สถานการณ์ปัจจุบันทำให้เด็กเครียดเยอะมาก เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า พ่อแม่ต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิด จะได้ป้องกันปัญหาและรักษาลูกได้ทัน
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามาก่อน เด็ก ๆ เองเมื่อมีปัญหาเรื่องการเรียน การบ้านเยอะ การโดนกลั่นแกล้ง ความเหลื่อมล้ำในสังคมเด็ก ก็อาจนำไปสู่ความกดดันและเมื่อหาทางออกไม่ได้ก็จะเสี่ยงกับโรคซึมเศร้า
ความพอใจในตัวเองมีต่ำ คือ การรู้สึกไม่ดีกับตัวเองไม่ค่อยภูมิใจในตนเอง ขาดความเชื่อมั่นไม่เห็นคุณค่าในตนเอง คนแบบนี้จะอ่อนไหวง่ายต่อคำวิพากย์วิจารณ์มักจะทนไม่ค่อยได้ การแสดงออกทางอารมณ์ เช่น เศร้า เสียใจ สะเทือนใจง่าย
ภาวะกดดัน หรือมีภาวะความเครียดสาเหตุเป็นปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน เช่นแรงดดันจากครอบครัวที่อยากจะประสบความสำเร็จหรือเป็นความหวังของครอบครัว เด็กบางคนสามารถรับมือกับภาวะความกดดันได้แต่เด็กบางคนสามารถรับมือกับภาวะความกดดันได้ แต่เด็กบางคนอาจไม่สามารถรับมือได้ จนกลายเป็นความกังวล ความสิ้นหวัง ความรู้สึกผิด
เด็กจำนวนมากเรียนไม่เก่ง ถูกพ่อแม่สั่งทำอะไรต่าง ๆ นานาแล้วบอกว่าเพื่ออนาคตลูกแต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเหมือนการทำร้ายลูกในทางอ้อม เราลองหันมามองลูกด้วยสายตาของพ่อแม่ผู้ปกครองที่เข้าใจและยอมรับในตัวเด็กกันดีกว่าค่ะ
1. ต้องประเมินศักยภาพของเด็กด้วยสายตาที่เป็นจริง ไม่ใช่สายตาที่พ่อแม่อยากให้เป็น อย่าพยายามเปลี่ยนตัวตนหรือกดดันลูก ด้วยการพยายามให้ลูกเรียนพิเศษเพื่อที่จะได้เรียนเก่งเหมือนคนอื่น
2. ส่งเสริมให้ลูกเรียนหนังสืออย่างมีความสุข รับผิดชอบตัวเองและความมั่นใจกับลูกไม่ว่าผลการเรียนออกมาจะเป็นยังไง ถ้าเด็กทำเต็มที่แล้วแม่ก็ต้องภูมิใจในตัวลูก
3. ลดความคาดหวังและเพิ่มกำลังใจ ถ้าลูกเรียนเก่งอยู่แล้ว ก็มักจะเป็นที่คาดหวังของพ่อแม่อยากจะให้เรียนดี ๆ ได้เกรดดี ๆ ถ้าเด็กเรียนไม่ดีแม่ก็ควรที่จะลดความคาดหวังลงขอให้เด็กเรียนจบและไม่สอบตกก็พอ
4. ค้นหาศักยภาพในตัวลูก อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น ถ้าพ่อแม่ลองสังเกตและส่งเสริมทางด้านอื่น ๆ ลูกอาจจะประสบความสำเร็จในด้านที่เขาถนัดก็ได้
กรมสุขภาพจิตแนะนำวิธีสังเกตอาการเด็กที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ดังนี้
โกรธหรือฉุนเฉียวง่าย
เก็บตัวและแยกตัวออกจากทุกคน ไม่เว้นแต่พ่อแม่
ไม่หลับไม่นอนหรือนอนมากจนผิดปกติ
กินมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างผิดปกติ
ไม่สนใจการเรียนจนการเรียนตกต่ำหรือการไม่ทำกิจกรรมใดๆ
อ่อนแอ ไม่มีเรี่ยวแรงกำลัง
อ่อนไหว ร้องไห้ง่ายๆ
บ่นถึงความเจ็บป่วยซึ่งอาจไม่ได้มีความเจ็บป่วยจริง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง
รู้สึกว่าตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดตลอดเวลา
ทำร้ายร่างกายตนเอง เช่น ดึงผม ทุบตีตัวเอง หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย
วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากอาการของโรคซึมเศร้าในแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันไป การไปพบแพทย์จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคนนั้น ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องรักษาโดยการใช้ยาและการไปพบแพทย์จะทำให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวระหว่างรับการรักษาด้วย
เพื่อจะได้รู้ว่าความซึมเศร้านั้นเกิดจากปัจจัยอะไร โดยนอกจากพ่อแม่จะใช้วิธีการสังเกตจากพฤติกรรมของเด็กเองแล้ว การพูดคุยกับตัวเด็กเองหรือพูดคุยกับคนที่รู้จักเด็ก อาจทำให้รู้ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นกับเด็กบ้าง เช่น สอบถามจากคุณครูถึงการใช้ชีวิตที่โรงเรียนของเด็กว่าในแต่ละวันเป็นเช่นไร มีเพื่อนเล่นด้วยหรือไม่ ถูกรังแกหรือไม่ สนใจในการเรียนหรือไม่
อย่างเช่นการหากิจกรรมที่จะช่วยให้เด็กๆผ่อนคลายให้ทำ เช่น ชวนเล่นเกม ชวนเล่นดนตรี หรือการจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กให้สดชื่น เช่น จัดห้องนอนให้สะอาดโล่งโปร่งสบาย ปลูกดอกไม้บริเวณบ้านเพื่อให้รู้สึกสดใส
ด้วยการรับฟังความรู้สึกของเด็กอย่างตั้งใจ พูดให้กำลังใจโดยไม่ตัดสิน รวมถึงการแสดงออกด้วยท่าทีที่อบอุ่นห่วงใย เช่น โอบกอด ลูบหัว
โดยการจัดหาให้เด็ก ๆ ได้กินอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางสารอาหารอย่างครบถ้วน ให้ได้รับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและเหมาะสม
นอกจากการดูแลช่วยเหลือเด็กๆที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วยวิธีการต่างๆแล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจอีกอย่างคือ การรักษาโรคซึมเศร้าต้องใช้เวลา ดังนั้น พ่อแม่จึงไม่ควรรีบร้อนหรือเร่งรัด แต่จำต้องใช้ความอดทนทั้งกายและใจ เพื่อจะช่วยให้เด็ก ๆ กลับมามีโลกที่สดใสอีกครั้งหนึ่ง