ผลลัพธ์ของการเลี้ยงทั้ง 3แบบเด็กจะเป็นอย่างไร หากกำลังเลี้ยงลูกแบบ 3 วิธีการนี้ ลูกจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร และต้องปรับแนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไร ฟัง The Expert รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
เราเลี้ยงลูกบนความไม่เข้าใจบางเรื่องเป็นความปรารถนาดีอยากให้ลูกมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ความปรารถนาบางครั้งต้องให้ลูกเจอความผิดหวัง เช่น ลูกผิดหวังไม่ได้เลยก็ต้องสอนให้ลูกผิดหวังบางครั้งพ่อแม่เจ็บปวดที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ได้ดั่งหวังซึ่งไม่ผิด แต่เราปรับจูนความเข้าใจกันว่าจะมีจังหวะไหนที่ผ่อน จังหวะไหนที่ตึงบางเรื่องแล้วทำให้พ่อแม่รู้เท่าทันว่าบางเรื่องเราต้องถอยบางเรื่องรักษาระยะห่างเป็นการเรียนรู้ร่วมกันแต่จะผิดคือบกพร่องหน้าที่พ่อแม่
เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องปกป้องลูกแต่ถ้ามากเกินไปมีปัญหาคือไม่ปกป้องเลย เช่น ตอนเป็นเด็กลูกร้องไห้ ปัสสาวะ อุจจาระราดที่บอกว่าเด็กร้องไห้ไม่ต้องสนใจ จริงๆแล้วเด็กอายุน้อยกว่า 6เดือนไม่มีมารยาไม่มีอารมณ์ไม่มีเงื่อนไขแต่รู้สึกไม่สบายตัวจึงร้องไห้ออกมา พ่อแม่ต้องรีบไปดูทันทีเพื่อปกป้องแต่พ่อแม่ไม่ทำนี่คือบกพร่องต่อหน้าที่ หิวก็ปล่อยลูกร้องอายุน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งถ้าน้อยกว่า6เดือนไม่มีเงื่อนไขนอกจากหิวไม่สบายตัวจริงๆ
หรือที่ชัดกว่านี้คือเมื่อเด็กมีอารมณ์แต่พ่อแม่น็อตหลุดแทนที่จะเป็นการปกป้องกลายเป็นทารุณกรรมนี่เป็นปัญหา ซึ่งมีหลากหลาย Under Protection แย่ บกพร่อง มีปัญหา และ Over Protectionก็มีปัญหา เช่น เด็กที่ไปเที่ยวแล้วก็ถามว่า “รู้ไหมชั้นลูกใคร” แล้วพ่อแม่ตามไปปกป้อง แม้กระทั่งลูกทำผิดกฎหมายก็ยังเข้าข้าง ปกป้องคุ้มครองจนไม่รู้รับผิดชอบชั่วดี
หรือกรณีที่ด็กอนุบาลแกล้งกันเด็กจบแล้วแต่พ่อแม่ไม่จบบิวท์อารมณ์กันผ่านSocial mediaใช้อารมณ์ของลูกเป็นตัวตั้งจนยกพวกตีกันในรร.อนุบาล แต่ลูกกำลังเห็นโมเดลว่าพ่อแม่กำลังทำอะไร คือยิ่งมีลูกน้อยลงพ่อแม่จะรักแบบเทหมดใจ ซึ่งดีแต่มันเยอะเกินไปผลคือเด็กไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
คำว่าอ้วนเอาแต่ใจมาจากระดับโภชนาการและเรื่องการซื้อของ มีอันจะกิน มีข้าวกิน มีอาหาร มีของครบตามความจำเป็นหมวดนี้คือการบริโภคนิยมและทุนนิยมอ้วนเอาแต่ใจ เป็นประเภทที่เยอะ แต่ถ้าบกพร่องคือข้าวไม่มีกินคือเกิดปัญหาเราเห็นเด็กที่มีปัญหาภาวะขาดอาหารทุพภาวะโภชนาการ ส่วนอีกกลุ่มตรงกันข้ามคือ มีอันจะกิน กินทิ้งกินขว้าง กินไม่เลือก กินได้ตลอดเวลา จึงขึ้นว่าอ้วนเอาแต่ใจ
