ลูกอายุ 0-1 ปี ส่งเสียงบอกความต้องการ อารมณ์ได้ค่ะ แต่ละเดือนลูกส่งเสียงร้อง หรือพูดได้ในระดับไหนมาเช็กกัน พร้อมวิธีฝึกให้ลูกพูดง่าย ๆ ค่ะ
ภาษาที่ลูกพูดไม่ใช่ภาษาที่มีความหมายเหมือนผู้ใหญ่ที่พูดคุยกัน แต่การพูดของลูกคือการเปล่งเสียงซึ่งสามารถบ่งบอกความรู้สึกภายในของลูกได้ โดยสามารถแบ่งตามช่วงวัยได้ดังนี้
จะเป็นลักษณะของปฏิกิริยาสะท้อน หรือที่เรียกว่า Reflex sound ซึ่งเป็นการพยายามโต้ตอบเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงร้องไห้ ก็จะเป็นพัฒนาการเริ่มต้นของการออกเสียงและระบบการหายใจต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานของการพูด
เป็นวัยที่กำลังส่งเสียงอ้อแอ้เลยค่ะ ช่วงวัยนี้เด็กกำลังพึงพอใจที่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะได้ โดยเฉพาะปาก ที่สามารถใช้เลียนเสียงตัวเองซ้ำ ๆ ซึ่งเด็กทุกชาติทุกภาษาจะมีพัฒนาการเป็นแบบเดียวกันนี้ทั้งหมด และส่วนใหญ่ก็จะเป็นเสียงพยัญชนะ สระ หรืออักษร เดี่ยวๆ เช่น ปา ๆ มา ๆ ยา ๆ เป็นต้น
เริ่มที่จะเล่นเสียงอ้อแอ้คนเดียวได้แล้ว และมีความพยายามที่จะทำตามเสียงของคนใกล้ชิดด้วย โดยเฉพาะเสียงของแม่ แต่ยังไม่สามารถทำเสียงเลียนแบบได้เต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในวัยนี้ลูกสามารถเรียนรู้และขยับปาก เพื่อพูดสื่อความหมายของคำง่าย ๆ ได้แล้ว เช่น ปา ๆ มา ๆ หม่ำ ๆ
จะพูดได้แล้ว เด็กวัยนี้ยังสามารถตอบสนองต่อคำพูดโดยใช้ท่าทางง่าย ๆ เช่น พยักหน้าหรือส่ายหัว แต่ก็ยังคงมีการเล่นเสียงอยู่บ้าง และก็จะมีคำศัพท์ง่ายๆ ที่มีความหมาย ซึ่งลูกสามารถพูดได้ ประมาณ 2-3 คำ เช่น พ่อ แม่ ไป มา หม่ำ ๆ เป็นต้น
เด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบสามารถเปล่งเสียงร้องแสดงความรู้สึกออกมาได้แล้ว ซึ่งพ่อแม่สามารถรับรู้ได้จากปฏิกิริยาใน 2 ลักษณะต่อไปนี้
ไม่ว่าจะเป็น หิว ไม่สบายตัว ถูกแมลงกัด ไอ สะอึก ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเสียงร้องไห้ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตว่ามีอะไรที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกบ้างหรือเปล่า ถ้าลูกแผดเสียงร้องก็ให้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะหิว หรือเจ็บป่วย ซึ่งต้องตอบสนองเขาด้วยการอุ้ม ป้อนข้าว ให้นม หรือตรวจสอบดูว่าลูกมีความไม่สบายตัวตรงไหนบ้าง
คือการส่งเสียงเล่นของลูก ที่ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะสงบที่ลูกมักจะอารมณ์ดี ส่งเสียงอืออา หรือเป็นเสียงสระเดี่ยว ๆ เช่น อา อู เบา ๆ ซึ่งนั่นเป็นการแสดงออกว่าลูกพร้อมที่จะพูดคุย สามารถได้ยินเสียงของคนรอบข้าง และต้องการที่จะตอบสนองแล้ว เพียงแต่เสียงที่เปล่งออกมานั้นยังไม่มีความหมายหรือชัดเจนพอ
เพราะฉะนั้นการตอบสนองต่ออารมณ์และพัฒนาการทางการพูดของลูก ด้วยการพูดคุยและเล่น เลียนเสียงซ้ำ ๆ ตามที่ลูกกำลังเปล่งออกมานั้น จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้การตอบสนองกลับของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งลูกก็จะเข้าใจและติดเป็นประสบการณ์ที่จะโต้ตอบทั้งสองทาง ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการทางภาษาที่ดีค่ะ
ยิ่งพ่อแม่เอาใจใส่ดูแลและเล่นเลียนเสียงกับลูกบ่อย ๆ ก็จะยิ่งทำให้ลูกพัฒนาทักษะการสื่อสารได้ดีเท่านั้น ทำได้ตั้งแต่ตอนแรกเกิดถึง 3 เดือน แม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถสื่อสารได้แต่ก็สามารถรับรู้ว่ามีคนคอยตอบสนองต่อเขาอยู่
แม้ว่าลูกจะยังพูดไม่เป็นภาษา หรือว่าพูดไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าพ่อแม่เล่นกับลูกบ่อย ๆ พูดคุยบ่อย ๆ ก็จะทำให้ลูกอารมณ์ดีและเกิดการตอบสนองที่ดี ส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีด้วยค่ะ
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ อาจารย์เนตรา บัวกนก นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (แก้ไขการพูด) คลินิกฝึกพูดสาขาโรคกล่องเสียง หลอดลม และคอ ภาควิชา โสต นาสิก ลาริ้นซ์ วิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล