เคล็ดลับแก้อาการหัวนมแตก ปั๊มนมแล้วมีเลือดออก แม่ให้นมไม่เจ็บทรมานอีกต่อไป
ทำไมให้นมลูก ปั๊มนมแล้วเจ็บหัวนม หัวนมแตกมีเลือดออก ปั๊มนมแล้วมีเลือดออก แม่ให้นมจะแก้อาการหัวนมแตก รักษาหัวนมแตกอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ
เคล็ดลับแก้อาการหัวนมแตก ปั๊มนมแล้วมีเลือดออก แม่ให้นมไม่เจ็บทรมานอีกต่อไป
ทำไมหัวนมแตก
- แม่อุ้มลูกกินนมในท่าที่ไม่ถูกวิธี
- ลูกอ้าปากกว้างไม่พอ ทำให้ปากลูกน้อยอมเฉพาะหัวนม ไม่ได้อมเข้าไปถึงลานหัวนมของคุณแม่
- เต้านมของคุณแม่คัดมาก ทำให้ลานนมตึงแข็งจนลูกอมได้ไม่ลึกพอ
- ลูกน้อยมีพังผืดที่บริเวณใต้ลิ้น แลบลิ้นออกมาได้น้อย ไม่ถึงใต้ลานนม จึงดูดได้แค่หัวนม
- การถอนหัวนมออกจากปากลูกไม่ถูกวิธี โดยดึงหัวนมออกจากปากลูกในขณะที่ลูกยังดูดนมอยู่ แรงดูดของลูกจะทำให้ผิวหนังแตกเป็นแผลได้
- หัวนมแห้งแตกเพราะการทำความสะอาดที่มากเกินไป
- ใช้เครื่องปั๊มนมที่มีความแรงมากเกินไป
อาการหัวนมแตก
- หัวนมแห้งลอก แตก มีน้ำใส ๆ ซึม รู้สึกแสบตอนอาบน้ำ หรือ ตอนลูกดูดนม
- มีเลือดซึมออกมา ดูด้วยตาเปล่า หรือ เห็นคราบน้ำนมสีแดงที่เสื้อชั้นใน
- มีเลือดออกตอนปั๊มนม โดยสังเกตจากสีนมแม่ที่ออกชมพู หรือ มีเลือดติดที่กรวยปั๊มนม
- คุณแม่บางคนอาจหัวนมแตกอย่างชัดเจน (เห็นรอยแตก รอยฉีกของที่หัวนม) เริ่มให้ลูกดูดหรือปั๊มไม่ไหวเพราะเจ็บมาก
วิธีแก้ไขปัญหาหัวนมแตก
- ให้ลูกดูดนมแม่ในท่าที่ถูกต้อง ควรจำไว้ว่าจมูก แก้ม และคางของลูกควรสัมผัสกับเต้านม ริมฝีปากของลูกควรแบะออกเหมือนปลา
- ลองเปลี่ยนท่าอุ้มให้ลูกดูดนม เช่น ท่าอุ้มฟุตบอล ท่านอน เมื่อลูกเปลี่ยนท่า มุมที่เข้าเต้าจะเปลี่ยน ทำให้ไม่ดูดทับแผลเก่าที่เป็นอยู่
- รอให้ลูกอ้าปากกว้างที่สุด แล้วค่อยส่งลูกเข้าเต้าเพื่อให้ลูกอมลานนมให้ลึก
- ถ้าเต้านมของคุณแม่คัด ให้บีบน้ำนมออกมานิดหน่อยเพื่อให้เต้านมนิ่มขึ้น
- เริ่มให้ลูกดูดนมจากข้างที่เจ็บน้อยที่สุดก่อน ถ้าทั้งสองข้างเจ็บเหมือนกัน ให้เอาผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบและนวดเต้านมเบาๆ เพื่อให้น้ำนมเริ่มไหลออกมา
- เมื่อลูกดูดนมแม่อิ่ม ส่วนใหญ่ลูกจะหลับและคายปากออกจากเต้าเอง แต่ถ้าต้องการถอนนมออกจากปากขณะที่ลูกยังงับเต้านมอยู่ ให้ใช้นิ้วมือสอดเข้าที่มุมปากให้นิ้วอยู่ระหว่างเหงือกของลูกเพื่อลดแรงดูดของลูก จากนั้นจึงค่อยๆ ถอนหัวนมออกมา
- ไม่ต้องล้างหัวนมก่อนให้ลูกดูดนม เพราะการล้างด้วยน้ำเปล่าบ่อยๆ สามารถทำให้ผิวแห้ง
- หลังจากให้นมลูกทุกครั้ง บีบน้ำนม 2- 3 หยดทาบริเวณหัวนม ทิ้งไว้ให้แห้งก่อน จะช่วยสมานแผลได้ดี ไม่จำเป็นต้องทาครีมหรือยาอื่น ๆ
- บีบน้ำนมออกทุก ๆ 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเต้านมคัดและป้อนนมที่บีบไว้ให้ลูกกินจากถ้วย
กรณีหัวนมแตกมาก เจ็บมากมีเลือดออก ใช้ยาทาแก้หัวนมแตกได้ไหม
คุณแม่ที่หัวนมแตกมาก สามารถใช้ยาทาแก้หัวนมแตกได้ เช่น
- ปิโตเลียมเจล
- ครีมทาแก้หัวนมแตก ละมุน Organic Nipple and Lip Balm
- ครีมทาแก้หัวนมแตก MEDELA PureLan
- ครีมทาแก้หัวนมแตก Bepanthen บีแพนเทน
- ครีมทาแก้หัวนมแตก Pigeon Nipple Care Cream
- ครีมทาแก้หัวนมแตก Brustra Magic Balm Nursing Cream
- ครีมทาแก้หัวนมแตก Cuddle Cream
- ครีมทาแก้หัวนมแตก Mama's Choice Nipple Cream
- ครีมทาแก้หัวนมแตก LANSINOH // LANOLIN NIPPLE CREAM
- ครีมทาแก้หัวนมแตก Mommycare Nipple Ointment
- ครีมทาแก้หัวนมแตก Dr.Brown's Nipple Cream
หากคุณแม่มีอาการหัวนมแตกรุนแรง ให้นมลูกหรือปั๊มนมไม่ได้ ควรรีบพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเกิดการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นได้