นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง “แบบนี้ดีต่อใจ” จะช่วยให้พ่อแม่มองเห็นความสำคัญของการสร้างความสุขให้กับเด็กผ่านต้นชมพู่มะเหมี่ยว เพราะเมื่อเด็กมีความสุข Self ของเด็กจะดีและมีทักษะ EF
ชวนฟังหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกจากนิทานย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป
เป็นนิทานที่เล่าเรื่องของต้นมะเหมี่ยว ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวในบ้านทําให้บ้านเย็น เวลาที่ทําสวนข้างบนมันร้อนก็จะได้อาศัยร่มเงาเขา ก็เป็นประเด็นว่าอยากเสนอเรื่องความสุข เพราะว่าเวลารณรงค์เรื่องEFอย่างที่เรารู้ว่าการทํางานของสมอง สมองส่วนคิดจะทํางานได้ดี หรือEFจะทํางานได้ดีก็ต่อเมื่อ Selfดี มีสมองส่วนอารมณ์ เบิกบาน ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนที่จะมีความสุขคือคนที่มี Selfดี ต้องมีความสุข จะมีความสุขเพราะว่ารู้สึกดีกับตัวเอง แล้วก็สามารถที่จะไปรู้สึกดีกับสิ่งอื่นๆได้ เพราะว่าเขามีความสุขอยู่ในตัว
เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีความสุขได้ มันเริ่มจากหลายอย่างแต่อันหนึ่งก็คือการมองเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายหรือความสุขมาจากการที่ เราทําอะไรได้ด้วยตัวเองสําเร็จ ความสุขจากการที่รู้สึกว่ามีคนรักเรา มีคนเอื้อเฟื้อเรา เรากําลังทุกข์ใจก็มีคนมากอดเรา มีคนมาให้ความช่วยเหลือ ความสุขก็ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมา เพราะฉะนั้นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขมันก็ต้องค่อยๆ สะสม ถ้าคิดแบบปรัชญาก็คือว่าทุกข์เป็นของตาย ยังไงเราก็มีความทุกข์ นี่เป็นของตายตามหลักศาสนาหรือปรัชญา แต่ว่าจริงๆมนุษย์ก็ต้องมีจังหวะเวลาโอกาสที่จะต้องมีความสุขเพื่ออะไรเพื่อให้มันประคองชีวิตไปได้ คนที่มีแต่ทุกข์อยู่ตลอดแล้วไม่รู้สึกมีความสุขเลยเนี่ยมันชีวิตเดินหน้าไม่ได้ชีวิตจะไม่มีพลัง
เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีพลังพ่อแม่หรือคุณครูต้องทำให้
1.เด็กรู้สึกดีกับตัวเอง ให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีดี เด็กทุกคนมีดีอยู่ที่ว่าเราจะเห็นดีของเขาหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเขารู้สึกดีกับตัวเอง ถือแก้วน้ําได้แล้ว เดินหยิบขยะไปทิ้งที่ถังขยะได้ เล่นเองแล้วเก็บของเล่นเองได้ จะทำให้ระหว่างทางเขามีความสุขเกิดขึ้น
2.ส่งเสริม ชื่นชม กระตุ้น สนับสนุนเขา ความรู้สึกที่มีความสุขจากการที่ตัวเองมีดีมันจะเป็นฐานที่เมื่อเขาผ่านสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ แต่ถ้าเขาปรับตัวได้หรือพลิกมุมมองบางอย่าง เช่น ต้นแม่มะเหมี่ยวก็จะมีเสียงที่คอยยุแยงตะแคง คอยถาม มาทำให้รําคาญ แต่ก็มีวิธีมองคือมองเรื่องเล็ก ๆ ว่าไม่เป็นปัญหา เรื่องดีมันมีมากกว่านั้นอีก ขี้นกตกเยอะก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวฝนมาขี้นกมันก็หายไป
