ช่วงนี้ได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น หลาย ๆ คนแทบจะไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนใกล้ตัวของผู้ป่วย จนสุดท้ายกว่าจะเข้าใจหรือช่วยเหลือได้ก็เกือบสายเกินไป
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตบอกว่า ความรู้สึกเศร้า ถ้าเป็นในช่วงระยะสั้นๆ เป็นครั้งคราวถือว่าเป็นสิ่งปกติ แต่ถ้าความรู้สึกเศร้านั้นเป็นระยะเวลานาน และรุนแรงจนส่งผลกระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวันก็จัดว่าเป็นภาวะปกติในทางคลินิก หรือป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั่นเอง
ภาวะซึมเศร้ามีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ และความรุนแรง เช่น ภาวะซึมเศร้าจากการปรับตัว หรือจากความเครียดในการปรับตัว (adjustment disorder) โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (dysthymia) และ โรคซึมเศร้ารุนแรง (major depression) เป็นต้น ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้จัดทำแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าสำหรับประชาชนได้เข้าไปทดสอบและตรวจเช็กเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขและรักษากันต่อไป
สำหรับแบบทดสอบของเด็กนั้น ให้ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ แปลมาจาก Beck Depression Inventory ของ Maria Kovacs เป็นคำถามทั้งหมด 27 ข้อ เกี่ยวกับอาการซึมเศร้าในด้านต่างๆ ที่พบในเด็กพ่อแม่สามารถดาวน์โหลดได้เลยตรงนี้ >>> แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก
โดยแต่ละคำถามจะมีตัวเลือก 3 ข้อ ซึ่งบอกถึงความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา แต่ละตัวเลือกจะมีคะแนนความรุนแรงของอาการ ได้แก่
0 คะแนน หมายถึง ไม่มีอาการเศร้าเลย หรือมีน้อย 1 คะแนน หมายถึง มีอาการบ่อย ๆ และ 2 คะแนน หมายถึง มีอาการตลอดเวลา ซึ่งเกณฑ์การคิดคะแนนมีดังนี้
เมื่อรวมคะแนนทุกข้อแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ปกติ เด็กที่ได้คะแนนรวมสูงกว่า 15 คะแนนขึ้นไปมีแนวโน้มจะมีภาวะซึมเศร้า ซึ้งผลรวมของคะแนนทั้งหมดเป็นเพียงการคาดการณ์เบื้องต้น อย่างไรก็ตามการพาลูกไปพบจิตแพทย์เป็นอีกแนวทางในการรักษาโรคซึมเศร้าในเด็กค่ะ
ที่มา : กรมสุขภาพจิต