ในช่วงวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้น เรากำลังจะสูญเสียเวลาทองของเด็กในช่วง 6 ปีแรกไปอย่างไม่สามารถจะย้อนกลับมาได้ แล้วเราจะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร
หนึ่งในทางออกคือ เราต้องรับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยเป็นข้อมูลในการประมวล คิด วิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมให้กับครอบครัว EP นี้จึง The Expert ที่เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนมาพูดคุยกัน "คุณณัฐยา บุญภักดี" ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส.
กลุ่มเด็กที่ครอบครัวมีความพร้อมอาจจะไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเด็กไทยที่เป็นกลุ่มเด็กปฐมวัยอันนี้เป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่าเด็กวัย 0-6 ปี ของเราจำนวนมหาศาลอยู่ในครอบครัวที่ยังต้องดิ้นรนขลุกขลักอยู่กับการทำมาหากิน จำนวนมากไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เนื่องจากพ่อแม่ต้องออกไปทำงานต้องเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ ที่เศรษฐกิจดีๆ แล้วลูกเล็กก็ให้ปู่ย่าตายายช่วยกันเลี้ยงดูอยู่ที่บ้านต่างจังหวัดส่วนใหญ่จะเป็นแบบนั้น อีสานเยอะมากภาคเหนือก็รองลงมา ที่อีสานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางแห่งเด็กเกือบจะ 100% เลยเป็นเด็กที่อยู่กับปูย่าตายายไม่ได้มีพ่อแม่อยู่ด้วย อยากให้อันที่หนึ่งรับทราบสถานการณ์ของประเทศภาพใหญ่เป็นแบบนี้ คือ เด็กไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ อยู่กับปู่ย่าตายาย และศูนย์เด็กเล็กปิดทำการ
ศูนย์เด็กเล็กปิด คือศูนย์เด็กเล็กบ้านเรามีอยู่เป็นจำนวนมากถ้าดูทั้งระบบอาจจะราวๆ 60,000 แห่ง โดยที่ในต่างจังหวัดแต่หลายสังกัดถ้าเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่รับเด็กตั้งแต่ 2 ขวบจนถึง 3 ขวบ คือเด็ก 2 ขวบ ก็เข้าได้แล้วอยู่ถึง 3 ขวบ จากนั้นก็จะไปโรงเรียนอนุบาล 2 ขวบ เข้าศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่จะเป็นสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่พอแตะ 3 ขวบ จะต้องไปโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนอนุบาลก็มักจะอยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอันนี้มีจำนวนเยอะเลย
เด็กปฐมวัยทั่วไปประเทศเรามีสัก 4 ล้านคน อยู่กับโรงเรียนอนุบาลสังกัดกระทรวงศึกษาประมาณล้านกว่า ล้านหนึ่งก็จะอยู่กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในตำบลหมู่บ้านต่างๆ ก็ประมาณหนึ่งล้าน แล้วก็มีเอกชนอีกนิดหน่อย นอกนั้นอยู่ในกรุงเทพฯ อีกสักราวๆ แสนคน ซึ่งแน่นอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในกรุงเทพฯ ปิดหมดเพราะเราเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม สถานการณ์โดยรวมเป็นแบบนี้ ปัญหาด้านพัฒนาการของเด็กไทย
เพราะฉะนั้นตั้งแต่ปีที่แล้วที่เกิดสถานการณ์โควิดมาจนถึงทุกวันนี้ก็ถือว่าค่อนข้างซ้ำเติมปัญหาของเด็กปฐมวัยบ้านเราเหมือนกัน เพราะก่อนหน้าที่จะมีโควิดเดิมเรามีปัญหาอยู่ระดับหนึ่งอยู่แล้วทางกระทรวงมหาดไทยเคยสำรวจเด็กปฐมวัย 4 ล้านกว่าคนพบว่าเฉพาะเจาะไปดูเด็กแรกเกิดจนถึง 2 ปี ก่อนจะเข้าศูนย์เด็กเล็กก็จะพบว่าครอบครัวโดยมากจะไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กการเติบโตของสมองการพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ
