ปัญหาการนอน เป็นอีกหนึ่งเรื่องหนักใจของคุณพ่อคุณแม่ที่มีน้องเด็กพิเศษ รวมถึงเด็กทั่วไปด้วยครับ เช่น ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน การตื่นบ่อยตอนกลางคืน อการนอนเยอะในช่วงกลางวัน เป็นต้น รวมถึงปัญหาพฤติกรรมการนอนผิดปกติอีกหลายอย่าง
ปัญหาการนอนอาจจะดูเหมือนเป็นปัญหาเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง อาการชัก หรือปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่มักพบในน้องเด็กพิเศษ แต่การแก้ไขปัญหาเรื่องการนอนเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการจัดการปัญหาเรื่องอื่น ๆ ของเด็กต่อไปเลยนะครับ ดังนั้น เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการนอนหลับกันหน่อย เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการนอนของเด็ก ๆ และรวมถึงตัวคุณพ่อคุณแม่เองด้วยครับ
กลไกการควบคุมการนอนของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มี 2 กลไกหลัก
การพัฒนาในส่วนของนาฬิกาชีวิตหรือกลไกซี จะเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่ช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ทำให้ทารกในครรภ์มีช่วงที่หลับและช่วงที่ตื่น โดยช่วงที่ทารกตื่นคือช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกว่าเด็กดิ้นมาก ส่วนช่วงที่ทารกนอนคือช่วงที่การดิ้นลดลง
อย่างไรก็ดีนาฬิกาชีวิตของลูกในท้องกับคุณแม่จะไม่ตรงกัน ทำให้หนูน้อยในท้องมักจะตื่นตอนที่คุณแม่หลับอยู่เสมอ ซึ่งการพัฒนานาฬิกาชีวิตจะเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ หลังคลอดออกมาแล้ว ทำให้ทารกนอนในช่วงกลางคืนได้เป็นหลักและสามารถนอนในระยะเวลาที่นานขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับเมื่อร่างกายมีการเจริญเติบโตมากขึ้น จะสามารถรักษาระดับน้ำตาลในช่วงกลางคืนไม่ให้ลดต่ำได้ ทำให้เด็กสามารถนอนได้ยาวตลอดทั้งคืน
อย่างไรก็ดี ทารกที่มีปัญหาทางสมองหรือในกลุ่มเด็กพิเศษ มักจะมีปัญหาในการควบคุมการนอนหลับจากนาฬิกาชีวิตหรือกลไกซี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติไป มากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่ความรุนแรงของแต่ละโรค
ปัญหาการนอนของเด็กพิเศษเป็นสิ่งที่ทำได้ยากหน่อยครับ แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้บ้าง เพราะการควบคุมการนอนจากสมองหรือนาฬิกาชีวิตจะมีปัญหา อย่างไรก็ดี ปัญหาการนอนก็มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน เช่น ในรายที่ปัญหาการนอนไม่รุนแรงมาก เด็กอาจดีขึ้นจากการจัดรูปแบบการเข้านอนและการปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนใหม่ แต่ในรายที่อาการรุนแรงอาจต้องใช้ยาช่วยในการหลับร่วมด้วย โดยทั่วไป นาฬิกาชีวิตหรือกลไกซีจะสามารถปรับได้จากปริมาณแสงสว่าง กล่าวคือ ถ้าแสงสว่างลดลงจะเป็นการกระตุ้นให้วงจรความง่วงของกลไกซีทำงานมากขึ้น โดยมีวิธีแก้ไขปัญหาการนอนของเด็กพิเศษดังนี้ครับ
ในกลุ่มเด็กพิเศษ กลไกซีอาจจะมีความบกพร่องอันเนื่องมาจากปัญหาการทำงานของสมอง คุณพ่อคุณแม่จึงต้องอาศัยการปรับผ่านกลไกเอสเป็นหลัก (แต่การทำให้ห้องนอนให้มืดก็ยังจำเป็นนะครับ) โดยการควบคุมช่วงเวลาในการนอนกลางวัน ไม่ให้ใกล้กับช่วงกลางคืนมากเกินไป และหากิจกรรมให้เด็กได้ทำในช่วงกลางวัน ให้เด็กได้ออกแรงกายแรงสมอง หากลองปรับดูแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีข้อจำกัดของการมีกิจกรรมที่ต้องออกแรง
ในกลุ่มเด็กซีพีที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวของร่างกาย การให้ยาเพื่อไปกระตุ้นกลไกเหล่านี้โดยตรงก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ เพียงแต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองสามารถปรับได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า เพราะไม่มียานอนหลับตัวไหนเลยที่ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ครับ จึงควรให้ยาเฉพาะรายที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ด้านโรคสมอง