มีลูกยาก...การบ้านก็ทำแล้วนะ...พึ่งทุกทางแล้วเนี่ยะ...เจ้าตัวเล็กก็ยังไม่มาซักที
ชวนคนอยากมีลูก มีลูกยากมาปั้นน้ำเชื้อให้เป็นตัว โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พญ.อัญชุลี พฤฒิวรนันทน์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์รักษา ผู้มีบุตรยากและผ่าตัด ผ่านกล้องทางนรีเวช โรงพยาบาลวิภาวดี
จำนวนคนไข้ที่มีบุตรยากมีเพิ่มขึ้น จริงๆ มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี อาจจะด้วยว่ามันคงสะสมมาระยะหนึ่ง ด้วยเทรนด์ที่คนกว่าจะตั้งตัวได้ กว่าจะเรียนจบ ด้วยอายุถือเป็นปัจจัยหนึ่ง เพราะกว่าจะเรียนจบ ก็ยังต้องทำงานก่อน จะมามีลูกก็ยังไม่มีเงินเลี้ยงลูก พออยากจะมีลูกอายุก็มากขึ้น
ซึ่งจริงๆ โดยทฤษฏี พออายุมากเกิน 35 ปี ก็จะเข้าข่ายมีบุตรยากแล้ว มีแนวโน้มไม่ใช่ว่ามีไม่ได้ ถ้าสมมติว่าอายุเกิน 35 ปี ก็ไม่ควรปล่อยนาน บางคนแต่งงาน 35 36 ละไม่เป็นไรหรอกเดี๋ยวก็มี ไม่ได้นะคะเพราะว่าเป็นปัจจัยแล้ว ต้องมีการบ้านแล้วละต้องตอบโจทย์ตัวเองแล้วว่าอยากมีลูกตอนไหน อยากมีลูกอายุเท่าไหร่ ก็จะต้องวางแผนละ ถ้าเราอยากมีเร็วก็ไม่ควรปล่อยเลยตามเลย ต้องจริงจัง โดยทฤษฎีถ้าปล่อยมีลูกนานเกินกว่า 12 เดือน หรือ 1 ปี ก็ยังไม่มีก็ควรจะต้องพบแพทย์แล้ว แต่ถ้าอายุเกิน 35 ปี ก็ไม่ควรรอนานถึง 12 เดือน ควรจะเป็น 6 เดือน ถ้าจริงจังแล้วยังไม่มีควรมาพบแพทย์ได้แล้ว
มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับปัจจัยในแต่ละคู่ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องตรวจร่างกายก่อนทั้งผู้หญิงและผู้ชายเพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขไปตามสาเหตุนั้นๆ บางคนอาจจะต้องมีผ่าตัดก่อนแก้ไข ถ้าเจอโรคเช่น เนื้องอกมดลูก หรือว่ากลุ่มซีสต์รังไข่ ก็จะต้องไปผ่าตัดก่อนการวางแผนมีบุตร พอแก้ไขเสร็จเรียบร้อยก็เข้าสู่กระบวนการรักษาเรื่องการมีบุตร
ถ้าง่ายที่สุดคือถ้ารังไข่ไม่ค่อยดีแล้วตกไข่ไม่ค่อยดีก็อาจใช้ยากระตุ้นไข่ เป็นวิธีแรก อันนี้ในกรณีที่คุณพ่อแข็งแรงดี ทุกคนแข็งแรงดี แต่ไข่อาจมีขี้เกียจบ้าง คุณภาพไม่ค่อยดี เพื่อที่จะได้ไข่ที่สมบูรณ์รู้วันตกไข่ที่ชัดเจนหลังจากนั้นก็กระตุ้นไข่ด้วยวิธีรับประทานธรรมดาไม่ต้องฉีดอะไร ถ้าปัจจัยไม่เยอะจะลองวิธีนี้ก่อน
ซึ่งถ้าเรารู้วันตกไข่ที่แน่นอนโอกาสของการทำการบ้านอยู่แค่ 24-48 ชั่วโมง ปกติเรารักษาแต่ละคู่เราก็จะบอกเลยว่ามันจะประมาณการวันตกไข่ได้ ถ้าอยู่คนละจังหวัด อยู่คนละที่ก็ต้องวางแผนกลับมาเจอกัน
