แม่รู้ไหม? สมองของลูกมีการพัฒนาที่เร็วกว่าอวัยวะระบบอื่น ๆ หลังคลอดเกือบ 2 เท่า และการทำงานของสมองเด็กแรกเกิดเป็นกระบวนการที่น่าทึ่งมาก โดยในช่วงขวบปีแรก น้ำหนักสมองเด็กจะเพิ่มขึ้นจากช่วงแรกเกิดที่อยู่ที่ประมาณ 400 กรัม เป็น 1,000 กรัม ในขณะที่สมองผู้ใหญ่จะหนักประมาณ 1,400 กรัม
โดยสมองเป็นรากฐานของการพัฒนาทุก ๆ ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด
หากแม่อยากเห็นลูกน้อยมีพัฒนาการดีรอบด้าน เป็นเด็กที่เก่งทั้งสมอง แกร่งทั้งร่างกาย ต้องเตรียมพร้อมให้เร็วที่สุด ที่สำคัญคือการดูแลโภชนาการอาหารตามวัย และนมอย่างเหมาะสม
ตั้งแต่ 1 ขวบเป็นต้นไป ลูกสามารถรับประทานอาหารได้คล้ายกับผู้ใหญ่ โดยสารอาหารที่ลูกควรได้รับต่อวัน คือ สารอาหารที่หลากหลาย 5 หมู่ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่
นม เป็นอาหารเสริมที่ควรให้ลูกได้รับอย่างต่อเนื่องโดยสามารถให้นมแม่นานที่สุดเท่าที่จะให้ได้ แต่ถ้าลูกดื่มนมเสริม ควรได้รับประมาณวันละ 2-3 แก้ว เพราะนมมีสารอาหารที่ช่วยเสริมทั้งสมอง และ พัฒนาการร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โอเมก้า 3, 6, 9 กรดไขมัน DHA ARA โอลิโกฟรุคโตส อินนูลิน ให้ลูกน้อยในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว สมองของเด็กก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเช่นเดียวกัน ในช่วงวัยนี้แม่ควรมองหาสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาของระบบประสาทและสมองให้ลูกน้อย เพื่อเตรียมความความพร้อมกับโอกาสในการเรียนรู้ของลูกตั้งแต่ก้าวแรก
โอเมก้า 3 เป็นสารตั้งต้นในการสร้างดีเอชเอ (DHA) และอีพีเอ (EPA) เป็นกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น มีความสำคัญในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทและเยื่อบุผิวของเนื้อเยื่อสมอง ช่วยพัฒนาระบบประสาท และสมอง ช่วยให้สมองพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โอเมก้า 3 พบได้ในปลาทะเล อาหารทะเล น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ หรือดื่มนมที่มีโอเมก้า 3 สูง
DHA กรดไขมันดีเอชเอ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมอง และจอประสาทตา และเป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตตามปกติของเซลล์ประสาท ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 25-35 สัปดาห์ และหญิงให้นมบุตร ควรได้รับ DHA ประมาณ 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน กรดไขมันดีเอชเอพบมากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล ซาดีน สาหร่ายทะเล เมล็ดเซีย ถั่ววอลนัท
โพรไบโอติก LPR คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบได้ในนมแม่ และยังพบได้ในโยเกิร์ต และนมบางชนิดด้วย
มีการศึกษาพบว่าในลำไส้ของเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีจุลินทรีย์ LPR ช่วยปกป้องเยื่อบุลำไส้ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ ระบบทางเดินอาหารก็ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันก็แข็งแกร่ง ร่างกายก็เติบโตได้เต็มที่
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติก LPR เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มที่มีส่วนร่วมในการสร้างสารสื่อประสาท โดยช่วยย่อย ทริปโตเฟน (Tryptophan) ได้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) รวมทั้งมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาทบางตัวอีกด้วย
ในวัย 1-2 ขวบ เป็นช่วงสำคัญมากของพัฒนาการลูกน้อย ไม่เพียงแค่สารอาหาร โภชนาการที่จำเป็นกับร่างกายเท่านั้น เนื่องจากช่วงอายุนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้โลกกว้าง ให้ลูกได้ทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้ ค้นหาตัวตน และเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ อย่างรอบด้านให้ลูก เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น ได้สำรวจธรรมชาติ ได้เรียนรู้สิ่งรอบตัวในแบบที่เขาต้องการ
แล้วแม่พร้อมหรือยัง? กับการเตรียมความเก่งและแกร่งให้ลูกอย่างเต็มศักยภาพ https://www.nestlemomandme.in.th/lpr-benefits ตัวช่วยที่ให้แม่และลูกเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังช่วยเพิ่มโอกาสที่ดีในอนาคตของลูกน้อยอีกด้วย
อ้างอิง
สมองดี เริ่มที่ – นมแม่
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=685
โอเมก้า ๓ และ โอเมก้า ๖
https://www.doctor.or.th/article/detail/11248
คลังความรู้ดิจิทัล มก.
https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/dowload_digital_file/344409/140510