รู้ไหมคะ ว่ายิ่งผู้หญิงอายุมากขึ้น โอกาสในการตั้งครรภ์จะต่ำลง โดยทั่วไปการตั้งครรภ์จะยากขึ้นเมื่อ อายุ 35 ปีขึ้นไป
อยากมีลูกต้องรู้ ! ไข่ของผู้หญิงมีจำกัด ยิ่งอายุมากขึ้นจำนวนไข่ก็ลดลงแถมไข่แก่อีกด้วย
รู้ไหมคะ ว่ายิ่งผู้หญิงอายุมากขึ้น โอกาสในการตั้งครรภ์จะต่ำลง โดยทั่วไปการตั้งครรภ์จะยากขึ้นเมื่อ อายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากผู้หญิงเกิดมาพร้อมกับจำนวนไข่ในรังไข่ที่มีจำกัด และเซลล์ไข่จะค้างการแบ่งตัวอยู่ที่ระยะไมโอซิส I (Meiosis I) จนกระทั่งตกไข่จึงจะมีการแบ่งตัวต่อจนสมบูรณ์
นอกจากนั้น ไข่บางส่วนจะฝ่อสลายไปตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะเหลือไข่ที่มีความสมบูรณ์จำนวนน้อยลง และมีโอกาสที่การแบ่งตัวต่อของเซลล์ไข่มีความผิดพลาดได้ และเกิดเป็นเซลล์ไข่ที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากและภาวะแท้ง รวมถึงหากตั้งครรภ์ต่อไปก็อาจมีตัวอ่อนที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เหล่านี้รวมเรียกว่าเป็นการแก่ตัวของไข่ (ovarian aging) และการลดลงของไข่ที่สะสม (ovarian reserve)
เมื่ออายุมากขึ้นความสามาถในการมีลูกก็ลดลง จำนวนไข่ก็ลดลง
-
อัตราการฝังตัวอ่อนจะลดลงเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไปประจำเดือนก็มีการเปลี่ยนแปลง
-
อายุมากขึ้นก็จะเสี่ยงกับการแท้งมากขึ้น มารดาอายุมากขึ้นจะมีความผิดปกติด้านโครโมโซมของไข่ และการขาดหายไปของไมโตคอนเดรีย
-
มีปัจจัยบางอย่างและสาเหตุที่ทำให้การทำงานของรังไข่ลดลง เช่นการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียด โรคทาง autoimmune การใช้ยาต้านซึมเศร้า การอักเสบที่อุ้งเชิงกราน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่
-
เนื้องอกในมดลูกและติ่งเนื้อในโพรงมดลูกพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
-
เมื่ออายุมากขึ้นจำนวนไข่ก็จะลดลง มีการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และ inhibin b มีการเพิ่มขึ้นของ fsh
ฮอร์โมนที่ทดสอบเกี่ยวกับการทำงานของรังไข่
- ฮอร์โมน fsh ( follicle stimulating hormone ) ถ้าระดับฮอร์โมนสูง แสดงว่ารังไข่ทำงานได้ไม่ดี ถ้าระดับ FSH
-
ระดับ estradiol ระดับ ค่าที่น้อยกว่า 80 pg/mL. ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือนจะเป็นผลดี
-
Anti-mullerian hormone (AMH) anti-Mullerian hormone (AMH) เป็นglycoprotein dimer ผลิตโดย granulosa cells ของไข่ ถ้าค่าเกิน 1 ก็จะดี ถ้าค่าต่ำกว่า 1 ng/ml จะมีการลดลงของการทำงานของรังไข่ ค่าต่ำคือ < 0.2–0.7 ng/mL คือรังไข่จะตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ได้น้อยลง ถ้าค่า AMH สูง > 6.7 ng/mL จะสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำรังไข่มาก
อาการแสดงถึงรังไข่เริ่มจะเสื่อม
- ประจำเดือนเริ่มไม่สม่ำเสมอจากการลดลงของจำนวนไข่
- มีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน fsh fsh เป็นฮอร์โมนที่ทำนายเรื่องรังไข่เสื่อม มีการลดลงของ estradiol และ inhibin
- เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการลดลงของ AMH จำนวนไข่ก็จะลดลง
- Inhibin b ผลิตมาจากรังไข่ จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
ปัจจัยที่มีผลกับการทำงานของรังไข่
- ปัจจัยด้านพันธุกรรม มีการเปลี่ยนแปลงของยีนบางตัวในหญิงที่หมดประจำเดือนก่อนวัย
- ความผิดปกติของโครโมโซมมากขึ้นเมื่อมารดาอายุมากขึ้น (aneuploidy) ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม (Chromosome abnormality) ความเสี่ยงของการเกิดจำนวนโครโมโซมผิดปกติ (aneuploidy) เพิ่มขึ้นตามอายุของสตรีตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น
ความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดคือ autosomal trisomy สาเหตุเกิดจากการที่เซลล์ไข่แบ่งตัวค้างอยู่ในระยะ metaphase I ขณะอยู่ในครรภ์ ซึ่งในระยะดังกล่าว โครโมโซมจะถูกเรียงอยู่ตรงกลางเซลล์ และเมื่อมีการตกไข่ จะเกิดการแบ่งตัวต่อ โดยมีการแยกขาของโครโมโซมออกจากกันอายุที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ แบบที่เรียกว่า non-disjunction นั่นคือ ขาของโครโมโซมไม่แยกกัน ทำให้เซลล์ที่แบ่งตัวเสร็จสิ้น มีจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการสะสมสารอนุมูลอิสระ การลดลงของจำนวนเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพ และการสั้นลงของเทโลเมียร์ (telomere) ของเซลล์ไข่ด้วย
- ดีเอนเอ มีการแตกทำลายและมีความเสียหายมากขึ้น อายุมากขึ้นพบกับสารอนุมูลอิสระมากขึ้น มีบุตรยากขึ้น
- โรคออโต้อิมมูน โรค sle โรค thyroid
ผลต่อคุณแม่ในการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้น
- ความผิดปกติของรก (Placental problems)
- ความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตามอายุของคุณแม่ตั้งครรภ์ อัตราการเกิดโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ (overt DM) และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational DM) เพิ่มขึ้น 3-6 เท่าในคุณแม่อายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับคุณแม่อายุน้อย ซึ่งการมีโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ จะสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติทางกายภาพของทารกในครรภ์ อัตราการทุพลภาพและอัตราตายปริกำเนิดเพิ่มขึ้น
- แม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์ สูงกว่าผู้หญิงอายุ 30-34 ปี 2-4 เท่า และอัตราการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 40 ปี และเพิ่มขึ้น 10 เท่าในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 50 ปี
