Bilingualism = use more than one language in EVERYDAY lives.
หมายถึง ผู้ที่ใช้มากกว่าภาษาเดียวในชีวิตประจำวัน
ก่อนหน้านี้ดิฉันเคยเขียนไว้ว่า ถ้าเด็กเริ่มพูด อย่าเพิ่งสอนอะไรที่ท่องจำ ก็ขอยืนยันคำเดิมค่ะ ไม่ควรท่องนะคะ ขนาดบ้านฝรั่งเขายังไม่สอนท่อง abc เลย เพราะการสอนสองภาษา ไม่มีใครเขาให้เด็กท่องหรอกค่ะ
คราวนี้เลยอยากจะนำเสนอการสร้าง bilingualism ไว้เป็นแนวทาง เผื่อบ้านไหนกำลังทำอยู่/วางแผนจะทำ จะได้มีข้อมูลไว้ค่ะ
# เรียนภาษาที่สอง ยิ่งเร็ว...ยิ่งดี จริงหรือ?- การเรียนรู้ทุกอย่างมี critical period ค่ะ คือช่วงเวลาที่เรียนรู้ทักษะนี้แล้วมันลื่นปรี๊ดๆ สำหรับด้านภาษาจากการศึกษาระบุว่า ช่วงที่เด็กจะไวคือ ”1-5 ปี” ในช่วงแรก และจะมาไวอีก ช่วงที่อายุประมาณ “12 ปี”
- ฉะนั้น ก็เป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่า ทำไมการเรียนสองภาษา ถึงมีแบบ เรียนแต่แรกเกิด กับเรียนในภายหลัง
# แล้วเรียนก่อน-หลังต่างกันไหม?- Simultaneous Bilingualism = เรียนตั้งแต่แรกเกิดเลย โดยที่เด็กมีการ “ใช้สองภาษาเท่าๆกัน” วิธีนี้เป็น ต้นแบบแห่งเลยล่ะค่ะ
- Sequential Bilingualism = ได้เรียนภาษาที่สองหลังจากที่ใช้ภาษาแรกไปคล่องแคล่วแล้ว (หลังอายุ 3 ปี)
- ต่างกันแค่นี้ค่ะ ผลที่ได้ออกมาเมื่อโตแล้ว เด็กก็จะเรียนรู้สองภาษาได้และใช้ได้เหมือนกัน....ถ้าเป็น bilingualism อย่างถูกวิธี (หึหึ)
# ระหว่างช่วงแห่งการเรียนรู้นี้ต้องระวัง-ส่งเสริมอะไรบ้าง?- Silent period = จะมีช่วงหนึ่งที่เด็กเขาเงียบๆ ไม่พูดไม่จา มองๆทำตามได้ นั่นคือช่วงแรกของการเรียนรู้เสียง+ความหมายของภาษาค่ะ
*****bilingualism ยิ่งสอนตอนเด็กเท่าไหร่ ยิ่งเงียบนานเท่านั้น*****
(preschool เงียบเป็นปี ขณะที่เด็กโตจะเงียบเพียง 2-3 สัปดาห์-1 เดือน)
- Code switching = เด็กจะเปลี่ยนภาษาไปๆ มาๆ
*****ถ้าจะสอน สองภาษาอย่างมีคุณภาพ ควรจะเสริมประโยคที่ถูกต้องให้เด็กด้วยค่ะ******
เช่น ไม่ควรจะมาแยกพูด ไทย คำ อังกฤษ คำ “come หา mommy มานี่มา มา play ด้วยกัน” แบบนี้อย่าสอนดีกว่าค่ะ พาน้องไปแถวเมืองท่องเที่ยวบ้านเราก็พูดได้แล้ว เสียเวลามาสอนกันเปล่าๆ ควรจะแก้ไขเป็น “มาหาแม่ มานี่มา come join us/come play with me/ let’s play together” สุดแท้แต่จะเลือกให้เหมาะค่ะ
- Language Loss= ช่วงนี้อาจเกิดขึ้น หากไม่ได้รับการกระตุ้นภาษาใดภาษาหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่า subtractive bilingualism
คิดแล้วน่าเสียดายเวลามากค่ะ อุตส่าห์ปลูกฝังมาตั้งแต่เกิด ถ้าไม่ได้ใช้จริงอย่างสม่ำเสมอก็หมดกัน ข้อนี้แหละค่ะที่ทำให้หลายครอบครัวในไทย ตอนเด็กก็สองภาษา ไปๆมาๆ เหลือภาษาเดียว แถมต้องเสียเวลาเรียนศัพท์ไทยเพิ่มอีก ตรงนี้เตือนคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านด้วยความหวังดี ไม่อยากให้ความตั้งใจของท่านสูญไปค่ะ
- Receptive bilingualism = เด็กกลุ่มนี้ เคยสัมผัสภาษาที่สองมาบ้างค่ะ แต่ไม่เคยได้ใช้ นึกถึงครอบครัวชาวจีนที่มีอากงอาม่าพูดจีนกัน แต่รุ่นถัดลงมา ฟังรู้เรื่อง แต่พูดโต้ตอบเป็นภาษาจีนไม่ได้นั่นแหละค่ะ
# จริงหรือไม่ที่เด็ก bilingualism จะฉลาดกว่า????- เมื่อวัดจากแบบประเมินทักษะทางภาษาแล้ว เด็กพูดภาษาเดียวชนะขาดค่ะ ทั้งด้านคำศัพท์ และการใช้ภาษา
- แต่ๆๆๆ พูดถึงความยากซะเยอะ เดี๋ยวคุณพ่อคุณแม่ถอดใจ ข้อดีของมันก็น่าสนใจนะคะ เพราะงานวิจัยใหม่ๆ ก็มีนำเสนอมาว่า เด็กที่พูดมากกว่า 2 ภาษา จะมีทักษะ executive control ที่ดีกว่า หมายความว่า “กระบวนการคิดแก้ปัญหาดี -> สับเปลี่ยนความสนใจไปโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีกว่า -> นำไปสู่ผลการประสบความสำเร็จทางการเรียนได้ดีกว่า -> และเสริม brain network ช่วยลดอาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้นด้วยค่ะ (ว๊าวววว น่าสนใจเนอะๆๆ)
# ระบบภาษาของภาษาแรกและภาษาที่สองต้องเป็นระบบเดียวกันหรือไม่- ได้หมดค่ะ! แม้ภาษาคนละระบบกัน ก็จับมาเสริมสร้างได้เลย ^^
# แล้วควรสอนอย่างไร?- ต้องสอนผ่านการสื่อสารในกิจกรรมร่วมกัน (social interaction) + สภาพแวดล้อมที่ไม่กดดัน สบายๆ + ต้องมีการใช้ภาษาทั้งสองอย่างสม่ำเสมอ
*****งานวิจัยที่เอาเด็กอเมริกันวัย 10 เดือน มาสอนภาษาจีนโดยวิธีแรกคือ ให้เรียนกับคนเป็นๆ เปรียบเทียบกับการนั่งเรียนผ่านจอ โดยใช้ครูคนเดียวกัน อัดเทปไปสอน ผลคือ “ไม่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นในเด็กที่เรียนผ่านทีวี” ....ดังนั้น พวกสื่อที่คุณพ่อคุณแม่ซื้อมา อาจจะต้องเก็บไว้ดูเอง แล้วค่อยไปสอนลูกนะคะ ^^
บทความโดย : พรินทร์ อัศเรศรังสรร คลินิกกระตุ้นพัฒนาการฝึกพูด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
https://www.facebook.com/childcare.SLP