ถึงเป็นเด็กก็มีโอกาสป่วยโรคตาได้ โรคตาเด็กหลาย ๆ โรคถ้าไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ มีโอกาสที่ลูกโตไปจะกระทบการมองเห็นได้
ลูกยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพตาลูกกันเท่าไหร่นัก เห็นตาลูกผิดปกติก็คิดว่าไม่เป็นอะไร เดี๋ยวคงดีเอง หารู้ไม่ว่าพัฒนาการของดวงตาและการมองเห็นของลูกไม่ได้สมบูรณ์แบบมาตั้งแต่เกิด ยังต้องมีการพัฒนาต่อไปอีกโดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิต
เพราะฉะนั้นหากในช่วงที่ลูกยังเล็ก ๆ อยู่มีสิ่งใดมาขัดขวางพัฒนาการทางสายตา อาจทำให้ตาลูกผิดปกติไปตลอดชีวิตก็ได้ การตรวจตาเด็กเล็กจึงมีความสำคัญอย่างมาก ควรพาลูกไปตรวจสุขภาพตาก่อนอายุ 2 ปีสักครั้ง เพื่อที่จักษุแพทย์จะได้รักษาทันท่วงทีหากมีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น
พบได้บ่อยโดยมักพบในเด็กอายุประมาณ 1-2 เดือน เด็กจะมีอาการตาแฉะตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ร้องไห้ ต่อมาอาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย ทำให้เด็กมีขี้ตามากขึ้น
การรักษา เมื่อลูกตาแฉะใช้การหยอดยาหยอดตาที่เป็นยาปฏิชีวนะร่วมกับการนวดบริเวณหัวตา อาการท่อน้ำตาอุดตันจะดีขึ้นและหายไปได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจนเด็กอายุประมาณ 1 ปี จักษุแพทย์ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือช่วย เพื่อช่วยขยายท่อน้ำตาให้เปิดออก
คือการที่สายตาข้างหนึ่งพัฒนาไม่เป็นปกติในช่วงวัยเด็ก เป็นผลให้ระดับสายตาข้างนี้แย่กว่าอีกข้างหนึ่ง โดยปกติหลังจากที่เด็กคลอดออกมา สายตาทั้ง 2 ข้างจะพัฒนาไปเท่าๆ กันจนถึงอายุ 7-9 ปี ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ เช่น ตาเหล่ จะทำให้พัฒนาการของสายตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน โดยข้างหนึ่งจะพัฒนาเป็นปกติ แต่อีกข้างหนึ่งจะมีการพัฒนาด้อยกว่า เราเรียกสายตาที่ด้อยกว่าว่า "สายตาขี้เกียจ"
สาเหตุหลักของสายตาขี้เกียจได้แก่ ตาเหล่ สายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ หรือการเป็นต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด ฯลฯ หมอมักวินิจฉัยสายตาขี้เกียจได้ไม่ยากถ้ามีอาการตาเหล่ร่วมด้วย แต่จะมีปัญหาได้ ถ้าสายตาขี้เกียจนั้นเกิดจากการมีสายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ ซึ่งในกรณีหลังนี้ต้องใช้วิธีวัดสายตาจึงจะทราบได้
การรักษา ควรจะทำก่อนลูกอายุ 6 ปี จึงจะได้ผลดี การรักษามักใช้วิธีปิดตาข้างที่มีระดับสายตาปกติ เพื่อกระตุ้นตาที่มีสายตาขี้เกียจให้กลับมาทำงานตามปกติ ความสำเร็จในการรักษาสายตาขี้เกียจนี้ขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่เป็นหลัก เพราะเด็กมักไม่ชอบให้ใครมาปิดตา ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยอมใจอ่อน ตามใจลูกโดยไม่ปิดตาตามคำสั่งจักษุแพทย์ จะทำให้ระดับสายตาลูกผิดปกติไปตลอดชีวิต
คือการที่ตาข้างหนึ่งมองตรงไปข้างหน้า แต่อีกข้างอาจจะเหล่เข้าในหาจมูกหรือเหล่ออกนอก หรือบางครั้งอาจจะเหล่ขึ้นบนหรือลงล่างก็พบได้
อาการตาเหล่อาจพบได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบหลังอายุ 2-3 ปีได้ สาเหตุของตาเหล่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบอาการนี้ได้บ่อยในเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองได้
การรักษา การรักษาอาการตาเหล่จะได้ผลดี ต้องมารักษาก่อนอายุ 2 ปี โดยการรักษาได้แก่..
รักษาสายตาขี้เกียจที่มีร่วมด้วย เพราะการปล่อยให้ตาข้างใดข้างหนึ่งเหล่นาน จนเด็กไม่ได้พัฒนาสายตาสองข้างให้ทำงานร่วมกัน ทำให้ตาตรงโดยการใช้แว่นตาหรือการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา อาการตาเหล่หากไม่รักษาอาจทำให้เด็กมีปัญหาดูภาพแบบคนปกติ ไม่สามารถดู ภาพสามมิติได้ การรักษาจะเนิ่นนานออกไปอีก
คืออาการที่หนังตาบนตกมาคลุมตาดำมากผิดปกติ เด็กมักจะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการเงยหน้าขึ้นหรือพยายามเลิกคิ้วขึ้นเพื่อ มอง ปัญหาที่พบร่วมกับอาการหนังตาตก ได้แก่ สายตาขี้เกียจ
การรักษา โดยส่วนใหญ่การรักษาอาการหนังตาตกมักใช้การผ่าตัดยกหนังตาขึ้น และรักษาสายตาขี้เกียจที่มีร่วมด้วย
ต้อกระจกไม่ได้พบเฉพาะคนสูงอายุเท่านูน ยังสามารถพบในเด็กแรกเกิดได้ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการสายตาขี้เกียจ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกเป็นต้อกระจกหรือไม่จากจุดขาวที่มีในตาดำ
การรักษา ทำได้ด้วยการผ่าตัดเอาต้อกระจกออก
เป็นภาวะที่มีความดันภายในลูกตาสูง และจะมีการทำลายของขั้วประสาทตา เด็กจะมีอาการตาแฉะ ตาไม่กล้าสู้แสง ชอบหยีตา มีลูกตาดำโตกว่าปกติ
การรักษา ใช้ยาลดความดันภายในลูกตา และมักต้องผ่าตัด
มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี อาการนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการตาวาวคล้ายลูกตาแมวหรือมองเห็นจุดสีขาวในลูกตาดำ
การรักษา สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้ามาพบจักษุแพทย์ในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งของจอประสาทตามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าเด็กเป็นมะเร็งในระยะ ไหน การรักษาทำได้โดยการผ่าตัด การใช้แสงเลเซอร์หรือความเย็นจี้ที่ก้อนเนื้อมะเร็ง การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสี
ปัญหาสายตาเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกมารักษาเสียแต่เนิ่นๆ เมื่อเห็นว่าสายตาลูกมีความผิดปกติ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ การให้จักษุแพทย์ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ ดีกว่าพบความผิดปกติทีหลังแล้วรักษาไม่ทันการณ์