มีบางคนบอกว่า ในเด็กหนึ่งคนมีทั้งส่วนที่เป็น "เทวดาตัวน้อย" และส่วนที่เป็น "ปีศาจน้อย" อยู่ในตัว ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่คนไหนก็คงอยากให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นส่วนที่ดี มากกว่าจะเป็นส่วนที่ร้ายใช่มั้ยคะ แล้วอะไรกันที่จะทำให้เด็กคนหนึ่งกลายเป็น "หนูน้อยใจดี" หรือ "ปีศาจน้อย" ในความคิดของผู้ใหญ่
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า "ปีศาจน้อย" ที่เปรียบเทียบในที่นี้คือ การที่เด็กเกรี้ยวกราด ก้าวร้าว เจ้าอารมณ์ แต่ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นแบบนั้นจริงๆ นะคะ เพราะจริงๆ แล้ว ลักษณะพฤติกรรมเหล่านี้ที่เราเห็น เป็นเพียงการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เมื่อเขาเกิดความขุ่นเคืองใจ โกรธ โมโห ผิดหวัง ฯลฯ เท่านั้นค่ะ
การที่เจ้าตัวน้อยยังไม่รู้วิธีจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ของตัวเอง เขาจึงแสดงออกมา และเมื่อได้รับการตอบสนองที่ไม่เหมาะสมจากผู้ใหญ่ เช่น ผู้ใหญ่ใช้ความก้าวร้าวเข้าใส่ ใช้ความรุนแรงเข้าใส่ หวังให้เจ้าตัวน้อยสงบ หรือการที่ผู้ใหญ่ยอมในสิ่งที่เด็กต้องการ เมื่อเด็กอาละวาด เป็นต้น การตอบสนองด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมของคุณพ่อคุณแม่ และผู้ใหญ่รอบข้างที่มีต่อตัวเด็กเช่นนี้ จะกลายเป็นการส่งเสริมพฤติกรรม "ปีศาจน้อย" ให้คงอยู่ในตัวเด็ก
แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สอนให้เขารู้จักวิธีจัดการอารมณ์ มีการตอบสนองทางอารมณ์ที่เหมาะสม เขาก็จะมีการแสดงออกที่ไม่รุนแรง หรือไม่ทำพฤติกรรมที่ถูกมองว่าเป็น "ปีศาจน้อย" ในสายตาผู้ใหญ่
อะไรทำให้หนูเป็น เด็กน้อยใจดี หรือ ปีศาจน้อย
ปัจจัยทางชีวภาพยังรวมถึงเรื่องของสมองด้วยนะคะ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับสมอง อย่าง โรคลมชัก โรคสมาธิสั้น ฯลฯ รวมถึงยาหลายประเภทก็ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมได้ค่ะ
ปัจจัยในข้อแรก หลายอย่างเราไม่สามารถควบคุมได้ เพราะเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เจ้าตัวน้อยอยู่ในครรภ์แล้ว แต่ปัจจัยสองข้อหลัง คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างสามารถสร้าง ป้องกัน หรือช่วยเหลือได้ เพื่อให้เด็กโตขึ้นมามีสุขภาพจิตที่ดี และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
สร้างหนูน้อยจิตใจดี
เด็กเรียนรู้จากการเลียนแบบ และการสอนของคุณพ่อคุณแม่ ซึมซับจากผู้ใหญ่รอบตัว ดังนั้น "จิตใจดี" เริ่มที่ครอบครัว หรือคนเลี้ยงที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กค่ะ
กับสัตว์เลี้ยงก็เหมือนกันค่ะ การสอนให้เด็กรู้ว่าสัตว์ก็มีชีวิต มีความรู้สึก เจ็บปวดเมื่อโดนรังแก กลัวเมื่อถูกทำร้าย ดีใจเมื่อมีคนให้อาหาร ฯลฯ สอนให้รู้จักการเล่น หรือเลี้ยงสัตว์อย่างอ่อนโยน เมื่อเกิดความรัก ความผูกพัน และคิดถึงความรู้สึกของสัตว์เลี้ยง เด็กก็จะรู้จักวิธีการเล่นกับสัตว์ที่เหมาะสม
ติดตาม วิธีรับมือเมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มเป็น “ตัวร้าย” ในคอลัมน์เติบใหญ่วัยซน นิตยสารรักลูก ฉบับเดือนมิถุนายน 2557