สิ่งแรกที่ลูกมองและยึดเอาเป็นแบบอย่าง คือพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ หากคุณพ่อคุณแม่แสดงออกด้านอารมณ์และการควบคุมความรู้สึกของตัวเองได้อย่างเหมาะสม เช่น การกล่าวขอโทษเมื่อทำผิด การให้อภัยเมื่อถูกทำร้าย ลูกก็จดจำและเรียนรู้เรื่องการแสดงความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก เช่น ทะเลาะกันเสียงดัง แสดงสีหน้าโกรธ ลูกก็จดจำและเลียนแบบพฤติกรรมนั้นเช่นกัน รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
การสอนให้ลูกเข้าใจเรื่องนามธรรมนั้นเป็นเรื่องยาก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกเห็นได้ แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่สนใจความรู้สึกของคนรอบข้างมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะกับความรู้สึกของลูก พร้อมกับใช้วิธีเล่นบทบาทสมมติ เช่น มีตัวละคร 2 ตัว พี่ช้างกับพี่ม้า ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งพี่ช้างมีของเล่นชิ้นใหม่ที่คุณแม่ซื้อให้เป็นของขวัญวันเกิด คุณแม่ก็ถามลูกว่า “ถ้าหนูเป็นพี่ช้างหนูรู้สึกยังไง” พอพี่ม้าเห็นของเล่นชิ้นใหม่ของพี่ช้างก็อยากเล่น แต่พี่ช้างไม่ยอมให้เล่น คุณแม่ก็ถามลูกว่า “ถ้าหนูเป็นพี่ม้าหนูรู้สึกยังไง” เป็นต้น
ผู้ให้ย่อมเป็นผู้ที่ถูกรัก การให้เป็นการส่งความสุข ไม่จำเป็นต้องให้เป็นทรัพย์สินหรือสิ่งของ เพียงแค่เรามีความรู้สึกปรารถนาดีต่อผู้อื่นก็จะช่วยให้สังคมน่าอยู่ เช่น “วันนี้คุณแม่ทำขนมให้หนู เรามาแบ่งให้คุณพ่อ กับคุณปูกันนะ”
การอดทนต่อสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น อดทนไม่กินขนมก่อนกินข้าว และต่อแถวรอคิวเมื่อพาไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า ล้วนเป็นวิธีปลูกฝังให้ลูกรู้จักระงับความรู้สึกของตัวเอง แต่ควรเปิดช่องทางให้ลูกได้ระบายความรู้สึกอย่างปลอดภัยด้วย เช่น เมื่อลูกหงุดหงิดก็ให้เขาวาดภาพระบายความรู้สึกลงบนกระดาษ เป็นต้น
ต้องสอนให้ลูกรู้จักมารยาทไทยที่ดีงาม การขอบคุณเมื่อมีผู้อื่นหยิบยื่นไมตรีให้เราเป็นเรื่องที่พึงกระทำ และการขอโทษกับสิ่งที่เราทำผิดพลาดไม่ใช่เรื่องน่าอาย คุณแม่ควรพูดขอบคุณลูกที่ช่วยทำงานบ้าน และควรกล่าวขอโทษเมื่อทำผิดต่อลูก เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ทุกอย่างย่อมมีคุณค่าในตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อของเล่นให้ลูกมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่มี ในวันหยุดคุณพ่ออาจจะชวนลูกรดน้ำต้นไม้รอบบ้าน แล้วอธิบายความสำคัญของต้นไม้ให้ลูกฟัง “ต้นไม้ต้นนี้ช่วยกันแดด ให้ร่มเงาทำให้หนูไม่ร้อน หนูต้องช่วยคุณพ่อดูแลต้นไม้นะครับ” เป็นต้น พื้นฐานจากการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่จะส่งผลต่อลูกน้อยโดยตรง การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรให้ลูกตั้งแต่เด็ก ๆ และตอบสนองความต้องการของลูกอย่างเหมาะสม จะทำให้เขาเติบโตเป็นเด็กที่มองโลกในแง่ดี มีการยับยั้งชั่งใจ รู้จักคิดไตร่ตรอง (Inhibit Control) และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ค่ะ
นอกจากสอนให้ลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองด้วย 5 วิธีนี้แล้ว ยังมีตัวช่วยดี ๆ เป็นชุดนิทานเสริมให้กับคุณลูกด้วยนะคะ เพื่อให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองผ่านการอ่านและดูรูปภาพจากหนังสือนิทานได้อีกด้วยค่ะ
Line@ : @raklukeselect