การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตแม่ท้อง ไม่ว่าคุณแม่จะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมากน้อยเพียงใดก็ตาม ดังนั้นอ ก่อนตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวหรือไม่แน่ใจว่าตัวเองมีโรคภัยไข้เจ็บอยู่หรือไม่ ต้องตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ทั้งคุณแม่และคุณพ่อ นี่คือ 9 โรคอันตรายสำหรับแม่ท้อง ที่จำเป็นต้องตรวจก่อนตั้งครรภ์
ไม่ว่าจะเป็นแต่กำเนิดหรือเพิ่งเป็นภายหลัง ล้วนแล้วแต่เสี่ยงอันตรายทั้งนั้น เพียงแต่ว่าความเสี่ยงอาจจะไม่เท่ากัน คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจที่มีลิ้นหัวใจรั่ว ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจที่มีความดันโลหิตในหลอดเลือดของปอดสูงด้วย กรณีนี้ถ้าปล่อยให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป แม่อาจจะเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวได้ เพราะเมื่อมีการตั้งครรภ์ปริมาณเลือดในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มขึ้น หัวใจต้องทำงานบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น แต่สภาพของหัวใจที่ไม่ดีพอจะทำงานไม่ได้ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้
คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ ควรจะได้รับการตรวจระดับน้ำตาลและให้การควบคุมระดับน้ำตาลโดยคุณหมอก่อนจึงตั้งครรภ์ได้ มิฉะนั้นลูกในท้องก็อาจจะมีปัญหา เช่น
ส่วนตัวคุณแม่เองก็อาจจะมีปัญหา เช่น มีการแท้งบุตร มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดการช็อกจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อถึงเวลาคลอดก็เสี่ยงที่จะคลอดยากเพราะลูกตัวใหญ่ ตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น
คุณแม่ที่มีโรคความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ ควรได้รับการประเมินความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน และต้องอยู่ในการดูแลรักษาโดยแพทย์ให้ดีเสียก่อนที่จะตั้งครรภ์
คุณแม่ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษมาก่อน เมื่อคิดจะตั้งครรภ์ต้องให้คุณหมอรักษาโรคให้อยู่ในระยะสงบเสียก่อน ซึ่งการรักษามีได้หลายวิธี เช่น ใช้ยาควบคุม ผ่าตัด หรือการกลืนแร่รังสี โดยคุณหมอจะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่
ถ้าคุณแม่ปล่อยให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในขณะที่การควบคุมโรคก็ยังทำไม่ได้ดี อาจก่อปัญหา เช่น การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ และทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เป็นต้น
โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดมาทางกรรมพันธุ์ คนที่เป็นโรคนี้จะมีเม็ดเลือดแดงที่มีคุณภาพไม่ดี คือเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก แตกง่าย และอายุการทำงานสั้น ที่สำคัญโรคนี้มีแบ่งย่อยออกได้เป็นอีกนับร้อยชนิด แต่ละชนิดมีความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน บางคนเป็นโรคแต่แทบไม่มีอาการของโรคให้เห็นเลย ในขณะที่บางคนมีอาการรุนแรงมากจนตายตั้งแต่แรกเกิดหรือตั้งแต่เป็นเด็กเลยก็มี
นอกจากโรคเลือดจางธาลัสซีเมียแล้ว ยังมีโรคทางกรรมพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถถ่ายทอดความผิดปกติไปให้ลูกในครรภ์ได้ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเลือดไหลไม่หยุดฮีโมฟิเลีย ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ ทั้งคุณแม่และคุณพ่อควรที่จะสอบถามปัญหาโรคภัยไข้เจ็บในครอบครัวของทั้ง 2 ฝ่ายให้ดีเสียก่อน จะได้วางแผนการตรวจวินิจฉัยโรคและความผิดของโรคเหล่านี้ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับลูกในครรภ์ได้ถูกต้อง ซึ่งทำให้างแผนดูแลรักษาคุณแม่ได้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น
โรคนี้มีชื่อเต็มว่า Systemic Lupus Erethematosus เกิดจากร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านกับเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตัวเอง ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น มีผื่นขึ้นที่หน้า ผิวหนังทนต่อแสงแดดไม่ได้ ไตมีการอักเสบและอาจเกิดไตวายได้ หลอดเลือดมีการอักเสบและทำให้ความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จำเป็นต้องรับการรักษาและควบคุมด้วยยาจนอาการของโรคสงบเสียก่อนจึงจะตั้งครรภ์ได้ ถ้าปล่อยให้ตั้งครรภ์โดยไม่คุมโรคให้ดีก่อนการตั้งครรภ์อาจกระตุ้นตัวโรคให้มีความรุนแรงมากจนผู้ป่วยมีอาการไตวาย ความดันโลหิตขึ้นสูงจนควบคุมไม่ได้ เกิดการชักและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ส่วนทารกในครรภ์ก็อาจจะมีการเจริญเติบโตช้า หรือตายในครรภ์ได้
คุณแม่ควรจะได้รับการตรวจให้แน่ชัดว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหรือกำลังเป็นโรคติดเชื้อที่สำคัญบางอย่าง เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคซิฟิลิส โรคตับอักเสบบีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดอาการหรือเป็นแค่พาหะของโรค ถ้าตรวจแล้วไม่พบว่าเคยเป็นโรคนี้จะได้รีบฉีดวัคซีนป้องกันโรคไว้เสียก่อนจนแน่ใจว่าร่างกายมีภูมิต้านทานแล้วค่อยปล่อยให้ตั้งครรภ์ ซึ่งจะปลอดภัยทั้งแม่และลูก
คุณแม่ที่มีประวัติแท้งซ้ำซากติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไป ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาเสียตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เช่น การตรวจเลือดหาความผิดปกติของโครโมโซมคู่สามีภรรยา ตรวจเลือดดูว่าเป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน หรือโรคอื่น ๆ หรือไม่ นอกจากนี้ยังอาจจะต้องรับการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อดูว่ามดลูกมีความผิดปกติหรือไม่ บางคนมีมดลูกที่มีขนาดและลักษณะผิดปกติ บางคนมีเนื้องอกในมดลูก ในขณะที่บางคนตรวจพบเนื้องอกรังไข่ก็มี
ถ้าตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว คุณหมอจะได้รีบให้การดูแลรักษาเสียก่อนที่จะตั้งครรภ์ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำถ้าพบโรคขณะตั้งครรภ์อีกด้วย