ลูกเป็นไข้ หกล้ม หัวโน 3 อาการที่เด็กแทบทุกคนต้องเจอทั้งที่แม่ป้องกันดีแล้วเชียว คุณหมอมีเทคนิคปฐมพยาบาลและดูแลลูกจาก 3 อาการนี้มาแนะนำค่ะ
Top 3 อาการเจ็บป่วยที่ลูกเล็กต้องเจอ มีไข้ หกล้ม หัวโน พร้อมวิธีรับมือดูแลแบบแม่มือโปร
สิ่งที่พ่อแม่ต้องจำให้ขึ้นใจคือ "ห้ามงดกิจกรรมสำหรับเด็ก" เพราะเป็นวิธีที่ผิดในการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กค่ะ แต่นั่นจะยิ่งขัดขวางและไม่ส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยของเขา สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของลูก รวมทั้งรู้วิธีปฐมพยาบาลอุบัติเเหตุ อย่าง หกล้อม หัวโน หรืออาการไข้ตัวร้อน
3 สิ่งที่พ่อแม่ต้องเผชิญ คือลูก “มีไข้” “หกล้ม” “หัวโน”
- ลูกมีไข้ ตัวร้อน
เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ที่เป็นไข้ ตัวร้อนมักเกิดจากการติดเชื้อ เพราะเด็กมักมีความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ ทั้งจากการไปโรงเรียน ไปเล่นนอกบ้าน หรือการที่ผู้ใหญ่ พี่น้องในบ้านเจ็บป่วย
- ลูกหกล้ม
เมื่อลูกหกล้มมักทำให้เกิดแผลถลอก หรือเด็กบางคนก็เกิดเป็นรอยฟกช้ำ เนื่องจากมีเลือดคั่งใต้ชั้นผิวหนัง จากสถิติพบว่า “การพลัดตกหกล้ม” เป็นอาการของคนไข้เด็กที่พบบ่อยที่สุดในห้องฉุกเฉิน และเป็นเหตุให้ต้องนอนโรงพยาบาลถึงร้อยละ 30 เพราะเด็กเล็กจะชอบวิ่งเร็ว ๆ วิ่งไล่จับ คล่องตัวมากน้อยต่างกัน แถมเด็กยังแยกแยะไม่ได้ ว่าพื้นแบบไหนวิ่งง่ายหรือยาก ของวางเกะกะหรือไม่ สาเหตุที่สําคัญของการพลัดตกหกล้ม คือ บันได เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน หน้าต่างและระเบียง เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น การใช้รถหัดเดินเด็ก (infant walker)
- ลูกหัวโน
เด็กหัวโน เกิดจากการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ มักไม่รุนแรง แต่อาจจะเห็นรอยปูดนูน ฟกช้ำ โดยเฉพาะที่หน้าผากจะเห็นได้ชัด เพราะผิวหนังบางและมีเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นค่อนข้างมาก อาการหัวโนพบได้บ่อยในเด็กเพราะเมื่อเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ก็อดไม่ได้ที่จะปีนป่าย หรือทดสอบสมรรถภาพร่างกายของตนเอง อีกทั้งเด็กยังมีสัดส่วนของศีรษะเทียบกับตัวมากกว่าผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสที่ศีรษะกระแทกพื้นหรือสิ่งของต่าง ๆ ได้ง่าย
พ่อแม่ควรป้องกัน ลูกเป็นไข้ ลูกหกล้ม ลูกหัวโน ได้อย่างไร
การป้องกันอุบัติเด็กในเด็ก และอาการเจ็บป่วย ทำได้ด้วยการยจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยให้คำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ค่ะ
-
ความสะอาด เช่น การทำความสะอาดของเล่น การฝึกลูกให้มีสุขอนามัยที่ดี การล้างมือ เป็นต้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อของลูก
-
ความปลอดภัย เช่น การออกแบบบันไดให้เหมาะสมกับการก้าวเดินของเด็ก เช่น ซี่ระเบียงไม่ห่างเกินไป ทําประตูทิศทางเดียว(เปิดเข้าด้านใน) สอนเด็กไม่ให้เล่นบนบันได ขอบผนัง ประตู หรือเฟอร์นิเจอร์ อาจจะต้องบุนวมหรือใช้วัสดุป้องกันขอบ
-
ไม่ปล่อยให้มีน้ำหรือของเหลวที่ทำให้พื้นเปียก หากมีควรรีบทำความสะอาดทันที
-
พื้นในบริเวณที่เด็กเล่น ควรหลีกเลี่ยงพื้นเคลือบเงาที่อาจทำให้มีการลื่นหกล้มได้ง่าย นอกจากนั้น ทางเดินควรปราศจากของเล่นหรือสิ่งของต่าง ๆ
-
หลีกเลี่ยงการใช้รถหัดเดิน เพราะเด็กจะไถลไปได้ไกลและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
-
มีอุปกรณ์ป้องกันขณะขับขี่จักรยาน เช่น หมวกกันน๊อค สนับเข่า สนับแขน เป็นต้น
วิธีปฐมพยาบาลและดูแล ลูกเป็นไข้ตัวร้อน ลูกหกล้ม ลูกหัวโน
- วิธีลดไข้เด็ก
