โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกก็เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังไว้ เพราะมีความรุนแรงและส่งผลต่อสุขภาพของลูกได้อย่างคาดไม่ถึงเลยล่ะค่ะ
โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก หรืออีกชื่อคือโรคเมตาบอลิกดิสออร์เดอร์ Inherited metabolic disorders หรือ Inborn errors of metabolism (IBEM) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถูกถ่ายทอดมาในลักษณะของยีนด้อยหรือยีนแฝงที่ได้รับจากพ่อแม่ และพ่อแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองมียีนชนิดนี้ ซึ่งกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกนี้มีอยู่เป็นร้อยโรคเลยทีเดียว
โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกมักจะเกิดจากการแต่งงานกันในเครือญาติหรือ คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีสายพันธุ์หรือเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวอาหรับ ชาวยิว หรือชาวจีนในชนบท ส่วนในประเทศไทยมักจะพบตามต่างจังหวัด ที่มีการแต่งงานในหมู่บ้านเดียวกัน หรือในอดีตเคยมีความเกี่ยวดองเป็นญาติกัน
โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกเกิดจากยีนที่ควบคุมเอนไซม์ในการย่อยสารอาหาร ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ จึงส่งผลให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอาหารผิดปกติไป เช่น เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายโปรตีนบางอย่างในกรดอะมิโนผิดปกติ ส่งผลให้กรดอะมิโนไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทำให้เด็กๆ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่เพียงพอ
จะมีอยู่ 2 กลุ่มอาการหลักๆ ด้วยกัน คือ
คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ หากพบว่าลูกมีอาการเหล่านี้ ไม่ควรวางใจและต้องพาไปพบคุณหมอทันที
เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรม จึงทำให้โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้
โดยคุณหมอจะรักษาและวินิจฉัยไปตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนว่าเอนไซม์ในแต่ละชนิดมีความผิดปกติมากน้อย แค่ไหน ถ้าเป็นมากก็จะส่งผลให้เกิดอาการเร็วและรุนแรง ถ้าหากเป็นไม่มาก อาการก็จะเกิดช้า แต่บางโรคก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ โดยการให้สารชดเชยหรือสารที่เด็กขาด เพื่อเสริมการทำงานในร่างกาย เช่น หากตรวจพบว่าขาดวิตามินบี 1 คุณหมอก็จะเสริมวิตามินบี 1 ให้ เป็นต้น
ส่วนในกลุ่มที่มีการย่อยสลายสารอาหารบางอย่างผิดปกติ คุณหมอก็จะให้งดสารอาหารนั้น เช่น เด็กบางคนย่อยสลายโปรตีนได้ไม่ดี ก็จะไม่ให้กินโปรตีนมาก เป็นต้น
แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กดีขึ้น สามารถเจริญเติบโตและมีสติปัญญาที่ดีได้ตามปกติ
เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์
พญ.ยอดพร หิรัญรัศ
กุมารแพทย์ผู้โรคระบบต่อมไร้ท่อและเบาหวาน
โรงพยาบาลรามคำแหง