คุณแม่หลายคนอยากให้ลูก “หัวทุย” สวยได้รูป วันนี้เรามีเคล็ดลับดี ๆ ช่วยเคล็ดลับช่วยลูกหัวสวย ลูกหัวทุย ลูกไม่หัวแบนมาฝากกันค่ะ
เคล็ดลับเด็กหัวทุย นอนท่าไหนไม่เสี่ยงโรคไหลตาย SIDs
ลูกหัวไม่ทุย หรือหัวแบน มีลักษณะอย่างไร
- ทารกที่หัวไม่ทุย จะมีลักษณะกะโหลกศีรษะด้านท้ายทอยแบนราบ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
- ทารกหัวเบี้ยว จะมีลักษณะศีรษะด้านท้ายทอยแบนราบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
ทำไมลูกหัวไม่ทุย ทำไมลูกหัวแบน
- เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด มีสาเหตุจากการถูกกดทับของมดลูกต่อกะโหลกท้ายทอยทารกเป็นเวลานาน ส่วนมากเกิดกับคุณแม่ที่มีลูกแฝด หรือสาเหตุมาจากอุปกรณ์ช่วยคลอด เช่น คีม หรือเครื่องสูญญากาศ มักเกิดกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่าเด็กที่คลอดตามปกติ เนื่องจากกะโหลกศีรษะจะมีความอ่อนนุ่มมากกว่า
- เกิดขึ้นหลังคลอด สาเหตุนี้เกิดจากท่านอนของทารกที่กะโหลกศรีษะถูกกดทับจากด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปจนกะโหลกท้ายทอยแบน หรือเบี้ย;
เคล็ดลับช่วยลูกหัวสวย ลูกหัวทุย ลูกไม่หัวแบน
- แรกเกิด - 3 เดือน ท่านอนที่เหมาะสมที่สุด คือ ท่านอนหงาย และท่านอนตะแคง คุณแม่ควรให้ทารกนอนตะแคงข้างซ้าย - ขวา สลับกันบ่อยๆ เพราะเป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะอ่อนที่สุด ยังไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำ เนื่องจากกระดูกคอ และกระดูกสันหลังของลูกยังไม่แข็งแรง ทำให้ทารกไม่สามารถยกคอขึ้นเองได้ หากให้ลูกนอนคว่ำทั้งที่ยังไม่พร้อมอาจทำให้ทารกเสียชีวิตขณะนอนหลับจากภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)
- วัย 4 - 6 เดือน ช่วงนี้ทารกสามารถนอนคว่ำได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากกระดูกคอเริ่มแข็งแรง สามารถยกคอขึ้นเองได้ นอกจากท่านอนคว่ำจะสามารถช่วยให้ลูกหัวทุยเพราะไม่ถูกกดทับจากการนอนแล้วยังช่วยลดอาการนอนสะดุ้ง หรือผวาในทารกได้อีกด้วย
- วัย 7 - 12 เดือน ทารกวัยนี้สามารถนอนหงาย นอนตะแคง และนอนคว่ำได้ทั้ง 3 ท่า เนื่องจากทารกสามารถพลิกตัวได้แล้ว
ทิปส์ : การใช้เปลอุ้มเด็กก็สามารถช่วยให้ลูกหัวทุยได้ เนื่องจากการใช้เปลอุ้มเด็กโดยการให้ลูกหันหน้าเข้าหาพ่อ หรือแม่จะช่วยให้ศีรษะลูกเป็นอิสระ ไม่ถูกกดทับ