สำหรับวิธีต่อไปถ้ากระตุ้นไข่แล้วยังไม่สำเร็จ โดยทั่วไป 3-6 เดือนควรต้องเริ่มขยับวิธีอื่น ซึ่งวิธีต่อไปก็จะเป็นเรื่องของการฉีดเชื้อ ก็คือนำน้ำเชื้อหรืออสุจิของฝ่ายชายหลั่งออกมาและบางที่อาจจะมีทั้งตัวที่สมบูรณ์ ไม่สมบูรณ์ วิ่งได้บ้าง จอดนิ่งบ้าง ก็เอามาล้างเอามาคัดเชื้อเอาเฉพาะตัวที่สมบูรณ์ เสร็จแล้วก็ฉีดกลับเข้าไปในโพรงมดลูก หมอชอบอธิบายคุณไข้ง่ายๆ ว่านึกถึงสภาพรถติด บนถนนมีทั้งรถติด รถแข่ง รถจอดตาย มันก็มีตัวดีๆ นะ มีรถแข่ง มันวิ่งไปไม่ได้รถมันติดก็ต้องมาล้างมาคัดเชื้อเอาเฉพาะรถแข่งแล้วนอกจากนั้นส่งขึ้นทางด่วนด้วย เพื่อไปให้ถึงผิวไข่เพื่อไปปฏิสนธิให้ได้ วิธีนี้เรียกว่า IUI
ถ้าเทียบกับวิธีแรกคือการกระตุ้นไข่อย่างเดียวเทียบเป็นระดับเท่าคือมีมากกว่าประมาณ 2-3 เท่า แต่ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ต้องนับจากธรรมชาติก่อนโดยที่ไม่ทำอะไรเลยโอกาสท้อง 1-2 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน หมายความว่า 100 คู่ มีโอกาสสำเร็จ 1-2 คู่ต่อเดือน แต่ถ้าเป็นสเต็ปแรกที่เล่าให้ฟังไปเป็นการกระตุ้นไข่อย่างเดียวก็จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวก็จะเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ก็ขยับมาเป็น 20 คู่ท้อง 1 คู่ แล้วพอมาเป็น IUI ก็เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 10 เปอร์เซ็นต์
วิธีนี้นิยมมากที่สุด ถ้าเทียบกับฐานคนไข้ทั้งหมด เพราะราคาไม่แพง แล้วก็ยังเป็นหัตถการที่ไม่ค่อยเจ็บตัว ไม่โดนฉีดยาอะไรมากมาย ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ นัดวันมากระตุ้นไข่ นัดวันมาฉีดเชื้อ
วิธีต่อไปจะขยับมาเป็นเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเด็กหลอดแก้วจริงๆ ก็จะมี 2 แบบ ก็คือ IVF กับ อิ๊กซี่ ก็คือICSI แต่เราก็จะเรียกเป็นอิ๊กซี่ ซึ่งจริงๆ ทั้ง IVF และ อิ๊กซี่ คือเด็กหลอดแก้วทั้งหมด หมายความว่าเก็บไข่ออกมาข้างนอก เก็บสเปิร์มออกมาปฏิสนธิเสร็จเรียบร้อย พอทำให้เป็นตัวอ่อนแล้วที่ห้องแลป
พอได้ตัวอ่อนมาแล้วย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกนี่คือเป็นเด็กหลอดแก้ว แต่ว่าต่างกันอย่างไร IVF คือการเอาสเปิร์ม ล้าง คัด หยอดลงไปที่ผิวหน้าไข่โดยเฉพาะ สเปิร์มยังต้องเจาะไข่เองเพื่อที่จะเข้าไปปฏิสนธิ แต่ถ้าเป็นอิ๊กซี่ก็คือ 1ไข่ ต่อ 1 สเปิร์ม คือฉีดสเปิร์มเข้าไปในใจกลางไข่เลย เพื่อที่จะทำให้เขาปฏิสนธิได้สมบูรณ์ที่สุด ปอกเปลือกไข่ก่อนด้วยแล้วก็ยิงสเปิร์มเข้าไปด้วยแล้วก็เฝ้าดูด้วยว่าเขาจะเจริญเติบโตแบ่งเซลล์หรือเปล่า ซึ่งมีโอกาสสูงมากตั้งแต่ 50 เปอร์เซ็นต์ ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยในแต่ละคู่
