เคยสังเกตคนท้องไหมคะ ว่าบางคนท้องใหญ่มากจนดูผิดปกติ ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในสาเหตุที่แม่ตั้งครรภ์มีขนาดท้องใหญ่ผิดปกติทั้งที่ท้องลูกคึนเดียว ไม่ใช่ท้องแฝด อาจเกิดจากง "ภาวะน้ำคร่ำมาก" ที่อาจอันตรายต่อทารกในครรภ์และตัวคุณแม่เองด้วยค่ะ
น้ำคร่ำ มีบทบาทสำคัญในการตั้งครรภ์อย่างมาก นั่นคือ น้ำคร่ำจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันทารก และป้องกันสายสะดือไม่ให้ถูกกด น้ำคร่ำทำให้ทารกมีพื้นที่ในการขยับไปมาเพื่อเสริมสร้างระบบกระดูกและกล้ามเนื้อให้เติบโตได้ปกติ นอกจากนี้ การที่ทารกกลืนน้ำคร่ำยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร การที่ทารกหายใจ น้ำคร่ำก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของปอดอีกด้วย
ปกติแม่ท้องจะมีน้ำคร่ำปริมาตร 30 ซีซี ที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ เพิ่มเป็น 200 ซีซี ที่ 16 สัปดาห์ และเพิ่มเป็น 800 ซีซีที่ช่วงอายุครรภ์กลางไตรมาสที่สาม จนถึง 40 สัปดาห์ หลังจากนั้นปริมาณน้ำคร่ำจะค่อย ๆ ลดลง
พบได้ 1-2% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด สาเหตุอาจเกิดได้ดังนี้
แม่ท้องที่มีภาวะน้ำคร่ำมาก มักมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ขาบวม บางรายที่มีอาการรุนแรง จะมีปัสสาวะออกน้อย อาจมีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรืออาจเกิดถุงนำคร่ำแตกก่อนกำหนด เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ตกเลือดหลังคลอด
เนื่องจากภาวะน้ำคร่ำมากมีลายสาเหตุ การรักษาจึงต้องรักษาตามแล้วแต่สาเหตุ หากมีภาวะน้ำคร่ำมากโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถสังเกตอาการต่อไปได้ แต่หากน้ำคร่ำมาก ทำให้มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือมารดามีภาวะหายใจลำบาก อาจต้องมีการเจาะระบายน้ำคร่ำออก เพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำค่ะ
บทความโดย: ผศ. พญ. ปัทมา พรหมสนธิ