- ภาวะทุพพลภาพของคุณแม่และภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม โรคทางอายุรกรรมที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในการตั้งครรภ์ ที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งมีความชุกสูงขึ้นในผู้หญิงอายุมาก โดยเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักตัวมากและสูบบุหรี่
- ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption) มีความชุกเพิ่มขึ้นในคุณแม่อายุมากและเคยตั้งครรภ์หลายครั้ง
- ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa) ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก แต่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
- การคลอดและการผ่าตัดคลอด (Labor & cesarean section) คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะคลอดติดขัด (labor dystocia) ซึ่งเกิดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวผิดปกติ (uterine dysfunction) ทำให้คุณแม่กลุ่มนี้มักลงเอยด้วยการผ่าตัดคลอด สาเหตุของการผ่าตัดคลอด ได้แก่ การมีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมของสตรีอายุมาก การชักนำการคลอดไม่สำเร็จ ทารกไม่อยู่ในท่าหัว ความต้องการของมารดา และการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษา
- Perinatal morbidity สตรีตั้งครรภ์อายุมาก มีความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักน้อยเพิ่มขึ้น
- Fetal death สตรีตั้งครรภ์อายุมาก เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดทารกเสียชีวิตในครรภ์อย่างมีนัยสำคัญ สตรีตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เพิ่ม ความเสี่ยงของการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์มากกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุน้อยร้อยละ 65 โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
- Neonatal death แม้สตรีตั้งครรภ์อายุมากจะมีความเสี่ยงของการเกิดทารกเสียชีวิตในครรภ์ แต่อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดนั้นต่ำลงแปรผกผันกับอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น โดยจากการเก็บข้อมูลในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดหลายการศึกษา พบว่า อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดลดลงเมื่ออายุมารดาเพิ่มขึ้น
- Maternal mortality สตรีตั้งครรภ์อายุมากมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์สูงขึ้น ในประเทศกำลังพัฒนาจะมีความเสี่ยงสูงกว่า เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตของสตรีตั้งครรภ์สูงอยู่แล้ว โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเข้าถึงการดูแลรักษาระหว่างตั้งครรภ์และระหว่างคลอดไม่เพียงพอ การที่สตรีตั้งครรภ์มีอายุมากและตั้งครรภ์หลายครั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมที่สำคัญ
แนวทางการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก
การดูแลขณะตั้งครรภ์ไตรมาส 1 และ 2
- คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับทราบความเสี่ยงของการเกิดทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม (aneuploidy) ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับคำแนะนำในการค้นหาความผิดปกติดังกล่าว ซึ่งมี 2 วิธี
- Invasive methods ได้แก่การเจาะน้ำคร่ำหรือการเจาะชิ้นเนื้อรก ซึ่งเป็นการวินิจฉัย
- Non-invasive methods ได้แก่การเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมน หรือการตรวจหาเซลล์ จากทารก (Cell-free fetal DNA) ร่วมกับการอัลตราซาวด์ดูอวัยวะสำคัญในร่างกายของทารกอย่างละเอียด ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจคัดกรอง หากพบความผิดปกติ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยต่อไป
- ในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก แนะนำให้ทำ Non-invasive prenatal testing โดยใช้วิธีการเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาเซลล์ทารก (Cell-free fetal DNA) เนื่องจากมีความไวสูงและมีผลบวกลวงต่ำเมื่อเทียบกับวิธีอื่น และมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์
- คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างละเอียดในช่วงไตรมาส 2 เพื่อค้นหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญของทารก โดยเฉพาะหัวใจ
- คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก โดยเฉพาะในรายที่มีน้ำหนักเกิน ควรได้รับการตรวจคัดกรองหาภาวะเบาหวาน(ก่อนการตั้งครรภ์หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์) ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ ควรให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว และเฝ้าระวังการเกิดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงตลอดการตั้งครรภ์
การดูแลขณะตั้งครรภ์ไตรมาส 3
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 38-39 สัปดาห์เพื่อประเมินปริมาณน้ำคร่ำ และควรทำ antepartum testing สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยทำสลับกันระหว่าง nonstress test และ biophysical profile (BPP) ร่วมกับการนับลูกดิ้น เน้นความสำคัญของการนับลูกดิ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
บทความโดย
แพทย์หญิง วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์