ตาเหล่ เป็นภาวะหรือโรคที่พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก แต่ก็อาจพบในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยตาดำข้างใดข้างหนึ่งจะมีการเหล่เข้าด้านในทางหัวตาเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจพบได้บ้างที่ตาเหล่ออกด้านนอกทางหางตา ตาแหล่ขึ้นด้านบน หรือตาเหล่ลงด้านล่าง
สาเหตุของตาเหล่
การรักษาตาเหล่ในเด็กเล็ก
หากพบว่าลูกตาแหล่ตั้งแต่เด็ก ๆ การผ่าในช่วงอายุน้อย จะมีผลที่ดีมากกว่าตอนโต ในส่วนของการผ่าตัดมักจะทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมลูกตาคลายตัวลง แต่ในบางรายผู้ปกครองอาจทำใจว่า เด็กอาจต้องได้รับการผ่าตัดหลายครั้งเพราะผลการผ่าตัดอาจออกมาได้ทั้งแก้ไขมากเกินไป หรือแก้ไขน้อยเกินไป ซึ่งเวลาที่เด็กโตขึ้น ก็อาจมีตาเหล่ออกนอกหรือเหล่เข้าในตามมาได้อีก
โรคเลซี่อายหรือว่าโรคตาขี้เกียจ
เกิดจากสายตาข้างหนึ่งแข็งแรงกว่าอีกข้างหนึ่งมาก ทำให้สมองใช้แต่สายตาข้างที่แข็งแรง ละเลยข้างที่อ่อนแอไป จนข้างที่อ่อนแอถึงขั้นตาบอด ผู้ที่เป็นโรคนี้เมื่อเลยวัยเด็กแล้วจะรักษาไม่หาย แต่ถ้าทราบทันท่วงทีก่อนถึงอายุ 9 ขวบ ก็มีทางรักษาได้ทัน ด้วยการนำแผ่นผ้าไปปิดดวงตาข้างที่แข็งแรง เพื่อให้ข้างที่อ่อนแอมีโอกาสใช้สายตา เป็นการกระตุ้นการทำงาน
สาเหตุของของโรคตาขี้เกียจ
โรคตาขี้เกียจนั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาจากความผิดปกติอื่น ๆ ของดวงตา และจะไม่สามารถตรวจพบได้นอกจากผู้ป่วยจะเป็นคนบอกเล่าอาการ จะสามารถสรุปออกได้ 3 สาเหตุดังนี้
1.โรคตาเหล่
เป็นสาเหตุของตาขี้เกียจที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะดวงตาที่มีอาการเหล่นั้นจะมีการมองเห็นไม่ดีเท่ากับดวงตาที่ปกติ และทำให้ผู้ป่วยต้องเลือกมองด้วยตาเพียงข้างเดียวเพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อน และทำให้ตาอีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้ใช้งานเกิดการมองเห็นที่น้อยลงและมองไม่ชัดในที่สุด ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก
2.ภาวะสายตาทั้งสองข้างสั้น-ยาว หรือเอียงไม่เท่ากัน
ในกรณีที่สายตาทั้งสองข้างเกิดความผิดปกติอย่างเช่น สั้น-ยาว หรือเอียงไม่เท่ากันก็สามารถทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจได้ โดยสาเหตุนี้เป็นสาเหตุของโรคตาขี้เกียจที่พบได้รองจากอาการตาเหล่ ยิ่งถ้าหากค่าสายตาทั้งสองข้างห่างกันมาก ก็จะยิ่งทำให้อาการตาขี้เกียจพัฒนาเพิ่มขึ้น อาการนี้หากรีบรักษาด้วยการสวมแว่นตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ ก็จะช่วยให้อาการตาขี้เกียจไม่รุนแรงมากนัก
3.ความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดจากการมีสิ่งมาบดบังดวงตา
เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้น้อย แต่ก็มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด เพราะสาเหตุนี้อาจเกิดจากภาวะต้อกระจก และภาวะหนังตาตกมาบดบังตาดำตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีสภาพการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน และมีทัศนวิสัยที่แย่ลง
วิธีรักษาอาการตาขี้เกียจ
สวมแว่น หรือใส่คอนแทคเลนส์ วิธีนี้เป็นวิธีช่วยให้ตาที่มีความผิดปกตินั้นได้รับการกระตุ้นการมองเห็น และยังช่วยให้ตาข้างที่มีอาการขี้เกียจนั้นถูกกระตุ้นให้ถูกใช้งานมากขึ้นอีกด้วย
ผ่าตัดในรายที่มีความผิดปกติเนื่องจากมีสิ่งมาบดบังตาดำนั้น เช่น ต้อกระจก หรือหนังตาตกนั้น การผ่าตัดถือเป็นวิธีที่รักษาได้ผลดีที่สุด เพราะจะช่วยให้ทัศนวิสัยชัดเจนมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการกระตุ้นการใช้ดวงตาข้างที่มีอาการตาขี้เกียจร่วมด้วย เพื่อให้สามารถใช้สายตาได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
กระตุ้นการใช้งานข้างที่มีอาการตาขี้เกียจด้วยตนเอง เป็นวิธีที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยวิธีการกระตุ้นการใช้งานดวงตานั้นก็มีตั้งแต่การปิดตาข้างที่ดี และใช้เพียงข้างที่มีอาการตาขี้เกียจ หรือในกลุ่มผู้ป่วยเด็กก็อาจจะใช้ยาหยอดตาที่ทำให้ตาข้างที่ดีมัวลงชั่วคราว จะทำให้เด็กใช้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจมากขึ้น หรือหากโตขึ้นมาหน่อย ก็สามารถใช้วิธีการบริหารดวงตาด้วยการใช้มือปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองด้วยตาอีกข้างเป็นประจำ ก็ช่วยได้เช่นกัน
สรุปคือสาเหตุของของโรคตาขี้เกียจหลักๆ ก็มาจากสายตาผิดปกติหรือตาเหล่นั้นเอง หลังจากอ่านบทความจบคุณแม่ๆ อย่าลืมสังเกตสายตาคู่น้อยๆ ของเจ้าตัวเล็กนะคะ เพราะยิ่งรู้เร็วเท่าไร ก็ช่วยลูกจากตาเหล่ได้เร็วเท่านั้น