3.ฝึกลูกอยู่ง่าย กินง่าย ปรับตัวง่าย มองโลกให้มีความสุข เรื่องพวกนี้ก็จะไม่รบกวนเขามากถึงวันที่มันมีเรื่องใหญ่จริงๆ ทุกข์จริงๆ เขาก็จะเอาความสุขที่มีอยู่ในตัวเขาที่มีพลังไปแก้ปัญหาคือวิธีแบบนี้ไม่ได้แปลว่าโลกสวย แต่เราต้องให้เด็กอยู่กับความจริง อะไรที่เป็นสุขก็คือเป็นสุข อะไรที่เป็นทุกข์ก็ต้องยอมรับว่ามันคือความทุกข์มันจะได้ไปแก้ปัญหา เพียงแต่ว่าการมีมุมมองที่บวก Positive Thinking มันคือการพลิกมุมมอง อย่างขี้นกตกใส่รถแทนที่จะโวยวายก็พลิกสถานการณ์จากลบให้เป็นบวกจะได้ชวนลูกบ้างรถ ไม่ได้แปลว่าเราไม่เห็นว่าขี้นกเป็นปัญหาเราเห็นมันเป็นปัญหา แต่เราหยิบปัญหามาเป็นสถานการณ์ที่เป็นการเรียนรู้
ปลายทางของมันคืออะไรคือทําให้เด็กอยู่ง่าย ทําให้เขามีความสุขง่าย มีอะไรก็ดีได้ไม่ต้องยาก แล้ววันที่เขาไปเจอของยากจริงๆ ของแย่จริงๆ เจออุปสรรคที่มันใหญ่จริงๆ ความสุขเหล่านี้มันจะเป็นฐานให้เขาไปแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น คือคนที่จะแก้ปัญหาอะไรยากๆ ถ้าเป็นคนที่คิดลบตลอดจะแก้ปัญหาไม่ได้ เด็กควรโตมาแบบที่เห็นว่าเรื่องยากทั้งหลายมันไม่ยากเกินกําลังแล้วเราก็เคยผ่านมาแล้วเคยจัดการเรื่องเหล่านี้มาแล้วก็สําเร็จมาทีละเล็กทีละน้อย คือมนุษย์มีศักยภาพที่จะหาความสุข สร้างความสุข เราไม่ต้องไปตัดศักยภาพของเด็กทําให้กลายเป็นคนที่รู้จักแต่ความทุกข์อย่างนี้ไม่แฟร์กับเด็กเราต้องให้เขามีโอกาสที่จะหาความสุขด้วย ให้เขามีทักษะมีวิธีมองมีประสบการณ์ไหมคะก็เหมือนกับเรื่องทักษะEF มองยืดหยุ่นความคิดไปอีกมุมหนึ่ง พลิกมุมจากความทุกข์เป็นความสุขได้ คือวิธีคิดที่ดีก็จะนํามาซึ่งความสุข แต่ขณะเดียวกันความสุขก็จะทําให้เรามีโอกาสมีวิธีคิดที่ดีมันเป็นสิ่งที่มันคู่กัน
ถ้าเด็กเป็นคนมีความสุข โดยเฉพาะเป็นความสุขที่มาจากการที่เขาประสบความสําเร็จ ได้รับคําชื่นชมเขาจะใช้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพที่มีความสุขเหล่านี้ไปแก้ปัญหาได้เยอะจะรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ มันมีสถานการณ์แบบนั้นในชีวิตเราเยอะมากที่เราควรที่จะต้องหยิบมาแล้วก็ฝึกให้เขามองว่าถ้ามองอีกแบบหนึ่ง มองแล้วไม่เป็นทุกข์เป็นอย่างไรแล้วพอ คือเวลาที่มันเกิดจากเรื่องที่ไม่ถึงกับยาก ถ้าเราฝึกเขาไว้ในวันที่เขาเจอเรื่องยากเขาจะหยิบประสบการณ์พวกนี้ไปทดลองคิด แต่ถ้าเราไม่เคยให้ลูกทุกข์เลยเพอร์เฟกต์ไม่ต้องคิดอะไรของไม่ดีก็ทิ้งไป เขาก็จะรู้วิธีเดียวหรือแบบที่ตัดปัญหาไป แต่จริงๆ ในชีวิตจริงเราทําให้ดีกว่านั้นได้เราไม่จําเป็นต้องทําแบบนั้น กระบวนการคิด ที่มันค่อยๆซับซ้อนและประณีตขึ้น มันจะเกิดขึ้นได้จากการที่เราชวนเขามองเรื่องอย่างนี้ไปก่อน เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ
แม้โลกไม่ VUCA อย่างไรก็ต้องใช้ทักษะ EF เพราะว่าEFคือทักษะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ส่วนที่เราแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นความสามารถนี้ก็ พิสูจน์มาตลอดว่าเราใช้ EF ในการแก้ปัญหา ปรับตัว สร้างสรรค์และพัฒนา ยังไงเราก็ต้องเจอกับปัญหาที่มันหนักขึ้นเรื่อยๆ โลกร้อนนี่ก็เรื่องหนึ่งนะคะ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามา อย่างตอนนี้มีแชท GPT มนุษย์ก็ต้องเก่งต้องพัฒนาเพื่อที่จะรับมือแล้วก็จัดการชีวิตเรา ชีวิตครอบครัวเรา ชีวิตสังคมเราได้
