ไวัรสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 โควิด-19 (COVID-19) เป็นไวรัสตัวที่ 7 ของตระกูลโคโรน่าไวรัส สามารถติดเชื้อสู่คนได้เช่นเดียวกับไวรัสตัวอื่นในตระกูลนี้ เช่น เมอร์ส (MERS) และซาร์ส (SARS) ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้แล้ว
New England Journal of Medicine ได้ตีพิมพ์สรุปภาพรวมเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2020 บอกว่า
- ผู้ป่วยจำนวน 1,099 ราย อายุเฉลี่ยประมาณ 47 ปี แต่คนทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็กเล็กไปจนสูงอายุมีโอกาสติดเชื้อได้
- ผู้ป่วยเป็นเพศหญิงประมาณ 40% (หมายความว่าผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า)
- มีผู้ป่วยถึง 1 ใน 4 (หรือประะมาณ 26%) ที่ไม่มีประวัติเสี่ยง ทั้งการเดินทางไปต่างประเทศหรือติดต่อกับคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยง
- มีคนเพียง 2% ที่มีประวัติสัมผัสสัตว์ป่า
- ระยะฟักตัวของโรคเฉลี่ย 4 วัน
- อาการไข้ตรวจเจอแค่ 44% ในช่วงแรก แต่ระหว่างการดูแลรักษาจะเจอ 89%
- ผู้ป่วยจะมีอาการไอถึง 68% แต่ผล CT scan จะพบความผิดปกติในปอดของผู้ป่วยถึง 86%
- คนที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว (เช่น ความดันโลหิตสูง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง) จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อ COVID-19 แล้วเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนไม่มีโรคประจำตัว 2 เท่า
- ถ้าตรวจเลือด ผู้ป่วย 83% จะมีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ต่ำกว่าปกติ
- กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณหนึ่งในสาม (32%)
- ยังไม่มีวิธีรักษามาตรฐาน
- รักษาตามอาการ นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 12 วัน
ส่วนการติดเชื้อ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าลักษณะการแพร่เชื้อไวรัสนี้ เหมือนกับไวรัสอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ นั่นคือ ผ่านการไอ จาม มีฝอยละอองของน้ำมูกหรือเสมหะที่มีไวรัสอยู่ รวมถึงการที่ไวรัสปนเปื้อนกับมือและสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อคนอื่นมาสัมผัสก็มีโอกาสที่ไวรัสติดไปได้ แม้จะมีรายงานว่าพบไวรัสในอุจจาระ แต่การติดเชื้อก็จะมีโอกาสน้อยกว่า เพราะต้องเป็นสถานการณ์ที่มีการกระเด็นของน้ำอุจจาระและมีการสูดดมเข้าสู่ทางเดินหายใจ
วิธีป้องกันไวรัส COVID-19
1. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ หลักง่ายๆ ในการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาด
3. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือแอลกอฮอล์เจลเป็นประจำ (อย่างน้อย 60 % แอลกอฮอล์) อย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังไอ จาม, ก่อนสัมผัสบริเวณใบหน้า, หลังเข้าห้องน้า, ก่อนรับประทานอาหาร
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเยื่อบุบริเวณใบหน้า (ตา จมูก ปาก) ด้วยมือที่ไม่ได้ล้าง
5. ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
6. ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อมีการเจ็บป่วย องค์การอนามัยโลกและ CDC ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้แนะนาให้ผู้ที่สุขภาพแข็งแรงใส่หน้ากากอนามัยในสถานการณ์ทั่วไป แต่แนะนำเฉพาะเมื่อต้องเป็นผู้ดูแลผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ส่วนประเทศไทย แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีที่มีโอกาสสัมผัสผู้ที่มีเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ เช่น ในโรงพยาบาล สนามบิน คนขับรถ เป็นต้น
ที่มา : รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์, ดร.พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล
ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, hfocus.org