ภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะการตั้งครรภ์ แต่โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาครึ่งหลังของการท้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้
อาการของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มักเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ในบางรายอาจเผชิญภาวะนี้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ แต่มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ส่วนใหญ่แพทย์จะตรวจพบได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
แต่คุณตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปากแห้ง และรู้สึกเหนื่อยหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งบางอาการค่อนข้างคล้ายคลึงกับอาการของคนท้อง ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยหรือกังวลควรปรึกษาแพทย์
สาเหตุของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
จากความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ที่เกิดจากฮอร์โมนที่รกผลิตออกมา มีผลต่อประสิทธิภาพของอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ซึ่งปกติแล้วตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมา แต่ในกรณีนี้ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของเบาหวานขณพตั้งครรภ์
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 ขึ้นไปเคยคลอดทารกน้ำหนักมาก คุณแม่ที่เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
- เชื้อชาติ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักพบในชาวเอเชีย ลาตินอเมริกัน แอฟริกัน และอเมริกันอินเดียน
- ประวัติสุขภาพ ผู้ที่เคยป่วยหรือมีญาติใกล้ชิดป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 รวมทั้งเคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อนจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
ปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของเบาหวานขณพตั้งครรภ์
แม้ไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป อย่างไรก็ตาม แนวทางต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อนตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ โดยเลือกวิธีออกกำลังกายที่ใช้แรงระดับปานกลาง เช่น เดิน ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก่อนเตรียมตัวตั้งครรภ์ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น ยาเพรดนิโซน
ข้อมูลโดย : ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อกรุงเทพ
บทความโดย : ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