไม่ขม ไม่คาว และไม่แข็ง แถมนิ่ม อร่อย ต้องใช้วิธีนี้
 

1.เลือกซื้อตับที่สด

2.ล้างตับด้วยเกลือป่น ช่วยลดความคาวของตับ

3.หมักด้วยซีอิ๊วหรือนมสดเล็กน้อยประมาณ 15-30 นาทีก่อนนำมาปรุงอาหาร ช่วยลดความคาวของตับ

4.นำตับไปลวกด้วยน้ำร้อนจัด ช่วยลดความขมและกลิ่นคาว

5.การผัดตับด้วยน้ำมันที่ร้อน ในช่วงเวลาสั้น ๆ จะทำให้ตับนิ่ม อร่อยและไม่คาว
 


เมนูตับ-เมนูอาหารเด็ก-อาหารเสริมเด็กทารก-อาหารเสริม-อาหารเด็ก-อาหารเด็กวัย 6-12 เดือน-ตับมีประโยชน์-ให้ลูกกินตับตอนไหน-ตับบด

เมนูอาหารเด็ก เมนูตับ


โจ๊กตับ (6-8 เดือน)
 

เครื่องปรุง  

ปลายข้าวกล้อง 2 ช้อนโต๊ะ

ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก ¼ ถ้วย

หมูสันนอกหั่นชิ้นหนา 1 นิ้ว 1 ขีด

ตับไก่ 1 ชิ้น

ผักกาดขาวหั่นฝอย ¼ ถ้วย

เกลือป่น ¼ ช้อนชา

น้ำเปล่า 1 ถ้วย
 

วิธีทำ

1.คลุกเคล้าตับไก่กับเกลือป่น แล้วล้างน้ำเพื่อดับกลิ่นคาว พักใส่ชาม

2.ต้มปลายข้าวกล้องกับน้ำ พอเดือดใส่ฟักทอง ผักกาดขาวและหมูสันนอก เร่งไฟให้เดือด ใส่ตับไก่ คนให้สุกทั่ว

3.เทส่วนผสมใส่หม้อตุ๋นประมาณ 2-3 ชั่วโมง คนข้าวตุ๋นบ้างเพื่อไม่ให้ข้าวไหม้ติดก้นหม้อตุ๋น
 

Tip

การตักโจ๊กตับป้อนลูกในมื้อแรกที่เริ่มอาหารเสริม ควรตักเฉพาะส่วนที่เป็นโจ๊กและฟักทองที่เปื่อย สำหรับตับและเนื้อหมู การตุ๋นช่วยให้โปรตีน วิตามินและเกลือแร่บางส่วนละลายในน้ำ ทำให้เหมาะต่อการย่อยการดูดซึม มื้อที่สองให้ตักแบ่งตับไก่ เนื้อหมูอย่างละ 1- 2 ช้อนชาแล้วบดผ่านกระชอนให้ละเอียดนำมาคลุกเคล้ากับโจ๊ก เป็นการเพิ่มปริมาณสารโปรตีนและฝึกให้หนูน้อยคุ้นเคยกับการกินตับ มื้อถัดไปจึงเพิ่มปริมาณเป็น 1 ช้อนโต๊ะ พร้อมกับสังเกตการย่อยอาหารของหนูน้อยด้วย จากการที่ไม่มีท้องอืด สามารถดื่มนมได้ปริมาณเท่าเดิมในมื้อที่กินนม สามารถดัดแปลงเพิ่มด้วยการเติมผักอื่น เช่น แครอต ผักขม ผักตำลึง เพื่อเด็กมีโอกาสฝึกกินผักได้หลากหลาย
 

ไข่แดงตับบด (9-10 เดือน)