วิธีการนี้เจ็บตัวในช่วงที่ต้องกระตุ้นไข่ เพราะว่ายากระตุ้นไข่จะต้องเป็นยาฉีด จะต้องฉีดยาทุกวัน ฉีดประมาณ 8-10 วัน ฉีดแล้วต้องมามอนิเตอร์ก็คือต้องมีการอัลตราซาวนด์บ่อยมากขึ้นเพื่อที่จะเห็นไข่เติบโตตามระยะ มีการปรับยากระตุ้นไข่ และเจ็บตัวอีกทีตอนเก็บไข่
แต่จริงๆ แล้วเวลาเก็บไข่จะเจ็บตอนฉีดยาเพราะนอนเสร็จหมอก็จะฉีดยานอนหลับให้ ที่เหลือก็เป็นหน้าที่คุณหมอ ที่เหลือหลับสบาย คนไข้บอกว่าจะกลัววันเก็บไข่ที่สุดแต่ปรากฎว่าไม่เจ็บเลยเพราะนอนหลับไป ตื่นมาก็เสร็จแล้ว
ทางการแพทย์ไม่ต้องการเลย หมอทุกคนที่รักษาในกลุ่มมีบุตรยากไม่อยากให้เกิดแฝดเลย เพราะเวลาที่เราทำให้คนไข้ท้องคนหนึ่งเรามองไปถึงจุดที่ต้องคลอดแล้ว เพราะฉะนั้นเรามองไปถึงระยะยาวเลยว่ามีความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ การแท้ง คลอดก่อนกำหนดไหม เด็กจะออกมาสมบูรณ์ไหม
เพราะฉะนัั้นเมื่อไหร่เป็นแฝดจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอยู่แล้วไม่ว่าแท้งคูณเป็นสองเท่า ถ้าเป็นแฝดสองก็คูณสองเท่าระหว่างทางก็มีโอกาสที่จะกระตุ้นครรภ์เป็นพิษ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ความดันสูง คลอดก่อนกำหนด ซึ่งพอคลอดก่อนกำหนดก็ขึ้นอยู่กับว่าเด็กคลอดก่อนกำหนดมากน้อยแค่ไหน ถ้าก่อนกำหนดมากก็ต้องอยู่ตู้อบ ซึ่งเสียเงินแล้วค่าใช้จ่ายในการมอนิเตอร์ก็เยอะ ซึ่งเป็นความเจ็บของแม่ที่เห็นลูกนอนอยู่ในตู้
หมอไม่อยากได้แฝดแต่ว่าเทคโนโลยีในการกระตุ้นไข่มีโอกาสได้ไข่มากกว่าธรรมชาติ ก็คือถ้าเป็น IUI มีโอกาสได้ไข่ตั้งแต่ หนึ่งใบสองใบสามใบแล้วเราคอนโทรลให้มีการปฏิสนธิไม่ได้ เนื่องจากว่าเราปล่อยเชื้อเข้าไปปฏิสนธิในช่องท้อง เพราะเราฉีดสเปิร์มเข้าไปในมดลูกเลย
เพราะฉะนั้นสมมติมาบังเอิญติดทั้งหนึ่งไข่สองไข่สามไข่ ก็มีสิทธิ์เป็นแฝดสองแฝดสามได้ เพราะฉะนั้นการ IUI ก็มีข้อกำหนดว่าเมื่อไหร่มีไข่เกินสามใบห้าม IUI ทันที จะต้องยกเลิก อันนี้เป็นข้อบางชี้ทางการแพทย์ เพราะถ้ามีโอกาสที่ได้มากกว่าสามก็เป็นแฝดสี่แฝดห้า ซึ่งความเสี่ยงก็จะเยอะมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็น IUI โอกาสที่จะคอนโทรลเรื่องของแฝดก็จะอยากกว่าที่เป็นเด็กหลอดแก้ว
แต่ถ้าเป็นเด็กหลอดแก้วก็คือไม่ว่าจะเป็น IVF หรืออิ๊กซี่ ซึ่งจริงในปัจจุบัน IVF ไม่ค่อยมีใครทำแล้วนะคะ เนื่องจากอิ๊กซี่ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้สูงกว่าเนื่องจากเราบังคับปฏิสนธิเลย จริงๆ ถ้าความเข้าใจของหมอ 98-99 เปอร์เซ็นต์ เรียกว่าเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
