ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัวแล้ว
ตั้งท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้องตัวเท่ามะพร้าวและเริ่มหมุนกลับหัว
พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน แม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน ลูกในท้อง ตัวเท่ามะพร้าว อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ( ปลายเดือนที่ 7 ทางจันทรคติ หรือ 6 1/2 เดือนตามปฏิทิน )
- ความยาวของตัวทารกตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1,000 กรัม
- ต่อมไขมันเริ่มทำงานแล้ว ช่วงนี้ผิวลูกในท้องจึงเริ่มมีความชุ่มชื่นมากขึ้น
- ทารกในท้องลืมตาได้เองแล้ว
- ช่วงนี้พื้นที่ในท้องแม่แคบลงเพราะลูกตัวใหญ่ขึ้น เมื่อลูกเริ่มยืดแขนขาแม่จึงรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย
- ทารกในท้องบางคนจะเริ่มหมุนตัวเอาส่วนหัวลงในลักษณะคล้ายเตรียมตัวคลอดแล้ว
- ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และฝึกการดูดนมด้วยเช่นกัน สำหรับน้ำคร่ำที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 500 มล.ต่อวัน
อาการคนท้อง 7 เดือน ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- การตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 นี้คุณแม่จะเหนื่อยและเพลียง่ายมาก เพราะทั้งตัวลูกที่ใหญ่ขึ้น ท้องใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวแม่ที่เพิ่มมากขึ้น เดินนิดหน่อยก็จะเหนื่อย ง่วงนอน
- แม่เริ่มจะปวดหลังมากขึ้น นอนไม่ค่อยหลับเพราะท้องใหญ่ไม่สบายตัว รวมทั้งลูกอาจจะตื่นมาถีบท้องแม่ตอนกลางคืนทำให้ไม่ค่อยได้นอน ท่านอนคนท้องที่ช่วยให้สบายตัวคือท่านอนตะแคงกอดหมอนข้าง หรือคุณแม่ลองนอนโดยใช้หมอนแม่ท้องช่วยประคองหลัง ประคองท้อง นอนในท่าเอนหลังแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน และใช้วิธีงีบหลับระหว่างวันช่วยได้
- คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล คุณแม่อาจเริ่มสังเกตว่ามีน้ำสีขุ่น ๆ ไหลออกมาจากหัวนม น้ำนี้มีความใสกว่าน้ำนม มีรสหวาน เรียกว่า "โคลอสตรัม" (Colostrum) เพื่อให้ทารกได้กินเป็นอาหารในช่วง 3-4 มื้อแรกก่อนที่น้ำนมจริง ๆ จากเต้านมจะไหลออกมานั่นเอง
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณแม่จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นมาอีก หลังจากหายไปเมื่อเลย 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คราวนี้อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากมดลูกที่โต และทารกที่อยู่ภายในเริ่มมีแรงกดต่อกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังกล่าว
- รู้สึกเจ็บจี๊ดตรงอวัยวะเพศ เป็นอาการปกติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของทารกในครรภ์มาที่กระดูกเชิงกราน ทำให้กระทบกับเส้นประสาทในมดลูก จนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บจี๊ดที่บริเวณหัวหน่าวและอวัยวะเพศนั่นเอง
อาหารคนท้อง 7 เดือน
- อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมแก่ทารก
- ช่วงนี้วิตามินซีมีความจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กแล้ว ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกด้วย
- แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับวิตามินเค ที่จะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้แก่คุณแม่ได้
*************************************************
เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่
- ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน
- ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน
- ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน
- ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน
- ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน
- ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน
- ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน
- ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน
- ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน