ลูกทารกคอเอียงผิดปกติไหม วิธีแก้และรักษาทารกคอเอียง
ทารกคอเอียงเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งคอเอียงแต่กำเนิดและคอเอียงจากวิธีเลี้ยง ทารคอเอียงสามารถรักษาและมีวิธีแก้ไขได้ค่ะ
ลูกทารกคอเอียงผิดปกติไหม วิธีแก้และรักษาทารกคอเอียง
สาเหตุทารกคอเอียง
- คอเอียงแต่กำเนิด (Congenital torticollis)
- กล้ามเนื้อคอผิดปกติ (congenital muscular torticollis)
- คอเอียงจากกระดูกสันหลังส่วนคอเจริญผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทำให้เห็นลักษณะคอเอียงตั้งแต่แรกเกิดหรืออาจค่อยๆ เกิดภายหลังคลอดก็ได้
- ตาผิดปกติ เช่นตาเหล่ ทำให้เวลาเด็กมองต้องเอียงคอตามไปด้วย
- คอเอียงภายหลังคลอด (acquired torticollis)
- กล้ามเนื้อคอหดรัดตัว (muscle spasm)
- กระดูกสันหลังคอแตกหรือเคลื่อน
- เลือดคั่งเหนือชั้นดูรา (epidural hematoma)
- เนื้องอกไปกดทับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อคอ
- การอักเสบของหูและการผ่าตัดต่อม adenoid ออก อาจเกิดการเคลื่อนของข้อกระดูกคอ atlantoaxial
การรักษาอาการทารกคอเอียง
- การยืดกล้ามเนื้อข้างคอที่หดสั้น ได้ผลดีเมื่อทำในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ดูแลควรเรียนรู้วิธีการยืดที่ถูกต้อง จากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
- การผ่าตัด bipolar release เพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อหดสั้น ถ้ายืดกล้ามเนื้อหดสั้นไม่ได้ผลหลังอายุ 1 ปีควรรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อให้มีสมดุลของศีรษะและใบหน้าดีขึ้น การผ่าตัดมักได้ผลดีพอสมควร อายุที่เหมาะสมที่สุดคือ 1-4 ปี ในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้นการผ่าตัดอาจได้ผลไม่เต็มที่
- พบจักษุแพทย์เพื่อแก้ไขอาการคอเอียงที่เกิดจากปัญหาทางสายตา เพราะคอเอียงในเด็กอาจเป็นการปรับตัวให้มองเห็นได้ดีกว่าตอนที่อยู่ในท่าปกติ อาการคอเอียงที่เกิดขึ้นแสดงถึงความผิดปกติในการมองเห็นของตาทั้งสองข้าง เด็กที่มีคอเอียงส่วนใหญ่พบความผิดปกติในเรื่องตาเข ตากระตุก
เบื้องต้นอาจพบว่าอาการทารกคอเอียงไม่ได้เกิดจากสาเหตุความผิดปกติของร่างกาย แต่เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่เอง สามารถดูแลลูกได้ดังนี้
- การวางตำแหน่งของล่อเล่นไม่สูงเกินไป ควรวางหรือแขวนให้อยู่ในระดับสายตาและไม่เน้นการล่อเล่นด้วยการวางของเล่นด้านที่น้องคอเอียงค่ะ อาจล่อเล่นได้แต่ไม่บ่อยมากเพื่อป้องกันการใช้กล้ามเนื้อด้านคอที่เอียงมากเกินไปจนคออีกด้านโดนยืดมากและไม่แข็งแรง
- แนะนำให้คุณแม่อุ้มในท่าตะแคงด้านที่น้องคอเอียง แล้วล่อเล่นคล้ายการทำเครื่องบินล่อนขึ้นล่อนลงช้าๆเพื่อฝึกให้กล้ามเนื่อด้านที่เอียงได้ต้านกับ แรงโน้มถ่วงและได้มีการเกร็งกล้ามเนื้อคอด้านที่เอียงเพื่อการออกกำลังกาย
- แนะนำในท่านอนหรือท่าให้นม แนะนำให้เน้นการนอนตะแคงด้านที่คอไม่เอียงค่ะและไม่ให้น้องมีการแหงนหน้ามาก เกินไปค่ะซึ่งกรณีน้องควรนอนตะแคงด้านขวาค่ะเพื่อให้คอด้านซ้ายได้มีการยืด ของกล้ามเนื้อแต่บางครั้งคุณแม่ก็สามารถให้นอนตะแคงซ้ายได้น่ะค่ะแต่ไม่ควรบ่อยมากค่ะ
- การรักษาในขั้นต้นช่วงเด็กมีอายุ 1-2 ปี คือการพยายามช่วยดัดคอเบาๆ การจับเด็กนอนหันศีรษะไปด้านตรงข้าม
- พาลูกไปปรึกษากับแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดใกล้บ้าน เพราะท่าออกกำลังกายบางท่าคุณแม่อาจต้องได้รับคำแนะนำโดยตรงค่ะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับน้องและน้องจะได้รับท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมมากขึ้นค่ะ