หลังพาลูกทารกไปฉีดวัคซีน ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนมีอะไรบ้าง
ทุกครั้งที่พาลูกทารกไปฉีดวัคซีน คุณพ่อคุณแม่มักกลัวผลข้างเคียงที่ทำให้ลูกเป็นไข้ ไม่สบายตัว ผลข้างเคียงของวัคซีนมีอะไรบ้างและต้องดูแลลูกอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ
หลังพาลูกทารกไปฉีดวัคซีน ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนมีอะไรบ้าง
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนให้ลููกทารก
- อย่าให้วัคซีนที่ทำให้ตัวร้อนได้พร้อมกัน เช่น วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน พร้อมกับวัคซีนป้องกันไทฟอยด์
- เมื่อรับวัคซีนแล้วอาจมีอาการข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อวัคซีนซึ่งโดยทั่วไปจะมีอาการไม่มาก และจะหายไปเอง ตัวอย่างเช่น
- ตุ่มหนอง มัก เกิดจากการฉีดวัคซีน BCG ที่ฉีดบริเวณไหล่ซ้ายตอนแรกคลอด พบหลังฉีดประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ และตุ่มหนอง จะเป็นๆหายๆ ประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ เหลือเป็นรอยแผลเป็นเล็กๆ การดูแลตุ่มหนองให้ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ด ห้ามบ่งหนอง
- ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด เด็กอาจร้อง กวน งอแง ถ้าอาการมาก มารดาอาจให้ยาแก้ปวด และใช้ผ่าชุบน้ำเย็นประคบ
- ไข้ตัวร้อน มักเกิดหลังได้รับวัคซีนคอบตีบ บาดทะยัก ไอกรน ที่ฉีดตอนอายุ 2 , 4, 6 เดือน, 1ขวบครึ่ง และ 4 ขวบ มารดารควรเข็ดตัวลูกด้วยน้ำธรรมดา โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ และข้อพับต่างๆ และอาจให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล อาการจะเป็น 1 - 2 วัน และจะหายไปเอง
- มีไข้ ไอ มีน้ำมูก มีผื่น อาจพบหลังฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยมากอาการมักไม่รุนแรง
- เนื่องจากอาการแพ้วัคซีนชนิดรุนแรงมักเกิดขึ้นไม่นานหลังการฉีด จึงควรแนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการผิดปกติหรือฉีดวัคซีนทุกชนิดประมาณ 15-30 นาที ขณะยังอยู่ในโรงพยาบาล
- อาการแพ้วัคซีนหรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนสามารถพบได้ในวัคซีนทุกชนิด หากเป็นแค่เพียงผื่นเล็กน้อยก็ไม่มีอะไรน่ากังวลนัก แต่หากลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นผื่นลมพิษ มีอาการหน้าบวมปากบวม หายใจลำบาก หรือความดันโลหิตต่ำลง ถือเป็นอาการข้างเคียงสำคัญ ซึ่งหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น อาจพิจารณางดการฉีดวัคซีนชนิดนั้นในครั้งต่อไป และควรบันทึกไว้ในหลักฐานทางการแพทย์และสมุดวัคซีนให้ชัดเจน
ให้ลูกกินยาลดไข้ ดักไข้ก่อนไปฉัคซีนได้ไหม
ความเข้าใจที่ว่า ให้ลูกกินยาลดไข้ กินยาดักไข้ก่อนพาลูกไปฉีดวัคซีน เป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ เพราะไม่ได้ช่วยให้ลดอาการข้างเคียงหรืออาการแพ้วัคซีนได้ค่ะ อีกทั้งจะเป็นการทำให้ลูกรับยาโดยไม่จำเป็นด้วย
เทคนิคพาลูกไปฉีดวัคซีน
- ถ้าเด็กโตพอพูดรู้เรื่องก็ควรคุยกันก่อน หรืออาจเล่าเป็นนิทานเรื่องลูกหมีไปหาหมอ ฉีดยาให้แข็งแรงจะได้ไม่ป่วย
- ห้ามบอกลูกเด็ดขาดว่าถ้าดื้อจะให้หมอฉีดยา เพราะไม่อย่างนั้นแค่เจอหน้าหมอ ยังไม่ทันเห็นเข็มก็คงร้องไห้จ้าแล้วล่ะ
- อาจจะลองทำความคุ้นเคย เช่น เอากระบอกฉีดยาของเล่นมาลองฉีดยิงน้ำ พ่นระบายสี เป็นต้น
- พอจะฉีดยาของจริงก็ร้องเพลงหลอก คุยหลอก ได้จังหวะก็ฉีดปั๊บเข้าไปเลย วิธีนี้น่าจะได้ผลค่ะ เพราะบ่อยครั้งที่เด็กๆถูกล่อหลอกจนลืมร้องไห้
- เมื่อฉีดเสร็จแล้วก็ปรบมือเป็นกำลังใจให้คนเก่งหน่อย
คำแนะนำในการมารับวัคซีนครั้งต่อไป
- ในวันนัด ถ้าเด็กเป็นไข้ไม่สบาย ควรให้เด็กหายดีก่อนหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงพามารับวัคซีน
- ในกรณีที่ไม่สามารถมาตามนัดได้ ท่านสามารถพามารับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ครบไม่ว่าจะเว้นไว้ไปนานเท่าใดได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ไม่ควรพามาก่อนนัดเนื่องจากระยะห่างระหว่างการกระตุ้นของวัคซีนที่สั้นเกินไปจะมีผลให้ภูมิต้านทานโรคขึ้นน้อยกว่าปกติ
- ถ้าเด็กเคยมีประวัติแพ้ยา แพ้ไข่ไก่ หรือเคยมีอาการผิดปกติรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น ชัก ผื่น ลมพิษไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีนครั้งต่อไป