ในประเทศไทยตอนนี้ทำเป็นอิ๊กซี่หมดทุกเซ็นเตอร์เพราะโอกาสการตั้งครรภ์สูงกว่า ยกเว้นว่าเซ็นเตอร์ไหนนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถคอนโทรลเรื่องของการทำอิ๊กซี่ได้เขาก็อาจจะมั่นใจในการทำ IVF มากกว่าก็คือแล้วแต่เซ็นเตอร์นั้นๆ แต่ถ้าอย่างเซ็นเตอร์โรงพยาบาลวิภาวดีคือทำอิ๊กซี่ 100 เปอร์เซ็นต์มา 15 ปีแล้วไม่มี IVF เลย
ย้อนกลับไปเรื่องแฝด ถ้าเป็นเด็กหลอดแก้วมันก็มีโอกาสเก็บไข่ออกมาได้มากอยู่แล้ว มีตั้งแต่สามใบในคนอายุเยอะจนกระทั้งถึง 20-25 ใบในคนอายุน้อยลง เพราะฉะนั้นถ้า 20-25 ใบก็มีโอกาสเป็นตัวอ่อนประมาณเป็น 10 ตัว พอเป็น 10 ตัวเราเลือกย้ายตัวอ่อนที่ดีที่สุด เวลาย้ายตัวอ่อนก็จะย้ายได้ 1 หรือ 2 ตัว
ปัจจุบันทางราชวิทยาลัยหรือสมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แนะนำว่าไม่ควรย้ายตัวอ่อนเกิน 2 ตัว ซึ่งจริงๆ แนะนำให้ย้ายตัวอ่อนทีละตัวเท่านั้นเพราะว่าเราไม่ต้องการแฝดอย่างที่บอก และโดยเฉพาะคนที่มีลูกยากอายุเยอะความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนต่างๆ ก็ยิ่งมากขึ้นไปอีกเพราะฉะนั้นแฝดจะเรียกเป็นเหมือนภาวะแทรกซ้อนที่เราไม่อยากได้ก็ได้จริงแล้วดูเหมือนคุ้มแต่หมอจะพยายามบอกคนไข้ทุกคนว่าความคุ้มมันต้องมองไปถึงจุดสุดท้าย
ถ้าให้อธิบายเรื่องของพัฒนาการจริงๆ เลี้ยงลูกทีละคนดีกว่าเรามอบความรัก แล้วดูแลเอาใจใส่เขาได้มากที่สุดทีละคนรวมถึงพัฒนาการที่พี่กระตุ้นน้องตามลำดับไปด้วย
การทำด้วยเทคโนโลยีมีงานวิจัยออกมาเป็นหมื่นๆ งานวิจัยเลย และได้ข้อสรุปมาเป็น 10 ปีแล้วว่าไม่มีผลใดๆ ทุกอย่างเทียบเท่ากับธรรมชาติ แต่ถ้าในส่วนของเรื่องภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ให้อธิบายในแง่ของพื้นฐานของคนที่มีลูกยากมักมีปัจจัยอยู่แล้วไม่ว่าจะอายุเยอะหรือว่าอาจจะโรคที่เป็นมาอยู่เดิม เนื้องอกมดลูก พังผืด ซีสต์รังไข่
ทั้งหมดทั้งมวลคือการทำให้เกิดในเรื่องโอกาสการคลอดก่อนกำหนด อาจมีภาวะรกเสื่อม น้ำคล่ำน้อย เพราะฉะนั้นในช่วงท้ายๆ ก็ต้องมีการพักผ่อนมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ลูกไปถึงการคลอดครบกำหนดให้ได้ จริงๆ ไม่เฉพาะไตรมาสสามตั้งแต่ไตรมาสแรก แล้วก็พูดถึงความพยายามความจริงจังในแต่ละคู่สมรสกว่าจะได้มาก็เหมือนแบบ Golden Child / Platinum Child ไม่รู้จะตั้งระดับไหน ก็เหมือนเป็นเด็กที่เราต้องประคบประหงมเขาหน่อยกว่าจะได้เขามา เสียเงินก็มาก เสียเวลาไปเสียทุกสิ่งอย่าง
