เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ แอสไพริน (Aspirin) ที่กินกันเป็นประจำเมื่อมีอาการปวดอักเสบ หรือใช้ลดไข้ แต่สำหรับแม่ท้องนั้นเป็นยาที่ต้องห้าม ควรเปลี่ยนไปใช้ยาที่ปลอดภัยกับทารกแทนค่ะ เพราะยาอาจทำให้เสี่ยงกับการแท้ง เลือดออกขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดก่อนกำหนดได 1. ยาแก้ปวดอักเสบ ลดไข้ ยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ แอสไพริน (Aspirin) ที่กินกันเป็นประจำเมื่อมีอาการปวดอักเสบ หรือใช้ลดไข้ แต่สำหรับแม่ท้องนั้นเป็นยาที่ต้องห้าม ควรเปลี่ยนไปใช้ยาที่ปลอดภัยกับทารกแทนค่ะ เพราะยาอาจทำให้เสี่ยงกับการแท้ง เลือดออกขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดก่อนกำหนดได้
สำหรับคุณแม่ที่เคยใช้ ยารักษาสิวกลุ่มกรดวิตามิน เอ Isotretinoin ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามิน เอ ที่อยู่ในรูปแบบยากิน ตอนก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์แล้วห้ามใช้ยานี้ เพราะมีผลกับลูกในท้องค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ลูกในท้องอาจจะพิการแต่กำเนิดได้ ส่วนยาทายังอาจพอใช้ได้แต่ก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ทุกครั้งค่ะ
ยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบก็มีด้วยกันหลายกลุ่ม หลายชนิด โดยทั่วไปที่ใช้บ่อย ๆ คือ ยากลุ่มเพนิซิลิน (Penicillins) นั้น ค่อนข้างมีความปลอดภัยกับแม่ท้อง แต่ยาปฏิชีวนะที่ต้องระวังคือยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตร้าซัยคลิน (Tetracycline) ซึ่งส่งผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูก ทำให้ลูกมีฟันสีเหลืองหรือสีน้ำตาลได้ หรือทำให้กระดูกและสมองของลูกผิดปกติได้
การรักษาเบาหวานด้วยยากินขณะตั้งท้องอาจปรับขนาดยาลำบาก ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) และยังส่งผ่านรกได้ทำให้ทารกแรกคลอดเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วย ถ้าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จึงนิยมใช้ยาฉีดอินซูลินซึ่งปลอดภัยกว่า
ที่เป็นยากินหรือยาฉีดนั้น หากจำเป็นต้องใช้ขณะตั้งครรภ์ ควรต้องให้คุณหมอเป็นคนสั่ง เพราะจัดอยู่ในยาที่เป็นอันตรายอาจทำให้ทารกเกิดภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ได้ แต่สำหรับยาสเตอรอยด์แบบใช้ภายนอกสามารถใช้ได้หากใช้ในแบบอ่อนและใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ
ยารักษาความดันโลหิตบางชนิด เช่น รีเซอร์พีน (Reserpine) ส่งผลต่อทารกทำให้เกิดความผิดปกติได้ ดังนั้นหากคุณแม่ที่รักษาโรคความดันโลหิตอยู่ แล้ววางแผนตั้งท้องควรปรึกษา และแจ้งคุณหมอก่อน เพื่อปรับไปใช้ยาที่มีความปลอดภัย
การรักษามะเร็งทำได้หลายวิธี แต่การใช้ยาเคมีบำบัดสำหรับแม่ท้องที่เป็นมะเร็งอาจส่งผลกระทบไปถึงลูกในครรภ์ได้ เพราะยาอาจจะไปหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ ดังนั้นคุณหมอจึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ แต่อาจจะรักษาด้วยวิธีอื่นแทน
สำหรับแม่ท้องที่รักษาอาการชักอยู่ การกินยากันชักจำเป็นต้องอยู่ในความควบคุมของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะยากันชักอาจส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมาพิการแต่กำเนิดได้ แต่ก็ไม่ควรหยุดยา คุณหมอจึงมักให้ใช้ยากันชักขนาดต่ำที่สุดที่สามารถควบคุมอาการได้ และให้ยากันชักเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในช่วงตั้งครรภ์
ยาขับปัสสาวะ หรือยาขับน้ำ ซึ่งช่วยในการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายและยังช่วยลดระดับความดันโลหิต แต่ถือเป็นยาอันตราย ต้องห้ามหากกำลังตั้งท้อง
ในช่วงตั้งท้องไตรมาสแรก คุณแม่ไม่ควรใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดบางชนิด เช่น เฟนินไดโอน (Phenindione), อินดานิดิโอน (Indanidione) และคูมาริน (Coumarin) เพราะอาจทำให้ลูกพิการ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เด็กในครรภ์หรือเด็กแรกคลอดมีเลือดออกในระหว่างการคลอดได้อีกด้วย
นอกจากรายชื่อยาข้างต้นแล้ว ยังมียาอีกหลายกลุ่ม หลายตัวยาที่จัดอยู่ในประเภทที่มีความเสี่ยงกับลูกน้อยในท้อง หรือยาบางชนิดก็อาจจะสามารถกินได้เมื่อมีอายุครรภ์ที่เหมาะสม ดังนั้นแม่ท้องก่อนกินยาใด ๆ ก็ตามควรปรึกษาเภสัชกร หรือคุณหมอก่อนทุกครั้งค่ะ เพื่อความปลอดภัย และพัฒนาการร่างกายที่สมบูรณ์ของลูก