มาทำความรู้จักรุ่นในร่ม โดย The Expert อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
อินดอร์มาจาก VLUX Companyที่ทำ research วิถีชีวิตคนอเมริกาพบว่า 90% ของเวลาในชีวิตต่อวัน ต่อปี ต่อเดือน อยู่ในบ้าน ร่ม อาคาร ยิม ในห้าง ในหลังคา ไม่เจอแดด
ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพร่างกาย ไม่เจอแสงแดด ทำให้คุณภาพการนอนผิดเพี้ยน แต่ถ้าเป็นชนบทที่ไม่มีซีรีส์ จะนอนประมาณทุ่มสองทุ่ม นี่คือจังหวะตามนาฬิกาชีวิต แต่พอมีแสงไฟ มีข่าว มีงาน มีซีรีส์ ออกกำลังกาย ทำให้ชีวิตเราใช้เวลากลางวันมากขึ้น พระอาทิตย์ตกแต่เรายังนั่งทำงาน ส่งผลต่อการปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้รุ่นนี้เป็นเด็กๆ ที่เป็นอินดอร์ ระบบฮอร์โมน และภูมิคุ้มกัน แย่กว่า 5เท่าของเด็กที่อยู่กลางแจ้งและมีโอกาสที่เจ็บป่วยมากกว่า ในบ้านมีเครื่องฟอก มีสัญญาwif
ส่งผลทำให้เด็กมีอายุสั้นกว่าพ่อแม่ด้วยโรคอ้วน หลอดเลือด ความดัน ความเครียด ภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาสำคัญที่จะทำให้เราตระหนัก และไม่ใช่แค่เกิดขึ้นกับเด็ก แต่เกิดขึ้นกับเจนเนอเรชั่นนี้ ถ้าร่างกายรักษาสมดุลไม่ดี วิถีชีวิตจะเปลี่ยน แล้วลักษณะทางยีน ทางพันธุกรรม โครโมโซมจะส่งต่อไปอีกรุ่น ถ้าเด็กเจนนี้ร่างกายไม่แข็งแรง ความสมดุล พัฒนาการไม่สมบูรณ์จะถ่ายทอดผ่านยีน มีโอกาสมากที่เจนถัดไปคุณภาพมนุษย์ไม่แข็งแรง
1.การเข้าถึงธรรมชาติมีต้นทุนสูง การไปที่เที่ยวตามธรรมชาติมีราคาแพง เมื่อเทียบกับความบันเทิงทางดิจิตอลถูกกว่า พ่อแม่มีความกลัวและลำบากในการพาไปด้วย
2.เทคโนโลยีน่าหลงไหล เย้ายวน ทำให้รู้สึกว่าอยู่ด้วยแล้วตอบสนองความพึงพอใจได้
3.พ่อแม่รู้สึกปลอดภัยการอยู่กับของเล่นในบ้าน ของเล่นดิจิตอล บ้านทำให้เรารู้สึกว่าควบคุมธรรมชาติได้ ฟ้าฝน อากาศ กลิ่น และอยากอยู่คอมฟอร์ทโซน
ของเล่นพลาสติกทำให้เด็ก Stay in touch Stay indoor อยู่นิ่งๆ ในบ้าน ในร่ม ทำให้เด็กไม่อยากออกในปีนต้นไม้ ทำให้เด็กใช้เวลาในร่มมากขึ้น พ่อแม่ก็รู้สึกปลอดภัย
พ่อแม่หวาดกลัว กลัวที่จะคุมธรรมชาติไม่ได้ สกปรก เชื้อโรค ทำให้เราใช้ชีวิตแบบเจนในร่มมากขึ้น ความหวาดกลัวที่เราไม่รู้ ทำให้ใช้ชีวิตแบบเจนในร่ม และส่งผลกับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ วิถีชีวิต สุขภาพอนามัย และระยะยาวส่งผลต่อระดับพันธุกรรม และที่สำคัญส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคม เพราะเราไม่ออกไปเจอผู้คน ไม่ออกไปสัมผัสธรรมชาติ แต่เราจะเจอกันผ่านแชท ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในโลก metaverse กับ ai ซึ่งไม่ใช่ความสัมพันธ์จริงๆ ต่อไปเราจะเป็น โรคความสัมพันธ์ทางเดียวกับดิจิตอล คือเราลดความสัมพันธ์กับมุนษย์ลง ทำให้เด็กเจนนี้คนรุ่นนี้ขาด empathy เป็นผลกระทบต่อไป
เวลาที่ลูกใช้สื่อดิจิตอล พ่อแม่จะรู้สึกว่าลูกมีสมาธิ นั่งดูการ์ตูน เล่นเกม ดูสื่อออนไลน์ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่บกพร่องล่าช้าไปเรื่อยๆ เพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยคือการเรียนรู้ จากของจริง โต้ตอบ เห็นสีหน้าท่าทาง
พ่อแม่คิดว่าการเล่นดิจิตอลคือการ Play ใช้เวลาเพื่อการเล่น จริงๆ แล้วดิจิตอลไม่ใช่การเล่นเป็นชม.ผ่อนคลายไม่ใช่เพื่อการเล่น การเล่นที่แท้จริงคือการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมต่างๆ เด็กต้องการความไว้เนื้อเชื่อใจที่จะรับมือได้ เด็กจะเล่นของใช้ในบ้าน เด็กชอบเล่น loose part เพราะว่าเป็นวิธีการรับมือและเข้าใจโลกที่จะเขาจะได้ใช้ชีวิตจริงๆ
มนุษย์เป็นสัตว์ที่นำแรงโน้มถ่วงมาเล่นเป็นของเล่นได้ ซึ่งเป็นวิธีที่เราเอาชนะและควบคุมธรรมชาติได้ การเล่นดิจิตอล ไม่ใช่การเล่นเลย เป็นสื่อที่เอาพลังงานจากเราไป ยิ่งเล่นยิ่งสมองเหนื่อยล้า ปวดตา มีความเครียด ยิ่งใช้มากยิ่งหมดพลังงาน แต่การออกไปเล่นกับธรรมชาติช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน เป็นการออกแบบตามธรรมชาติตามที่เด็กๆ ได้ขยับเขยื่อนร่างกาย เพื่อให้เหงื่อออก ให้กำลังแขนได้ออกกำลัง ให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อแข็งแรง
การเล่นในเกมดิจิตอล คือสารสื่อสมองโดปามีนหลั่งทำให้รู้สึกมีความสุข แต่การเล่นตามธรรมชาติ ฮอร์โมนเอนดอร์ฟีนหลั่งออกมาทำให้ร่างกายผ่อนคลาย บรรเทาความเครียดหายไป การหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟีนจากการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายฟื้นฟู
เล่นดิจิตอล 1 ชม.กับเล่นกลางแจ้ง 1ชม. ทำให้เด็กกินข้าวได้ อารมณ์แจ่มใส เรียนรู้เรื่อง หลับเร็ว แต่เล่นดิจิตอลทำให้นอนไม่หลับ เพราะเครียด ภาพติดตา เพราะเราเป็นผู้ถูกใช้ แต่ถ้าเล่นตามธรรมชาติเราเป็นผู้ใช้ให้กลับมาเยียวยาเรา
1ชม.พ่อแม่ต้องให้ได้ออกไปเล่น free play ไม่มีความเครียด ไม่มีการกดดัน ไม่มียอดLike ยอดview ไม่เคยบอกว่าต้องมาดูมาไลค์สิ ธรรมชาติไม่เรียกร้องไม่ตัดสิน
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
#รักลูกPodcast
#รักลูกTheExpertTalk
#Moms_Issues