วิธีลดไข้เด็กที่พ่อแม่ทำได้เองก่อน คือ เช็ดตัวอย่างถูกต้อง ให้ยาลดไข้ (ตามคำแนะนำบนฉลากยา) หรือสามารถใช้เจลระบายความร้อน (Cooling Gel) หรืออุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (Cold Hot Pack) ประคบบริเวณหน้าผาก เพื่อลดไข้และลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย แต่หากลูกมีไข้สูงมาก ควรพบแพทย์ค่ะ
- วิธีปฐมพยาบาลลูกหกล้ม และ ลูกหัวโน การดูแลขึ้นกับอาการ อายุ และความรุนแรงของอุบัติเหตุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุลูกมักจะร้องไห้จนพ่อแม่ตกใจ ให้ตั้งสติไว้นะคะ แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ค่ะ
- ลองปลอบและให้นั่งพัก พร้อมกับการใช้อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (Cold Hot Pack) ประคบบริเวณที่ฟกช้ำ หัวโน ครั้งละประมาณ 2-5 นาที (ขึ้นกับว่าลูกน้อยจะร่วมมือมากน้อยแค่ไหน) แล้วพักเป็นระยะ ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นเลือดหดตัวและรอยนูนที่ศีรษะหรือบริเวณที่บวมยุบลง
- 24 ชั่วโมงต่อมา เปลี่ยนเป็นประคบร้อน โดยใช้อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (Cold Hot Pack) ประคบบริเวณที่โนหรือฟกช้ำ เพื่อลดอาการปวด
- หากมีรอยแผลหรือถลอก อาจใช้ยาทาฆ่าเชื้อ หรือ ถ้าฟกช้ำมากอาจใช้เป็นขี้ผึ้งลดอาการอักเสบ เป็นต้น อาจพิจารณาให้ยาแก้ปวดสำหรับเด็กร่วมด้วย
- ถ้าการบาดเจ็บบริเวณศีรษะรุนแรง หรือลูกไม่หยุดร้องไห้ หรือซึมลง ทรงตัวไม่ได้ อ่อนแรง อาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
พ่อแม่ที่มีลูกเล็กทั้งหลายคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการเลี้ยงลูกวัยนี้ เราอาจจะไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุให้ลูกได้ 100% การมีสติและศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นควรมีไว้ติดบ้าน เช่น ยาสามัญประจำบ้าน (กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ ยาขับลม ครีมทาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ล้างแผล น้ำเกลือ พลาสเตอร์กันน้ำ ฯลฯ) รวมถึง ชุดทำแผล หรือ อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack)
ที่เห็นชัดเจน คือ อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack) ข้อดี คือสามารถใช้ได้ทั้งประคบร้อน และเย็น สามารถใช้บรรเทาอาการบาดเจ็บ บวม อักเสบ และรวมถึงลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย ใช้ได้ทุกวัย ระยะเวลาการใช้งานหลายปี และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้
อุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack) การเลือกใช้ตามขนาดตัวของเด็ก หรือบริเวณบาดแผลฟกช้ำ ก็จะได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น เช่น
- ขนาดเล็ก- เหมาะสำหรับการแปะลดไข้เด็ก หรือประคบบริเวณที่บวม อักเสบหลังผ่าตัด หรือแผลขนาดเล็ก เช่น การทำศัลยกรรมบริเวณใบหน้า เป็นต้น)
- ขนาดกลาง- เหมาะสำหรับการลดอาการบวม อักเสบ จากการเล่นกีฬา เช่น ข้อเท้าแพลง เป็นต้น
- ขนาดใหญ่- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประคบเป็นบริเวณกว้าง เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือ ปวดประจำเดือน เป็นต้น
นอกจากนั้น แต่ละบ้าน ควรมีอุปกรณ์ประคบเย็นและร้อน (cold hot pack อย่างน้อย 2 ชิ้น เพื่อใช้ปฐมพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และทดแทนกันเมื่อความร้อน/เย็นหมดไปขณะปฐมพยาบาล และการการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กยังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กควรระมัดระวังและเรียนรู้พัฒนาการตามวัย เพื่อใช้มาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ
รักลูก Community of The Ecxperts
สนับสนุนการดูแลทุกครอบครัวโดย
3M Nexcare
https://www.facebook.com/NexcareThailand/videos/390131301604255
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)