เพราะฉะนั้นสถานการณ์เหล่านี้มันต้องการความสามารถของสมองสิ่งที่เรากําลังทำคือฝึกเด็กเรื่องEF ให้เขารู้จักคิด มีทักษะที่จะคิด มีความรู้สึกดีที่จะคิด มีความรู้สึกอยากลองได้ลองผิดลองถูก กระบวนการฝึก EFในเด็กเล็กที่เราพยายามรณรงค์กันคือเพื่อให้เขามั่นใจว่าเขามีทักษะเหล่านี้ดีขึ้น เข้มแข็งขึ้นแล้วฝังอยู่ในสมองเป็นชิปที่เมื่อไหร่ก็ตามที่เจอกับอะไรเขาก็จะสามารถค่อยๆคิดวิเคราะห์ค่อยๆหาคําตอบ จนในที่สุดเรื่องยากเรื่องใหญ่มันก็จะเข้ามาในลูปของเส้นใยประสาทแบบนี้เหมือนกัน ถ้าเด็กของเราจํานวนมากเป็นอย่างนี้เราก็มั่นใจได้ว่าเขาจะช่วยกันคิด พากันแก้ปัญหา
สิ่งที่สําคัญก็คือว่าเวลานี้เราพบมากไปกว่านั้นว่าไม่ใช่แค่เด็กคิดเก่งเท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ดี แต่เราพบว่าเขาจะคิดเก่งคิดดีได้ ก็ต้องมีฐานใจที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน ฐานสมอง ฐานใจก็ต้องเสริมกัน เพราะฉะนั้พอเราจะมาทําเรื่องส่งเสริมEFให้เด็ก เราต้องส่งเสริมเรื่องSelfเขาไปด้วย เพราะว่าSelfที่ดีจะทําให้เขาพัฒนาEFได้ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทํา กล้าไปเผชิญโลก กล้าไปเจอปัญหา แต่ถ้าSelfไม่ดี เขาก็จะกลัวไปหมดทั้งโลกมันน่ากลัว ทั้งโลกมันมืดมนทั้งโลกไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้นต่อให้เขาคิดอย่างไรก็ไปต่อไม่ได้จึงต้องทำสองเรื่องนี้ไปคู่กัน แล้วพอมีโควิดก็ทําให้เห็นว่าฐานกายก็ต้องไปด้วยกัน คือสุขภาพที่ดีจึงจะทําให้เขาสามารถไปคิดไปสร้างไปอะไรได้แล้วก็จะทําให้จิตใจของเขาดีได้ด้วย
เพราะฉะนั้นราต้องทำให้เด็กแข็งแรงทั้งสมอง จิตใจ ร่างกายก็คือครบองค์รวมได้ประโยชน์ครอบคลุม แทนที่เราจะไปทําเรื่องคุณธรรมก็ไม่ใช่ไม่ทําแต่ว่าไม่ใช่โฟกัสเรื่องเดียวคือคุณธรรม สมองที่คิดได้ดีที่ยับยั้งตัวเองได้ดีนั่นแหละคุณธรรมก็เกิด ไม่จําเป็นต้องไปไล่บอกว่าคุณต้องฝึกคุณธรรมอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนั้น จริงๆ EFที่ดีมีการยั้งคิดไตร่ตรองก็มีศีลในตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจะทําอะไรก็ตามทําให้มันเป็นทําเรื่องเดียวแล้วมันได้ทุกเรื่อง
ทำEFได้คุณธรรมแน่นอน ได้การคิดเก่งแน่นอน ได้IQ ได้ EQด้วย เวลานี้เราผลักดันอยากเชิญชวนพ่อแม่ทําเรื่องส่งเสริมEF ส่งเสริมSelfแล้วก็ผ่านกิจกรรมทางกายด้วย พาลูกออกกําลังกายเยอะๆ แต่ถ้าไปพาเรื่องเรียนเก่งอย่างเดียวจะมาเสียใจทีหลังว่า ลูกไม่มีSelf ลูกซึมเศร้า ลูกอยากฆ่าตัวตาย เมื่อตอนเป็นวัยรุ่น หรือเอาแต่ลูกเรียนหนังสืออย่างเดียว ปรากฏว่าก็ไม่มีปฏิภาณที่จะแก้ปัญหาในชีวิต สรุปแล้วก็ไม่คุ้มทําสามเรื่องนี้ดีกว่าแล้วก็ยาวไปตลอดชีวิตของเขา
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u