อาหารติดคอลูก พ่อแม่ต้องระวัง เพราะถ้าปฐมพยาบาลไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้เลย
อาหารติดคอลูก ปฐมพยาบาลถูกวิธี ลดโอกาสเสียชีวิต
เวลาที่อาหารติดคอลูก หรือมีสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ อุดกั้นทางเดินหายใจ (choking) ถ้าพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูปฐมพยาบาลไม่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เด็กเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กวัยต่ำกว่า 3 ขวบ ที่ชอบคว้าจับสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก หรือเด็กหัดกินที่ยังเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด มีโอกาสเสียชีวิตจากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจสูงมาก (ในผู้ใหญ่องก็มีความเสี่ยงเช่นกัน)
สังเกตอาการเมื่อลูกอาหารติดคอ
อาการอาหารติดคอแบบไม่รุนแรง
- หายใจได้
- ไอได้
- พูด หรือออกเสียงได้
อาการอาหารติดคอแบบรุนแรง
- หายใจไม่ได้หายใจลำบาก
- ไอไม่ได้
- พูดไม่มีเสียง พูดไม่ได้
- หน้าเริ่มซีด เขียว
- ใช้มือกุมลำคอตัวเอง
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกอาหารติดคอ
ถ้ายังหายใจเองได้อยู่
- ให้ลูกพยายามไอออกด้วยตัวเอง โดยมีพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ
- โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินหรือที่ 1669 หรือรีบนำลูกส่งโรงพยาบาล
อาการอาหารติดคอแบบรุนแรง
- ให้รีบช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้ใช้วิธีจับลูกนอนคว่ำและตบแรง ๆ บริเวณทรวงอกด้านหลังระหว่างกระดูกสะบัก จนอาหารกระเด็นหลุดออกมา
- ห้ามใช้นิ้วล้วงช่องปาก หรือจับลูกห้อยศีรษะและตบหลังเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เศษอาหารตกมาอุดที่กล่องเสียงจนขาดอากาศหายใจได้
- กรณีที่สำลักแล้วหายใจไม่ออก ริมฝีปากเขียว ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน อาจเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ควรรีบใช้วิธีช่วยเหลือแบบ Heimlich โดยให้ลูกนั่งหรือยืนโน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย พ่อแม่ยืนทางด้านหลัง ใช้แขนสอดสองข้างโอบลำตัว กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ ดันมือลงตรงตำแหน่งลิ้นปี่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้องดันให้อาหารหลุดออกมา
ตัวอย่างวิธีปฐมพยาบาลเด็กอาหารติดคอ
วิธีป้องกันอาหารติดคอ
- นั่งตัวตรงขณะกินอาหารและหลังกินเสร็จห้ามนอนทันที ควรนั่งพักหรือเดินย่อยสัก 15 – 20 นาที
- กินอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด
- อย่ากินอาหารขณะเหนื่อยหรือรีบเร่ง ควรพักก่อนสัก 30 นาที
- อาหารที่กินควรแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือพอดีคำ ไม่ใหญ่เกินไป
- ลดสิ่งรบกวนขณะกินอาหาร เช่น การพูดคุย การเดิน
- กินอาหารคำละ 1 ชนิด อาหารที่มีเนื้อสัตว์หลากหลายชนิดใน 1 คำ อาจสำลักได้ง่าย
- ควรกินอาหารสลับกัน เช่น อาหารที่บดเคี้ยว สลับกับอาหารเหลว เพื่อให้กลืนอาหารง่ายไม่ฝืดคอ
- หากอาหารที่กินแข็งหรือแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุปช่วยให้เนื้ออาหารชุ่มและ
เมื่ออาหารติดคอลูก สิ่งสำคัญคือต้องมีสติ และรีบช่วยเหลือลูกให้เร็วที่สุด และต้องถูกวิธีด้วย เพราะหากสมองของลูกขาดออกซิเจนนานเกิน 4 นาที อาจทำให้กลายเป็นเจ้าหญิงเจ้าชายนิทราได้
อ้างอิง:
www.rama.mahidol.ac.th/atrama/sites/default/files/public/pdf/column/@Rama16_E09.pdf
https://web.facebook.com/watch/?v=1029835787829136&_rdc=1&_rdr
https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/100665/