เครื่องปรุง

ไข่แดงต้มสุก ½ ฟอง

ตับไก่สับละเอียดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ

ไก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

หอมใหญ่สับละเอียด 1 ช้อนชา

เนย 1 ช้อนชา

แครอตต้มสุกสับ 1 ช้อนโต๊ะ

กล้วยน้ำว้าสุกครูด 2 ช้อนโต๊ะ
 

วีธีทำ

1.ผัดเนยกับหอมใหญ่สับด้วยไฟอ่อน ในหม้อเล็กจนหอมใหญ่สุก เหลืองกลิ่นหอม

2.ใส่ตับไก่สับ ใช้ไฟแรงผัดเร็ว รวนตับให้สุก ลดไฟลงใส่ไก่สับผัดให้เข้ากัน

3.ใส่แครอตสับ กล้วยน้ำว้าครูด ผัดให้เข้ากัน ใช้ไฟอ่อน

4.ใส่ไข่แดงต้มสุก ยีรวมให้เข้ากัน ตักข้าวต้ม 1 ถ้วยคนให้เข้ากัน เคี่ยวไฟอ่อนจนข้าวต้มเปื่อย
 

Tip

การผัดตับไก่กับเนย ช่วยทำให้ลดกลิ่นคาว ขณะใส่ไข่แดง ใช้หลังทัพพียีเนื้อไก่ ตับไก่ แครอตและกล้วยครูดให้แหลก ช่วยย่นเวลาในการเคี่ยวข้าวต้ม อาจสับตับไก่ให้ละเอียดทำให้ตับไก่สุกเนื้อเนียน ไม่เป็นเม็ด
 

ตับไก่รวมมิตร (11-12 เดือน)


เครื่องปรุง 

ตับไก่สับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ

หมูสับ 1 ช้อนโต๊ะ

ไก่สับ 1 ช้อนโต๊ะ

เต้าหู้อ่อนหั่นเต๋าเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมหั่นซอย 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว ¼ ช้อนชา

แครอตต้มสับ 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำมัน 1 ช้อนชา

น้ำซุปต้มกระดูก ¼ ถ้วย
 

วิธีทำ

1.นำตับไก่สับไปหมักซีอิ๊ว ¼ ช้อนชา 15 นาที

2.ตั้งกระทะพอร้อน เติมน้ำมัน 1 ช้อนชา พอน้ำมันร้อนใส่ตับไก่ลงรวนพอสุก ตักพักไว้ในจาน

3.เติมน้ำซุปใส่กระทะ พอน้ำซุปร้อนใส่ไก่สับ หมูสับลงรวนสุก เติมแครอต เต้าหู้อ่อน ใส่ตับไก่ที่รวนแล้ว ลงผัดคลุกเข้ากัน โรยต้นหอมผัดจนต้นหอมสุก เสิร์ฟกับข้าวสวยหุงสุกนิ่มหรือ ข้าวต้ม
 

Tip

เทคนิคผัดตับไก่สุกพักไว้ ทำให้เนื้อตับไม่แข็ง นิ่มอร่อย และไม่คาว อาหารหนูน้อยวัย 11-12 เดือน ลักษณะเนื้อจะหยาบและมีความข้นหนืดขึ้น คุณแม่อาจหั่นตับเป็นชิ้นหนาทอดในน้ำมันประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แบ่งตับทอดที่สะเด็ดน้ำมัน สับให้ละเอียดนำมาคลุกทีหลังก็ได้


 

แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 6 เดือน พัฒนาการทารกวัย 6 เดือน

พัฒนาการ เด็ก 6 เดือน, พัฒนาการทารก 6 เดือน, พัฒนาการ 6 เดือน, พัฒนาการ ทารก เดือน ที่ 6, ทารก 6 เดือน พัฒนาการ, เด็ก 6 เดือน พัฒนาการ, ลูก 6 เดือน มีพัฒนาการยังไง, เช็กพัฒนาการเด็ก 6 เดือน, เด็ก 6 เดือน ทำอะไรได้บ้าง, ประเมินพัฒนาการเด็ก 6 เดือน

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน เติบโตแค่ไหน เขาทำอะไรได้บ้าง และพ่อแม่ต้องส่งเสริมอย่างไร เช็กกันตรงนี้ค่ะ

