แม่ท้องนอนกรนไม่ใช่เรื่องปกตินะคะ ยิ่งถ้าเป็นคนที่ไม่เคยนอนกรนมาก่อน แถมอาจมะภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย แบบนี้อันตรายกับลูกในท้องแน่นอนค่ะ แม่ท้องนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไร เรามีสาเหตุพร้อมแนวทางการแก้ไขมาแนะนำค่ะ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ เช่น ท้องโตขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย การสูบฉีดเลือด ระบบไหลเวียนของเลือด รวมทั้งการเต้นของหัวใจ ซึ่งการสูบฉีดไหลเวียนเลือดที่มากขึ้น จะไปกระตุ้นเส้นเลือดในโพรงจมูก ทำให้มีภาวะบวมน้ำ ส่งผลให้เวลานอน จะรู้สึกหายใจไม่สะดวก และเกิดเสียงกรนนั่นเอง
ประกอบกับลักษณะการนอนของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะนอนมากกว่าปกติ แต่ประสิทธิภาพการนอนลดลง ช่วงหลับลึกและหลับฝันน้อยลง ทำให้ง่วงบ่อยและงีบในตอนกลางวัน ต่อมาช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน คุณแม่จึงจะเริ่มนอนเหมือนปกติ แต่ประสิทธิภาพการนอนจะยังไม่เหมือนเดิม ทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่มซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์
พอเข้า 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด อายุครรภ์ 6-9 เดือน คุณแม่จะนอนสั้นลง ประสิทธิภาพการนอนยิ่งแย่ลงตามไปด้วย เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ และเป็นช่วงที่คุณแม่นอนกรนมากขึ้น ทั้งนอนกรนผิดปกติ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ค่ะ
หากคุณแม่เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง ต้องติดตามและเฝ้าสังเกตอาการตัวเองนะคะ เพื่อป้องกันและรักษาต่อไป โดยกลุ่มเสี่ยงมีปัจจัยดังนี้