หนึ่งในเครื่องมือการเรียนรู้ของเด็กคือ นิทาน นอกเหนือจากพ่อแม่มีส่วนร่วมให้เล่าและเล่นนิทานไปกับลูกแล้ว การเลือกนิทานและหาจังหวะในการตั้งคำถามชวนลูกคิดก็เป็นส่วนสำคัญมากในการปูพื้นฐานเรื่อง Pre Coding ได้ เราจะช่วยลูกเรียนรู้ผ่านนิทานได้อย่างไร พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี กุมารแพทย์ และ เจ้าของ Facebook Fan Page “หมอแพมชวนอ่าน” มีคำแนะนำที่พ่อแม่ทำเองได้ง่ายๆ มาบอกค่ะ
เลือกนิทานฝึกคิดและตอบ เพราะเด็กวัย 5-12 ปี มีพัฒนาความคิดอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความดี ความซื่อสัตย์ ความอดทน เป็นต้น เวลาอ่านหนังสือนิทานกับลูก แม้จะเป็นเรื่องเดิมที่เคยอ่านตอนเล็กๆ แต่เขาจะคิดต่างจากเดิม ซึ่งเราเริ่มตั้งคำถามกับลูกได้ เช่น เรื่องแจ๊คกับต้นถั่วยักษ์ แจ๊คแอบเข้าบ้านยักษ์แล้วเอาสิ่งต่างๆ ออกมา แจ๊คทำถูกต้องหรือไม่? ยักษ์ทำอะไรผิดไหม? เป็นต้น
เปิดโอกาสให้ลูกเลือกเอง และ วางแผนเล่านิทานที่ต่างไปจากเดิม ควรส่งเสริมด้วยหนังสือที่เขาสนใจเลือกด้วยตัวเอง ทั้งจากหนังสือที่บ้าน หรือ ไปเลือกซื้อเล่มใหม่ด้วยกัน จะทำให้เขามีแรงจูงใจอยากอ่าน ดังนั้น อย่าตำหนิ หรือวิจารณ์หนังสือที่ลูกเลือกนะคะ เมื่อเขาเริ่มสนุกกับการอ่านด้วยกัน ค่อยหาหนังสือที่อยากอ่านให้ลูกฟังมาอ่าน เราเลือกบ้าง ลูกเลือกบ้าง ทำให้ลูกคุ้นเคยและรู้สึกดีกับหนังสือก่อนค่ะ
การสร้างนิทานทำมือเป็นอีกกิจกรรมที่ทำให้การอ่านเป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจสำหรับเด็กวัยนี้ คือ หาหัวข้อที่เขาสนใจและชวนให้ทำ Project “นิทานหรือหนังสือทำมือเล่มเดียวในโลก”
ก่อนหน้านี้ ลูกสาววัย 6 ปีของหมอ มีความสนใจเรื่องด้วง เพราะไปช่วยเหลือด้วงกว่างที่นอนหงายท้องกลางถนนมาได้ 1 ตัว เราเลยช่วยกันหาวิธีเลี้ยงด้วงกว่างจาก Internet ทั้งเรื่องวงจรชีวิต อาหาร และ ด้วงชนิดต่างๆ แล้ว Print ภาพออกมา ตัดมาแปะในสมุด และเขียนคำบรรยาย โดยให้ลูกคิดและวางแผนเองว่าจะทำอะไรก่อนหลังจนได้หนังสือ 1 เล่ม โดยเราให้กำลังและช่วยเหลือในบางขั้นตอน ท้ายที่สุดแล้วลูกสาวก็ได้ “คู่มือการเลี้ยงด้วงกว่าง” ที่ทำด้วยตัวเอง ซึ่งเขาจะได้ประโยชน์หลายข้อ คือ
1. ทักษะการค้นคว้าข้อมูล ซึ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก Generation นี้ ต้องสอนให้ลูกใช้ประโยชน์จาก Internet เชิงรุก คือเป็น Active user ไม่ใช่ Passive user
2. ฝึกกล้ามเนื้อมือ และกล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยการใช้กรรไกรตัดภาพต่างๆ การวาดภาพ ระบายสีเพื่อตกแต่ง
3. ความคิดสร้างสรรค์ การติดภาพ วาดภาพ ตกแต่งหนังสือ หรือเขียนอธิบายภาพเหมือนเป็นการเล่าเรื่องตามความคิด
4. สร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง เพราะเป็นหนังสือที่มีเล่มเดียวในโลก เมื่อทำสำเร็จเขาจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง ความรู้สึกว่า “ฉันทำได้” เป็นส่วนสำคัญมากของการสร้าง self-esteem นะคะ
2. ตัดครึ่งกระดาษ A4 ให้ได้กระดาษประมาณ 6-8 แผ่น สำหรับทำนิทานเล่มเล็กๆ
4. ให้ลูกได้เขียน หรือ วาดรูปต่างๆ ในนิทานแต่ละหน้า เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์
5. ให้ลูกเรียงหน้านิทาน ให้เหมือนเป็นการเล่าเรื่องทวนซ้ำอีกครั้ง ถ้ายังไม่ถูกใจก็แก้ไข ติดรูปตกแต่งใหม่ได้ตามชอบ
6. เมื่อลูกพอใจกับนิทานแล้วให้เย็บขอบกระดาษด้านซ้าย และติดเทปกาวสีสวยๆ นิทานก็เสร็จเรียบร้อย