ไข้หวัดกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่เรามักเรียกกันว่า “แพ้อากาศ” มีอาการไม่ต่างกันนัก แต่แพ้อากาศนั้น บางครั้งอาจจะมีความรุนแรงมากกว่า ซึ่งหากคุณแม่คุณพ่อมีความเข้าใจในโรคภูมิแพ้ ก็สามารถปกป้องและดูแลลูกในเบื้องต้นได้ค่ะ
ฮั้ดเช้ยยยยย!
ฝนมาหวัดก็มา คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าน้ำมูกที่ไหลออกมาจากจมูกลูกนั้นใช่อาการหวัดจริงๆหรือไม่ แม้ว่าไข้หวัดกับโรคแพ้อากาศจะมีอาการคล้ายๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถแยกความต่างของทั้ง 2 โรคนี้ได้ เพื่อจะได้รักษาลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
ทุกครั้งที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กหลายคนจะมีอาการหายใจเสียงดัง คัดจมูก น้ำมูกไหล บางครั้งก็จามติดกันบ่อย ๆ จนคุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าลูกป่วยเป็นไข้หวัด ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เพราะโดยปกติไข้หวัดมักเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กจะมีอาการไอมีเสมหะ จาม เจ็บคอ เสียงแหบ รวมถึงมีไข้ต่ำๆ และปวดศีรษะร่วมด้วย ไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ มักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน ก็หายค่ะ
ทั้งนี้อาการน้ำมูกใส ๆ ไหล อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคแพ้อากาศ ก็ได้นะคะ โดยเฉพาะถ้าลูกมีอาการเหมือนเป็นหวัดเรื้อรัง โดยที่ไม่มีไข้
แล้ว ไข้หวัด กับ แพ้อากาศต่างกันอย่างไร? มาดูกันค่ะ
ไข้หวัดธรรมดา
มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ
มีอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูกไหล (น้ำมูกใส)
มีอาการไอ เจ็บคอ
อาการเป็นทั้งวัน และอาจมีอาการมากตอนกลางคืน
มีอาการไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
แพ้อากาศ
คันจมูก จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใสไหล เป็นๆหายๆ ช่วงเช้า หรือ กลางคืนนาน 4 สัปดาห์ขึ้นไป
ไอเรื้อรัง มีเสมหะในช่วงเช้า หรือกลางคืน
อาจมีอาการคันตา น้ำตาไหล ตาแดง ตาบวม คันในเพดานปาก หู และผื่นคันที่ผิวหนัง ร่วมด้วย
มีอาการคล้ายหวัดเรื้อรัง โดยไม่มีไข้
มีอาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผิวแห้ง คัน เป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ
อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกไม่สบายตัว หรือหงุดหงิดง่าย เพราะนอนไม่เพียงพอ
อาการไข้หวัดกับอาการแพ้อากาศค่อนข้างคล้ายคลึงกันมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการและดูแลลูกได้ในเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อลูกไม่สบายมาก ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อการวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ อย่างเคร่งครัด
ให้ลูกรับประทานยาแก้แพ้หรือพ่นยาตามคำแนะนำของแพทย์
ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อล้างจมูกเมื่อลูกมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
หากหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ไม่ได้ หรือการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล โรคแพ้อากาศสามารถรักษาด้วยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ได้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในการรักษาด้วยวิธีนี้ต่อไปค่ะ
อาการแพ้อากาศ คืออาการภูมิแพ้อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับอาการแพ้อื่น ๆ เช่น หอบหืด ที่อาจจะตามมาได้ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้แต่เนิ่น ๆ ด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมและการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ดังนี้ค่ะ
โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตาขนที่อาจมีไรฝุ่น รวมถึงฝุ่นในบ้าน สัตว์เลี้ยง หรือสารกระตุ้นต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป น้ำหอม สเปรย์ ควรทำความสะอาดบ้านโดยเฉพาะห้องนอนของลูกเป็นประจำทุกวัน เปิดหน้าต่างให้แสงเข้าบ้าง ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ของลูกได้
เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้น มลภาวะ ฝุ่นละอองโดยเฉพาะฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ควันพิษ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกเกิดอาการแพ้ และเมื่อพาลูกกลับจากทำกิจกรรมนอกบ้านแล้วควรให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที
หากลูกน้อยของคุณแม่ยังทานนมแม่อยู่ ก็ควรทานนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพราะในนมแม่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ถูกทำให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กแล้ว จึงช่วยลดโอกาสการกระตุ้นให้เกิดการแพ้ อีกทั้งยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ อย่างเช่น บิฟิดัส บีแอล และแอลจีจี ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับร่างกายของลูกได้อีกด้วย
แต่ในบางกรณีจำเป็นที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ในเรื่องของ โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนที่ทำจากเวย์ 100% หรือ H.A. (Hypoallergenic) ตามคำแนะนำจากแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้จากสมาคมโรคภูมิแพ้ และวิทยาคุ้มกันแห่งประเทศไทย
เมื่อถึงวัยเริ่มอาหารเสริมตามวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน ผักและผลไม้ และอาหารที่มีการเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ อย่าง บิฟิดัส บีแอล จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับร่างกายของลูกได้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ แต่ให้ทานในสัดส่วนที่สมดุล ไม่มากเกินไป ก็จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย ค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับอาหารใหม่ ๆ ได้ค่ะ
ในช่วงที่เข้าฤดูฝนเช่นนี้ แม้ว่าจะมีปัจจัยกระตุ้นอาการภูมิแพ้ของลูกมากมาย หากคุณแม่คุณพ่อดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวลูก ชวนลูกออกกำลังกายทุกวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยปกป้องลูกจากอาการภูมิแพ้ได้ส่วนหนึ่งแล้ว เมื่อลูกมีสุขภาพแข็งแรง ไม่แพ้ เค้าก็พร้อมที่จะออกไปเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ในทุก ๆ วันค่ะ แต่หากลูกมีอาการภูมิแพ้กำเริบเยอะ ก็ควรไปพบแพทย์นะคะ
อยากรู้ว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงภูมิแพ้แค่ไหน ทำแบบทดสอบเบื้องต้นได้เลยที่ https://www.nestlemomandme.in.th/sensitive-expert/sensitive-check
#SensitiveExpert #ผู้เชี่ยวชาญด้านความบอบบางของลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า
พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์