หกล้ม มีดบาด กระแทกฟกช้ำ 3 อุบัติเหตุที่ลูกเราเจอบ่อยมาก... จริงไหมคะ ยิ่งถ้าปล่อยให้ลูกเล่นและเรียนรู้แบบสุดพลังด้วยแล้วละก็ เราเลี่ยง 3 อุบัติเหตุนี้ได้ยากมากค่ะ และในฐานะพ่อแม่ เราก็เชื่อว่าการปล่อยให้ลูกได้ลงมือทำกิจกรรมต่างคือการเรียนรู้สำหรับเขา หากจะเกิดอุบัติเหตุบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่จะต้องดูแลค่ะ
การปฐมพยาบาลแผลหกล้ม มีดบาด และรอยฟกช้ำจากการกระแทกมีขั้นตอนง่ายมาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้และทำได้ รวมทั้ง “จำเป็นต้องสอนลูก” ให้สามารถดูแล 3 แผลอุบัติเหตุนี้ได้ด้วยตัวเอง เพราะแผลเหล่านี้อาจเกิดได้ตลอดเวลาเมื่อลูกเล่นกับเพื่อน อยู่โรงเรียน หรือได้รับอุบัติเหตุในระหว่างที่พ่อแม่ไม่อยู่ด้วย เริ่มสอนเลยค่ะ!
ขั้นตอนที่ 1 : ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือเพื่อทำความสะอาดแผล
ขั้นตอนที่ 2 : ใช้สำลีแผ่น หรือ ก้านไม้พันสำลีชุบโพวิโดน-ไอโดดีนทาให้ทั่วเพื่อยับยั้งการติดเชื้อ
ขั้นตอนที่ 3 : ใช้พลาสเตอร์ปิดแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าแผล
ขั้นตอนที่ 1 : ล้างบาดแผลมีบาดด้วยน้ำสะอาด อาจใช้วิธีเปิดน้ำไหลผ่านบาดแผล โดยใช้นิ้วกดบาดแผลไว้ด้วยเพื่อห้ามเลือด
ขั้นตอนที่ 2 : ใช้สำลีชุบน้ำเกลือแผลให้สะอาดอีกรอบ
ขั้นตอนที่ 3 : ใช้สำลีแผ่น หรือ ก้านไม้พันสำลีชุบยาโพวิโดน-ไอโดดีนทาให้ทั่วเพื่อยับยั้งการติดเชื้อ จากนั้นใช้พลาสเตอร์ปิดแผลพันปิดให้แน่น โดยอาจเลือกพลาสเตอร์ปิดแผลแบบกันน้ำ
ขั้นตอนที่ 4 : ในกรณีที่แผลมีดบาดค่อนข้างยาว หรือ แผลลึกกว่าปกติ อาจเปลี่ยนมาใช้ผ้าก๊อซและเทปกาวติดแผลแทน หรือหากแผลลึกมากควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพราะอาจจะต้องเย็บแผล
ขั้นตอนที่ 1 : ล้างผิวบริเวณที่เกิดการกระแทกและฟกช้ำให้สะอาด จากนั้นใช้เจลประคบเย็น หรือใช้น้ำแข็งห่อด้วยผมขนหนูสะอาดประคบบริเวณที่บวม แดง ฟกช้ำ ครั้งละ 2-5 นาที เป็นระยะๆ
ขั้นตอนที่ 2 : ใช้บาล์มลดหรือแก้อาการฟกช้ำทา โดยอาจทาเป็นวงกว้างออกนอกบริเวณฟกช้ำไปอีกเล็กน้อย
ขั้นตอนที่ 3 : รอยฟกช้ำไม่จำเป็นต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผล แต่หลังจากประคบเย็นไปแล้ว 24 ชั่วโมง ให้ประคบร้อนเพื่อลดอาการบวม โดยอาจใช้เจลประคบแช่ในน้ำร้อน หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน บิดหมาดและนำมาประคบ จะช่วยให้รอยฟกช้ำหายไวขึ้น
ทั้ง 3 อุบัติเหตุและวิธีปฐมพยาบาลข้างต้นไม่ยากเลยนะคะ และคุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ลูกทำเองได้เพื่อการดูแลตัวเองและช่วยเหลือเพื่อนๆ ได้เบื้องต้นค่ะ รวมถึงควรมีชุดปฐมพยาบาลติดบ้าน ติดรถ หรือติดตัวลูกเสมอเพื่อหยิบใช้ได้ตลอดเวลา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก