ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและการทำงานในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กยุคนี้จะต้องเรียนรู้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง Coding ซึ่งจะทำให้เยาวชนไทยใช้ชีวิตก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21
สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียนช่วงอายุประมาณ 3-9 ปี เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง และสังคม และที่โดดเด่นที่สุดคือ การเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงวัยที่สังเกต คิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงจนกลายเป็นชุดความรู้และประสบการณ์ใหม่ได้แล้ว ซึ่งกระบวนการนั้นเรียกว่า Pre Coding การเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนนั่นเอง
พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม แนะนำว่า เพื่อส่งเสริม Pre Coding ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกระบวนการคิดและวางแผนของลูก พ่อแม่จำเป็นต้องรู้ด้วยว่า ลูกวัย 3-9 ปี มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้อย่างไร เพื่อส่งเสริมและจุดประกายให้ลูกเกิดการเรียนรู้ในระยะยาว
1. “คิดเป็น” เด็กๆ จะชอบการสังเกต ทดลอง และเรียนรู้ เช่น รูปทรง ขนาด สี ความเหมือน ความแตกต่าง หรือการมองเพื่อจดจำและทำตามอย่างเป็นขั้นตอน เช่น ดูวิธีที่คุณแม่ทำไข่เจียว แล้วคิดตาม จดจำขั้นตอนจนสามารถทำเองได้ เป็นต้น
2. “เชื่อมโยงได้” สิ่งต่างๆ กับความหมายได้ เช่น สัญลักษณ์กากบาทหมายถึง ผิด หรือ ห้าม เชื่อมโยงความหมายไปถึงสีแดงของสัญญาณไฟจราจรที่หมายถึง หยุด ห้ามไป และเชื่อมโยงสีแดงไปในความหมายว่า อันตราย การเตือนภัย เช่น ถังดับเพลิง เป็นต้น
3. “วางแผนเป็น” โดยเฉพาะช่วง 3-7 ปี เด็กจะรู้จักกติกา รู้จักวางแผน เริ่มสนใจเล่นเกมกระดาน บางครั้งอาจมีช่วงเวลาที่อยากคิดและเล่นคนเดียวบ้าง และเริ่มเลือกกลุ่มเพื่อนที่จะเล่นด้วย เมื่ออายุเข้า 8-12 ปี จะเริ่มชอบการแข่งขัน มีเป้าหมายชัดเจนเป็นของตัวเองมากขึ้น เป็นตัวของตัวเอง
4. “ร่างกายทำงานประสานกันเพื่อการเรียนรู้” ตา มือ และสมองทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ สังเกตจากกิจกรรมง่ายๆ เช่น วาดรูป ตัดกระดาษ การประดิษฐ์ การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ เป็นต้น และตั้งแต่ช่วง 9 ปีขึ้นไปจะเริ่มคำนวณในใจง่ายๆ ได้ เริ่มใช้เหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วสรุปเป็นหลักการทั่วไปได้เอง (Inductive Reasoning)
เมื่อเรารู้แล้วว่าลูกวัย 3-9 ปี คิดเป็น วางแผนได้ แถมยังชอบความท้าทายที่มีเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา บอร์ดเกมจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นทักษะ Pre Coding ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งการใช้ความคิด การวางแผน การแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่การกำหนดคำสั่งให้ผู้ที่เล่นด้วยได้ทำตามโจทย์ไปยังเป้าหมายเดียวกัน
วิธีทำและเล่นบอร์ดเกมบันไดงูกับลูก
4. การชนะเกมนี้ได้คือ ต้องไปถึงจุดหมายปลายทาง ดังนั้น ลูกจะคิดคำนวณว่าต้องทอยให้ได้กี่แต้มเพื่อไม่ให้เดินตกช่องงู หรือ ต้องทอยให้ได้กี่แต้มหรือจะไปตกช่องที่ทำให้เดินต่อได้อีก
5. ในการเล่นครั้งต่อไปลองท้าทายลูกด้วยการเปลี่ยนรูปแบบเกมให้ยากขึ้น เช่น เพิ่มการเดินหมากเป็น 3 ตัวแต่สีเดียวกัน โดยมีกติกาว่า ให้พาหมากสีตัวเองไปถึงเป้าหมายให้ได้ทีละตัวจนครบทั้ง 3 ตัว หากทีมสีไหนถึงครบ 3 ตัวก่อนจะชนะเกม เป็นต้น