แบบประเมินพัฒนาการเด็ก 6 เดือน พัฒนาการทารกวัย 6 เดือน

1. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน จะพลิกคว่ำ และหงายได้เองทั้งสองอย่าง : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • วางลูกนอนคว่ำเรียกชื่อลูกพร้อมเขย่าของเล่นที่มีเสียง เช่น กรุ๋งกริ๋งด้านหน้าเหนือศีรษะเด็ก เคลื่อนของเล่นไปด้านข้าง เมื่อเด็กพยายามจะคว้าของเล่น ตัวก็จะพลิกหงายตามมาได้ ถ้าลูกทำไม่ได้ ช่วยจับเข่างอ ดันสะโพกพลิกตัวหงาย
  • วางลูกนอนหงาย วางของเล่นด้านข้างระดับสายตา จับใต้เข่าทั้งสองข้างงอเข่าข้างหนึ่งพลิกเป็นท่านอนตะแคง แล้วพลิกตัวเป็นท่านอนคว่ำ

2. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน เมื่ออยู่ในท่าคว่ำหรืออุ้มนั่ง สามารถหยิบของใกล้ตัวได้ : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • นวางลูกนอนคว่ำแขนยันพื้นให้ข้อศอกอยู่ข้างหน้าไหล่ แล้วยื่นของเล่นห่างจากศีรษะ 20 ซม. เรียกชื่อลูกแล้วบอกให้จับของเล่น ถ้าทำไม่ได้ช่วยจับข้อมือเอื้อมหยิบหรือไปจับของเล่นโดยสลับฝึกทั้งสองข้างสลับกัน
  • พยุงลูกไว้ในท่านั่ง
    • เขย่าของเล่นที่มีเสียงให้ลูกสนใจ ถ้าลูกไม่เอื้อมมือไป ช่วยจับมือให้เอื้อมไปที่ของเล่น
    • พูดคุย พยายามให้ลูกเอื้อมมือมาจับใบหน้า ผม ของพ่อหรือแม่
    • ก่อนให้นมลูกทุกครั้ง ถือขวดนมห่างจากหน้าประมาณ 20 ซม. เรียกให้มองที่ขวดนมเพื่อให้ลูกเอื้อมมือทั้งสองข้างออกมาถ้าลูกไม่ทำ จับมือลูกมาที่ขวดนม
    • ทำแกนขวางเตียงลูก ใช้เชือกที่ยึดได้ผูกของเล่นสีสดใส มีเสียงติดกับแกนในระยะที่ลูกเอื้อมมือถึง เปลี่ยนของเล่น และตำแหน่งแขวนบ้าง

3. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน หันตามเสียงเรียก เมื่อเรียกลูกจากด้านหลัง : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • เรียกลูกทุกครั้งที่เดินมาหา ก่อนอุ้ม/ให้นม หรือก่อนฝึกกิจกรรมต่าง ๆและรอให้ลูกมองหน้า
  • เรียกชื่อลูกด้วยเสียงปกติทางด้านหลังห่างจากลูก 1 ฟุต สลับกันซ้าย-ขวา ลูกบางคนถนัดหันหน้าข้างเดียว ต้องพยายามฝึกข้างที่ไม่ถนัดให้มากกว่า

4. พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ส่งเสียง หรือพ่นน้ำลายเล่น : ทำได้ หรือ ทำไม่ได้

แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ

  • พ่อแม่ทำเสียง เช่น พ่นน้ำลาย ส่งเสียงโอะอะ มามา ปาปา ที่ละเสียง แล้วรอให้ลูกทำตาม
  • เล่นของเล่นพร้อมทำเสียงให้ลูกฟัง เช่น ไถรด ทำเสียง “ปริ๊น ปริ๊น” ทำทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง สังเกตว่าลูกออกเสียงเล่นกับของเล่นนั้นบ้างหรือไม่

 

สรุปผลการประเมินพัฒนาการเบี้องต้น

( 1 ข้อเท่ากับ 1 คะแนน) กรณีทำได้มากกว่า 3 ข้อ ถือว่าปกติ