ยิ่งถ้าทุกคนคาดหวังความสำเร็จกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการเรียน กีฬา ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรมที่ลูกชื่นชอบ ก็ยังคาดหวังว่าลูกจะทำสิ่งนั้นให้ได้ดี ประสบความสำเร็จ ชนะเลิศ หรือมีชื่อเสียงโด่งดังโดยมองข้ามความสุขหรือมองว่าเป็นกิจกรรมเสริมทักษะ พ่อแม่เองอาจกำลังสร้างความเครียดและความกดดันให้ลูกอยู่ก็ได้
พ.ญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เคยกล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตรเวชในเด็กและวัยรุ่นว่า "การคาดหวังในตัวเด็กไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่บางครั้งผู้ปกครองเองก็ลืมไปว่าเป้าหมายในชีวิตนั้นลูกๆ ต้องเป็นผู้กำหนดไม่ใช่เรากำหนด การที่เราไปกำหนดเป้าหมายให้บ่อยครั้งเราก็กำหนดผิดทิศและกำหนดยากเกินไปสำหรับเด็ก ผู้ปกครองเพียงแต่แนะนำเป็นแนวทางเท่านั้นและสถิติเด็กที่ป่วยจิตเวชมีอยู่ในทุกช่วงอายุและแต่ละคนนั้นจะมีปัญหาที่แตกต่างกันไปตามช่วงวัยแต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเคสเด็กสมาธิสั้น
ดังนั้นผู้ปกครองทุกท่านควรทำความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ทำความเข้าใจในสิ่งที่เด็กเป็นและคอยประคับประคองให้อยู่ในกรอบที่ถูกต้อง ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญ หรือเปรียบเทียบให้เด็กเกิดความน้อยใจ และหากบุตรหลานของท่านมีความผิดปกติเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชควรพาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะคนที่มีอาการดังกล่าวไม่ใช่คนบ้าเพียงแต่เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเพียงเท่านั้น"
เอมี โมริน นักจิตวิทยาและนักเขียนหนังสือจิตวิทยาชื่อดังพูดถึงผลกระทบที่เด็กๆ ต้องเผชิญเมื่อถูกพ่อแม่กดดันอย่างหนัก
1. อัตราการป่วยทางจิตจะสูงขึ้น เด็กที่ถูกกดดันอย่างหนักอาจรู้สึกวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง ความเครียดที่มีอยู่ในระดับสูงทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ได้
2. มีความเสี่ยงจะฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มีการศึกษาพบความเชื่อมโยงระหว่างความคิดฆ่าตัวตายและแรงกดดันจากพ่อแม่ผู้ปกครอง โดย 1 ใน 5 ของเด็กนักเรียนมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายเมื่อได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากพ่อแม่
3. เด็กไม่เห็นคุณค่าในตนเอง การผลักดันเด็กๆ ให้เก่งจะทำลายความนับถือตนเอง เด็กที่เครียดตลอดเวลาจะขาดความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเขาจะรู้สึกว่าตนเองนั้นยังไม่ดีหรือไม่มีคุณค่ามากพอ
4. อดนอน เด็กที่ถูกกดดันเรื่องการเรียนอย่างต่อเนื่อง อาจะตื่นสาย เรียนช้า และและมีความพยายามที่จะงีบหลับตลอดเวลา
5. มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะเด็กที่เป็นนักกีฬาที่รู้สึกกดดันมากๆ แม้จะได้รับบาดเจ็บจากการข่งขันก็จะเมินเฉย ไม่สนใจความเจ็บปวด เพราะตนเองุ่งหวังแต่ชัยชนะ สุดท้ายแล้วอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
6. เพิ่มโอกาสในการโกง เมื่อมุ่งเน้นความสำเร็จมากกว่าการเรียนรู้ เด็กๆ มักจะโกง ไม่ว่าจะเป็นการลอกข้อสอบเพื่อนข้างในชั้นประถมหรือจ่ายเงินจ้างให้คนอื่นทำรายงานในระดับชั้นที่โตขึ้นไป
7. ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น เด็กที่ถูกกดดันมักจะมองแต่เป้าหมายของตนเอง เมื่อเข้าร่วมทีมกับเด็กคนอื่นเขาอาจรู้สึกตนเองถูกลดบทบาท หรือไม่ฉายแสงก็จะออกจากกลุุ่มไป ซึ่งน่าเสียดายว่าพวกเขาจะไม่ได้ใช้ทักษะสัมคม ไม่ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เห็นอกเห็นใจกัน เป็นต้น