เด็กแรกเกิดทุก 1,000 คน พบว่ามี 1 คนที่มีปัญหาการได้ยิน ส่งผลให้ไม่สามารถพูดได้ และหากไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้เป็นเด็กพิการ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มองเห็นความสำคัญของพัฒนาการได้ยินของเด็ก ว่าเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่พัฒนาการที่ดี จึงจัดสิทธิประโยชน์คัดกรองและรักษาเพื่อคุ้มครองเด็กแรกเกิดที่มีภาวะบกพร่องการได้ยิน สำหรับเด็กไทยทุกคน เพื่อช่วยดูแลให้เด็กไทยมีพัฒนาการที่ดี
EP 49 : ฟังสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องทางการได้ยิน โดย The Exeprt นพ. ดาวิน เยาวพลกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี
สาเหตุที่พบได้บ่อย ที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด อาจจะเป็นตั้งแต่แรก หรือพบได้หลังจากนั้น อาจจะมาจากพันธุกรรม จากพ่อแม่ ปู่ย่า ที่มีปัญหาการได้ยิน ปัญหาจากการตั้งครรภ์ อาจจะได้รับการติดเชื้อไวรัสบางอย่าง เช่น ไวรัสหัดเยอรมัน การคลอดก่อนกำหนด ขาดออกซิเจนขณะคลอด มีหลายสาเหตุด้วยกัน ปัญหาการได้ยินอาจจะเกิดขึ้นตอน 2-3 ขวบ เนื่องจากปัญหาการได้ยินสังเกตได้ยาก มองเห็นไม่ได้ด้วยตา พ่อแม่ต้องสังเกตและต้องดูแลเป็นพิเศษ
การเป็นภายหลังเกิดขึ้นคือหากไม่ได้มีปัจจัยตั้งแต่เกิด ก็มีโอกาสได้การได้รับยาบางอย่าง การติดเชื้อรุนแรง เช่น สมองอักเสบ
พฤติกรรม ยา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไม่ได้ยิน สิ่งที่ทำให้หูเสื่อมได้คือ การอยู่ในที่เสียงดังมากๆ ทำให้ประสาทหูเสื่อมโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไข้สมองอักเสบ ที่พบบ่อยในเด็ก ยามีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ได้จากการรักษาทางการแพทย์ ก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องนี้ได้ ซึ่งถ้าได้รับยากลุ่มนี้ก็จะได้รับการตรวจเช็กอยู่แล้ว
ระดับของเสียงที่ดังกระทบกับการได้ยินผู้ใหญ่ด้วย เสียงที่ดังมากยิ่งมีผลมาก ถ้าดังมากๆ เวลาที่เราอยู่ในช่วงที่มีเสียงดัง แค่ไม่นานก็ทำให้ประสาทหูเสื่อมได้ เช่น ไปคอนเสริต์ออกมาหูอื้อ เป็นสัญญาณเตือนว่าเสียงดังเกินไป บางทีอาจจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ และบางทีก็อาจจะไม่ฟิ้นตัว แต่เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมถ้าอยู่เป็นเวลานานๆ หลายชม.ก็ทำให้มีปัญหาการได้ยิน
ระดับเสียงที่อันตราย ระดับเสียง90 เดซิเบล ทำให้ประสาทหูเสื่อม ถ้าอยู่นานระยะเวลาประมาณ 4 ชม. เสียงประทัดดังกว่า 90เดซิเบลอยู่แล้ว เกินกว่า 100-120 เสียงระเบิด เสียงยิงปืน แค่ปังเดียวก็ทำให้ประสาทหูเสื่อมได้เลย แต่ถ้าเสียงเบาๆ อาจจะใช้เวลานานที่ทำให้เกิดปัญหา
โดยทั่วไปจะค่อยๆ แย่ลง เคยได้ยินและไม่ค่อยได้ยิน ได้ยินไม่ชัด แย่ลงเรื่อยๆ อย่างผู้ใหญ่ก็จะมีอาการเสื่อม ซึ่งประสาทหูก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่เสื่อมตามวัยได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพออายุมากก็มีปัญหาเรื่องหูตึง อาการเป็นมากน้อยขึ้นแต่ละคน
การดูแลการตั้งครรภ์ให้เป็นปกติ พบคุณหมอเป็นระยะ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างปกติที่สุด การตรวจเช็กการได้ยินทำได้ตั้งแต่แรกเกิด พอคลอดก็จะมีอุปกรณ์ เครื่องมือคล้ายๆ หูฟังที่กดปุ่มดูว่าเด็กมีปัญหาหรือเปล่า พอจะบอกได้ว่าตรวจแล้วผ่านและตรวจแล้วไม่ผ่าน
ในรายที่ไม่ผ่านจะมีมาตรการตรววจซ้ำ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะใช้เครื่องมืออื่นๆ เพิ่ม ซึ่งโดยทั่วไปไม่มีการตรวจรู้ได้ตั้งแต่ตอนท้อง เราไม่สามารถตรวจได้ตั้งแต่ท้อง แต่ในรายที่เราพบว่าอาจจะมีความเสี่ยงของกลุ่มโรค อาการหรือมีประวัติพันธุกรรม เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการคัดกรองตั้งแต่เกิด และติดตามเป็นระยะ คลอดก่อนกำหนดด้วยเช่น ที่ต้องมีการตรวจคัดกรอง
สถิติของเด็กที่คลอดมาแล้วมีปัญหาการได้ยินทั่วโลกทุกๆ 1,000 คนจะมีปัญหาการได้ยิน อาจจะเป็นมากน้อย หรือรุนแรงถึงหูหนวกแตกต่างกันไป เด็กที่มีปัญหาเรื่องหูหนวกก็มีจะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการพูดตามมา
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u