ทารกท้องอืด มักเกิดจากการกลืนลมเข้าไปในท้องมากไปในขณะกินนม รวมถึงทารกที่ดื่มนมผสมย่อยยากก็อาจทำให้ท้องอืด ท้องผูกได้เช่นกัน ดังนั้น หากไม่อยากให้ทารกท้องอืด คุณแม่ต้องเลือกโภชนาการที่เหมาะกับการย่อยของเด็ก เช่น การเลือกอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่มีส่วนช่วยในการสร้างสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร เป็นต้น
จุลินทรีย์ LPR ซึ่งก็คือโพรไบโอติกส์ ที่พบในน้ำนมแม่ และเมื่อลูกได้รับจุลินทรีย์เหล่านี้ ก็จะไปทำหน้าที่สร้างสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ทำให้การย่อย ดูดซึม และการขับถ่ายของลูกเป็นปกติ ป้องกันอาการทารกท้องอืดและท้องผูกได้เป็นอย่างดี
ผลวิจัยทางการแพทย์ยังระบุว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ LPR ยังมีประโยชน์กับสุขภาพของเด็กในระยะยาวด้วย คือ เมื่อระบบทางเดินอาหารและการย่อยทำงานได้ดี ก็จะส่งผลต่อกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ ไม่เจ็บป่วยง่าย เด็กจะมีพัฒนาการสมวัย อารมณ์ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กพร้อมเรียนรู้อยู่เสมอค่ะ
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ LPR นอกจากจะพบมากในนมแม่แล้ว ยังพบมากในโยเกิร์ตและนมบางชนิด หากคุณแม่สังเกตว่าลูกทารกท้องอืดบ่อย ๆ อาจลองปรับเปลี่ยนท่าทางการดื่มนม การดูแลหลังดื่มนม รวมไปถึงการเลือกโภชนาการที่เหมาะกับการย่อยและดูดซึมของลูก เพื่อลดอาการทารกท้องอืดได้ค่ะ
อาการทารกท้องอืด หากดูแลอย่างถูกต้องโดยเริ่มจากการให้นมแม่ ซึ่งมีจุลินทรีย์ LPR และการช่วยลูกไล่ลม ก็จะช่วยป้องกันทารกท้องอืดได้ก่อนเกิดอาการค่ะ แต่หากปล่อยไว้นานลูกอาจเป็นโคลิคที่มีสาเหตุจากอาการท้องอืด ปวดท้อง ไม่สบายตัว ที่ส่งผลต่ออารมณ์และการเรียนรู้ได้ค่ะ
คุณแม่ท่านใดที่อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการทารกท้องอืดของลูกน้อย จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ วิธีสังเกตอาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีแก้เมื่อลูกท้องอืดจากผู้เชี่ยวชาญ ได้เลย
ทารกตดบ่อย แต่ไม่ถ่าย ต้องดูแลยังไง อ่านเพิ่มได้ที่ >>> ทารกตดบ่อย แต่ไม่ถ่าย
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.nestlemomandme.in.th/2-techniques-to-burp-a-baby
https://www.nestlemomandme.in.th/lpr-benefits
#LPRจุลินทรีย์ในนมแม่ #เพราะแกร่งจึงเก่งได้อย่างใจฝัน
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)