เมื่อลูกดื้อเวลาออกไปนอกบ้าน พ่อแม่ควรจัดการอย่างไร
การพาลูกออกไปนอกบ้านในวัยที่กำลังเติบโต และซุกซนเต็มที่นับว่าเป็นภาระใหญ่หลวงของพ่อแม่ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งถ้าลูกทำตัวดีเชื่อฟัง ไม่กรีดร้อง วิ่งวุ่นให้พ่อแม่กลุ้มใจก็ดีไป แต่เมื่อไหร่ที่ลูกเกิดอาการน๊อตหลุดขึ้นมา พ่อแม่จะมีวิธีการรับมือกับทั้งลูกและสังคม ผู้คนรอบข้างอย่างไรบ้างมาดูกันค่ะ
- ถ้าลูกอยู่ในวัยที่เริ่มรู้เรื่องแล้ว ต้องเตรียมความพร้อมสอนเรื่องระเบียบวินัยกันตั้งแต่อยู่ที่บ้าน ก่อนที่จะพาลูกออกไปในที่สาธารณะ การสอนให้เด็กมีระเบียบวินัย สอนให้เด็กเข้าใจได้ง่าย เพราะบางครั้งเด็กยังไม่เข้าใจว่าการเล่นของตนไม่ถูกต้องอย่างไร
คลิก >> 5 วิธีจัดการลูกดื้อซน กระโดด วิ่งเล่นตลอดเวลา
คลิก >> ฝึกวินัยให้ลูกเริ่มได้ตั้งแต่ลูกวัยเตาะแตะ
คลิก >> สร้างวินัย....ด้วยวิธีการเชิงบวก
- ดูความพร้อมของลูกว่าพร้อมที่จะออกไปนอกบ้าน หรือที่สาธารณะหรือไม่ ถ้าพ่อแม่ยังไม่สามารถควบคุมลูกได้ ต้องพยายามพาเด็กออกไปข้างนอกให้น้อย หรือเท่าที่จำเป็น จนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถควบคุมลูกได้
- พ่อแม่ต้องคำนึงถึงสิทธิคนอื่นในที่สาธารณะด้วย เราอาจจะมองว่าเด็กงอแงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ หรือลุกลามจนคนทำให้คนอื่นเดือดร้อน ต้องพาลูกออกไปจากสถานการณ์นั้นให้ลูกสงบก่อน
- เมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่นไม่ใช่เวลาที่จะมาสอนลูกตรงนั้นแล้ว หลายครั้งที่ลูกดื้อ ซน พ่อแม่ก็ยิ่งพยายามสอน พยายามดุลูก เพื่อแสดงให้คนรอบข้างเห็นว่าตัวเองได้ทำหน้าที่แล้ว แต่ลูกไม่ฟังเอง ช่วยไม่ได้ การทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นค่ะ
- เด็กแต่ละคนจะมีวิธีการรับมือที่ได้ผลแตกต่างกันไป ตามลักษณะนิสัย เช่น บางคนหากเข้าไปกอดอาการก็จะสงบลง หรือพยายามเบี่ยงประเด็นให้ลูกสนใจอย่างอื่นจนลืมเรื่องที่อาละวาดไป ถ้าลูกวีนในร้านอาหาร ลองอุ้มพาเขาไปดูปลาหรือกุ้งเป็นๆ ที่ว่ายน้ำอยู่หน้าร้าน เบี่ยงเบนความสนใจ รับรองว่าลูกจะสงบลงได้อย่างรวดเร็ว หรือพ่อแม่บางคนใช้วิธีวางเฉยให้ลูกร้องไปให้พอ โดยพาไปในที่ที่ไม่รบกวนคนอื่น เช่น ลานจอดรถห้าง หรืออุ้มเข้าไปในห้องนอน ร้องเสร็จแล้วค่อยคุยกัน
- ก่อนพาลูกออกไปจากสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ พ่อแม่ควรขอโทษต่อคนรอบข้างที่ได้รับความเดือดร้อนด้วย
- คนส่วนใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็กว่า ดื้อ ซน เป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ต้องการคือความรับผิดชอบ และคำขอโทษจากพ่อแม่เท่านั้นค่ะ หลายครั้งทีคนไม่พอใจคือ การนิ่งเฉย และไม่รับผิดชอบของพ่อแม่นั่นเองค่ะ ดังนั้นเอ่ยคำขอโทษด้วยความจริงใจ เมื่อลูกคุณทำความเดือดร้อนให้คนอื่น นอกจากจะผ่อนคลายให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นแบบอย่างในการสอนให้ลูกอีกด้วยค่ะ
- เมื่ออยู่ในสถานการณ์หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถพาลูกออกไปได้ เช่น บนเครื่องบิน เรามีเทคนิคมาฝากกันค่ะ กับการพาลูกขึ้นเครื่องบินอย่างไร คลิก >>> 7 เทคนิคไม่ให้ลูกงอแงบนเครื่องบิน