มีเคสหนึ่งที่พ่อจบป.เอกถามหมอว่าสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น แล้วถ้าลูกผมดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์แล้วจู่ๆ จะให้ยกเลิกการดูดขวดนมอย่างสร้างสรรค์ก็เท่ากับว่าผมไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งลูกอายุ 8ขวบแล้วหมอตกใจมากที่ยังดูดนมอยู่คือไม่ต้องคิดว่าอ้วน ฟันผุ ฟันเหยินหรือไม่ หมอจึงบอกพ่อคนนั้นว่าเป็นหน้าที่ของพ่อไหมต้องสอนให้ลูกหัดผิดหวังให้เป็น หรือพอจะตอบหมอได้ไหมว่าจะอยู่จนชั่วชีวิตลูกจะหาไม่ไหม
Overfeed คือการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นการผิดหลักEQทั้งหมดจะเห็นว่าเด็กเอาแต่ใจ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ไม่ซื้อของลงไปดิ้นกลางห้าง โตมาหน่อยก็กรี๊ดสนั่นหรือพ่อแม่ที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมไม่อั้นลูกก็ซึมซับ ปากเราพูดอย่างแต่เราทำอีกแบบ ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ไม่ยั้งตัวเองจับจ่ายอย่างสนุกซื้ออาหารเต็มที่เพราะว่ารวย กินทิ้งกินขว้างไม่มี dog bag คือเหลือเอาเก็บมากิน ลักษณะนี้เรียกว่า อ้วนเอาแต่ใจ มีปัญหาEQ โตมาเป็นคนที่บริโภคนิยมทุนนิยมใช้เงินซื้อทั้งหมดเราคงไม่อยากฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ การยั้งตัวเองแล้วทำให้ดูมีประสิทธิภาพ กว่าใช้ปากพูดแล้วสอนให้ลูกเป็นแต่วิธีการทำเป็นอีกแบบมันทำไม่ได้พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบ
หลักการคือการไม่มีบ้านก็เป็นเด็กเร่ร่อนคือบกพร่องไม่มีบ้านอยู่ ส่วนมีหลายบ้านคือมีทั้งบ้านและคอนโด จันทร์ถึงศุกร์อยู่คอนโดเสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ผลคือลูกไม่รู้จักข้างบ้าน ไม่มีการร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเมื่อก่อนเราเติบโตมาเป็นชุมชนมีรากเหง้าเราจะเรียนรู้ซึมซับร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับชุมชนจะรักและเรียนรู้รากเหง้าของเราเองว่าเราเป็นคนจังหวัดนี้ พอย้อนกลับไปก็ภูมิใจว่าบ้านเราเมื่อก่อนเจริญแต่เด็กยุคนี้ไม่มี
การอยู่หลายที่ทำให้ความรักในรากเหง้าการเรียนรู้อยู่ในชุมชนจะอ่อนแอไปด้วย ผลลัพธ์คือโตเป็นคนจับจด เปลี่ยนที่ได้ง่ายเวลาเข้ามาทำงานก็ทำงานตามค่าตอบแทนที่สูงกว่า ความมั่นคงในจิตใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขในองค์กรไม่มี อาจจะบอกว่านี่เป็นเทรนด์ใหม่ของโลกก็เพราะสถานการณ์บีบบังคับจึงทำให้ได้เทนรด์ใหม่ของโลกในลักษณะนี้ แต่เราจำเป็นต้องเติมไม่งั้นจะเป็นประเด็นเกิดขึ้นได้แน่นอน
1.เรียนรู้ว่าความรักกับความถูกต้องคนละเรื่องกัน รักลูกก็จริงแต่ผิดลูกก็ต้องเรียนรู้ไม่ปกป้องแม้จะผิด
2.ต้องระมัดระวัง มีบันยะบันยัง วิธีการคือเราเองต้องเป็นต้นแบบที่ดี ทั้งการเลือกกิน เลือกซื้อของ คือหลักพอเพียง หัดเบรคตัวเองมีแล้วหรือยังลูกก็จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่ไม่ใช่คนฟุ่มเฟือย
3.ต้องเปิดใจให้ลูกเรียนรู้ อยู่ร่วมกับการมีหลายบ้านให้รักรากเหง้าทำให้ลูกเป็นผู้ให้ในหมู่บ้าน ชุมชนในคอนโด ก็จะทำให้เกิดการรักรากเหง้าร่วมทุกข์ร่วมสุขในชุมชนได้
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u