สำหรับการดูแลก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ถ้าเป็นแค่ปัจจัยน้อยๆ กระตุ้นไข่น้อยๆ จริงๆ ก็เหมือนกับการตั้งครรภ์ปกติ ก็คือใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ถ้าเกิดว่าต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้นก็อาจจะต้องเฝ้าระวัง คืออาจจะเกิดเหตุก็ได้ เกิดเหตุที่จะมีภาวะแทรกซ้อน หรือคลอดก่อนกำหนด
ทั้งนี้ทั้งนั้นหมอที่ดูแลเวลาที่เราฝากครรภ์ก็จะประเมินอยู่แล้วว่าเราเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนไหม เพราะฉะนั้นอย่างแรกเลยคือเชื่อฟังหมอไปฝากครรภ์สม่ำเสมอตามกำหนด ถ้ามีความเสี่ยงอะไรพอหมอแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมพอเราตรวจแล้วถ้ามีภาวะแทรกซ้อน ก็จะต้องปฏิบัติตัวมีวินัยตามระยะของการตั้งครรภ์
อย่างแรกต้องทำการบ้านก่อนคุยกันว่าพร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมเลยก็ไม่ต้องกลัวที่จะมาตรวจ จริงๆ แล้วตรวจเบื้องต้นพอเราจอสาเหตุก็จะได้รักษาไปตามสาเหตุนั้นๆ ตรวจเบื้องต้นควรจะมาตรวจทั้งคู่ ตรวจทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย แล้วก็ระหว่างทางที่รักษาไปก็ควรดูแลสุขภาพ ตั้งใจเต็มที่ แล้วก็เรื่องการดูแลสุขภาพตัวเอง การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดีช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรง แล้วก็วิตามินที่เตรียมการตั้งครรภ์ก็ควรจะเริ่มกินได้ จริงๆ มีแค่โฟลิกเม็ดเล็กๆ วันละเม็ดก็ทานไปเลยทานได้นานเลย
บางคนถามว่าอยากมีลูกปีหน้าทานได้เลยไหม จริงๆ คือทานไว้ได้เลยค่ะ โฟลิกก็คือดูแลในเรื่องเซลล์พื้นฐานตั้งแต่หัวจรดเท้า คือเป้าหมายหลักเราต้องการให้เซลล์ไข่คุณภาพดีป้องกันความพิการของทารกได้ด้วย แต่จริงๆ โฟลิกเป็นสารตั้งต้นที่ดูแลผิวดูแลผมได้ด้วย
ที่โรงพยาบาลวิภาวดีเราทำเป็นเทคนิคอิ๊กซี่มากที่สุด ทำมาเป็น 15 ปีแล้ว ก็คือในอัตราการตั้งครรภ์ของเราค่อนข้างสูงคือ 50-80 เปอร์เซ็นต์ อย่างที่บอกมีโอกาสได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์เลยถ้าปัจจัยไม่ได้เยอะมาก รวมถึงเรามีห้องแล็ปของเราเองไม่ได้จำเป็นต้องส่งไข่หรือตัวอ่อนออกไปที่อื่น แล้วยังสามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ด้วยในคนที่มีข้อบ่งชี้ สามารถบ่งชี้ได้เลยว่าตัวอ่อนมีโครโมโซมที่ปกติไหม มีโครโมโซมผิดปกติมากน้อยแค่ไหน โรงพยาบาลเรามีหมอเฉพาะทางหลายท่านสามารถที่จะให้บริการได้ทุกวันทั้ง 7 วัน เข้ามาได้ตามวันที่สะดวกค่ะ
พบกับ รายการ รักลูก The Expert Talk ทุกวันพฤหัสบดีที่ 1 2 และ 3 ของเดือน
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u