ช่วงหน้าฝนแบบนี้ เด็ก ๆ ที่ถูกฝนแล้วไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที อาจจะทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยไม่สบายได้ง่าย ซึ่งพบว่าอาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดมีทั้งหมด 6 โรค มีดังนี้
พบมากในช่วงหน้าฝน ซึ่งบางปีอาจจะพบจากการระบาด ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน อาการหลัก ๆ คือ เด็กจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ไอ หรือเจ็บคอ ซึ่งเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ จะมีโอกาสเสี่ยงและมีอาการรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น
สำหรับการป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุด คือ คนป่วยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่น รวมถึงใส่หน้ากาก ล้างมือ และรับประทานอาหารให้ถูกสุขอนามัย จะเป็นการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
เกิดจากเชื้อไวรัส พบได้ฃตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงหน้าฝน สำหรับกลุ่มอาการของโรค เด็กจะมีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขาและก้นร่วมด้วย พบมากในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี (อนุบาลถึงประถม) อาการมักหายได้เองภายใน 3-10 วัน ติดต่อทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ มีระยะฟักตัว 3-6 วัน พบเชื้อทางน้ำลาย 2-3 วันก่อนมีอาการ จนถึง 1-2 สัปดาห์หลังมีอาการ
สำหรับการป้องกัน ผู้ปกครองควรดูแลลูกในเรื่องอาหาร น้ำดื่ม และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้ลูกเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัด และควรมีกระติกน้ำหรือแก้วน้ำส่วนตัวให้ลูกไปใช้ที่โรงเรียน รวมถึงปลูกฝังและฝึกให้ลูกใช้ช้อนกลางขณะรับประทานอาหารทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือที่บ้านก็ตาม
เป็นโรคที่มี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าได้รับเชื้อแล้วจะมีไข้สูงเกิน 3 วันขึ้นไป ตาและหน้าจะเริ่มแดง มีความรู้สึกอ่อนเพลีย และปวดท้อง โรคนี้ระบาดได้ทั้งปี โดยเฉพาะในหน้าฝน เพราะโอกาสที่น้ำจะขังมีได้มาก เพราะฉะนั้นอาการที่ให้สงสัยว่าลูกของคุณอาจจะเป็นไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงมาก กินยาลดไข้เท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล ปวดหัว ปวดกระบอกตา หรือปวดเมื่อยตามตัว มีอาการตาแดง หน้าแดง และปากแดง เป็นต้น
สำหรับการป้องกัน คือ พยายามอย่าให้ยุงกัดและอย่าให้ยุงเกิด ด้วยการจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และอย่ารอให้เกิดอาการที่รุนแรงแล้วจึงมาพบแพทย์ เช่น มีไข้สูง ช็อค หรือมีปัญหาเลือดออกง่าย ต้องรีบพาลูกมาพบแพทย์ทันที
เป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นกันบ่อย มักจะเป็นในบางช่วง เมื่อเป็นแล้วมักจะติดกันเป็นทอดๆ โดยเฉพาะการติดต่อจากเพื่อนที่โรงเรียน กลุ่มอาการของโรค ได้แก่ ผู้ป่วยจะมีไข้ เป็นผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นตามตัว โดยเริ่มจากบริเวณท้องแล้วลามไปตามต้นแขน ขา และใบหน้า หลังจากนั้นจะเกิดเป็นสะเก็ดและแผลเป็นขึ้นได้ มักหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ คุณแม่จึงควรพยายามดูแลรักษาร่างกายของคุณลูกให้แข็งแรงอยู่
สำหรับการป้องกัน ทำได้โดยพยายามอย่าให้ลูกเข้าใกล้กับผู้ป่วย หรือล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น
เกิดขึ้นเพราะลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรต้าไวรัส ซึ่งมาจากของเล่น อาหาร หรือของใช้ใกล้ตัวเด็กที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะเด็กเล็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่เข้าใจเรื่องของสุขอนามัย จึงมักนำของเล่นหรือของใช้ที่มีเชื้อนี้เข้าปากโดยไม่รู้ตัว จากนั้นจะถูกขับออกทางอุจจาระของผู้ป่วย อาการส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการท้องเสีย อาเจียน บางรายอาจจะมีไข้สูง กินอาหารได้น้อยลง งอแง ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ
สำหรับการป้องกัน ควรให้เด็กทารกกินนมแม่จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง และดูแลสุขลักษณะการกิน การเล่นให้เหมาะสม ขณะเดียวกันไม่ควรพาเด็กเข้าเนอสเซอรี่เร็วเกินไป เพราะเด็กที่อยู่ด้วยกันเยอะๆ การแพร่กระจายของเชื้อจะมีได้ง่าย
โรคไอพีดี หรือที่เรียกว่า Invasive Pneumococcal Disease คือโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส” ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและที่เยื้อหุ้มสมอง ซึ่งมีความรุนแรง และอาจทำให้เด็กพิการ หรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ถ้าติดเชื้อที่ระบบประสาท เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาจเจียน คอแข็ง เด็กเล็กจะมีอาการงอแง ซึม และชักได้
นอกจากนี้เจ้าเชื้อ “นิวโมคอคคัส” ยังเป็นสาเหตุหลักของโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบได้อีกด้วย ซึ่งจากข้อมูลการประเมินขององค์กรอนามัยโลก และยูนิเซฟพบว่า ปอดบวมเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีเด็กที่เสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึง 2 ล้านคนต่อปี ซึ่งมากกว่าโรคเอดส์ มาลาเรีย และหัดรวมกัน
สำหรับการป้องกัน คือ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่น รวมถึงใส่หน้ากาก ล้างมือ และรับประทานอาหารให้ถูกสุขอนามัย จะเป็นการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้สุขภาพที่ดีของลูกก็ต้องมาจากสุขภาพที่ดีของคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน ยิ่งช่วงหน้าฝนแบบนี้ละก็ ยิ่งต้องอยู่ดูแลใกล้ชิดลูกให้มากๆนะคะ