ความรู้เหล่านี้เป็นความรู้สมัยใหม่ทั้งสิ้น ครอบครัวโดยมากไม่มีความรู้เหล่านี้ก็จะเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเด็กอ่อนก็จะเลี้ยงดูไปตามที่เคยถูกเลี้ยงดูมา ถึงเวลาก็ให้กินอาจจะเล่นด้วยบ้างแต่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจว่าในสมองของเด็กกำลังเกิดอะไรขึ้นกลไกต่างๆ ของร่างกายพัฒนาอย่างไรจะกระตุ้นอย่างไรกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่เหล่านี้ไม่มีความรู้ เกิดปัญหาทั้งจาก 1.ปัญหาการเลี้ยงดู 2.ศูนย์เด็กเล็กไม่มีคุณภาพ 3.ขาดหน่วยงานทำหน้าที่พัฒนาศักยภาพครู
1.อับดับแรกที่เป็นปัญหาของเด็กปฐมวัยบ้านเราคือ เรื่องของการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก
2.เรื่องของสถานพัฒนาเด็กเล็กซึ่งอย่างที่บอกบ้านเรามีอยู่หลายหมื่นแห่งก็จริงแต่ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมีไม่มากที่ผ่านเกณฑ์ในระดับดีๆ มีไม่มากและแน่นอนกระจุกตัวอยู่ในเขตชุมชนเมือง ส่วนมากที่กระจายอยู่นอกพื้นที่เขตเทศบาล เขตกึ่งเมืองกึ่งชนบทหรือเขตชนบทคุณภาพมาตรฐานก็แตกต่างกันไป
3.ขาดหน่วยงานทำหน้าที่พัฒนาศักยภาพคุณครูที่อยู่ประจำศูนย์
ถ้าเราจำกันได้สมัยก่อนเขาเรียกว่าเป็นศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ในวัดต่างๆ เพราะว่าแนวคิดในการเลี้ยงดูเด็กเล็กในตอนนั้นซึ่งตอนนี้ก็ยังติดค้างอยู่นะยังเป็นมรดกตกค้างมาคิดว่าเลี้ยงเด็กอ่อนไม่ได้มีอะไรมากกินอิ่มนอนหลับเด็กเล็กก็ให้เล่นกันพอถึงเวลาก็อาบน้ำปะแป้งเตรียมกลับบ้าน ที่นี่วัดเนื่องจากระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่มีโรงเรียน เริ่มต้นก็คือโรงเรียนวัดเพราะฉะนั้นศูนย์เด็กเล็กก็เริ่มต้นจากวัด แต่พอยุคหลังมาที่เริ่มเป็นระบบการศึกษาสมัยใหม่เราก็เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กปฐมวัยก็มีการแยกสังกัดออกมาที่นี่วัดก็ไม่ได้เป็นผู้ดูและศูนย์เด็กเล็กแล้ว
แต่ศูนย์เด็กเล็กจำนวนมากยังอยู่ในวัดถ้าไปต่างจังหวัดจะเห็นชัดเจนมากเอาแค่ปริมณฑลก็ได้ก็ยังเห็นอยู่ แต่ตอนนี้ในแง่ของวิชาการก็ยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยดูแลไม่ใช่สถานที่รับเลี้ยงเด็กอ่อนที่วัดเคยดูแลอีกต่อไปละวัดก็ยังช่วยอุดหนุนอยู่ในแง่ของงบประมาณก็ช่วยกัน แต่ในแง่วิชาการมีหลายหน่วยงานเข้าไปช่วยในแง่ของสุขภาพก็จะมีระบบของสาธารณะสุขที่เข้ามาช่วยดูแลวัดพัฒนาการ จุดต่างๆ เหล่านี้ยังไม่สอดประสานกันดีเท่าไหร่
ในระดับนโยบายก็มีความที่จะพยายามสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่ดูและเด็กเล็กกัน แต่ต่างคนต่างทำกระจัดกระจายตอนนี้ภาพใหญ่จะเป็นแบบนี้
ยกตัวอย่างที่เป็นปัญหาคารังคาซังมาเป็นสิบปีคือในเรื่องของพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเนื่องจากพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นองค์ความรู้ใหม่อย่างที่บอกไป เพราะฉะนั้นปู่ย่าตายายพ่อแม่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรแล้วมันต้องดูกันอย่างไร หนึ่งเดือน สามเดือน สี่เดือน จะต้องทำอะไรได้ แล้วในครอบครัวขยายก็ยังเถียงกันอยู่คนรุ่นปู่ยาตายายก็อาจจะบอกว่าต้องเลี้ยงแบบี้ คนรุ่นพ่อแม่เป็นรุ่นใหม่แล้วอาจจะได้ความรู้สมัยใหม่มาแล้วแต่ว่าก็ยังต้องเถียงกันอยู่
เรามีปัญหาเรื่องพัฒนาการของเด็กซึ่งมีความล่าช้าโดยเฉพาะเรื่องของการพูดรองลงมาก็จะเป็นเรื่องของกล้ามเนื้อการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กมีปัญหาหมด ทักษะสมอง Executive Function ก็ยังมีปัญหา ประเด็นมันอยู่ตรงการตรวจวัดพัฒนาการเด็กกระทรวงสาธารณสุขก็จะทำโครงการเชิงรุกเขาจะออกหน่วยไปตรวจที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตรวจเด็กที่อยู่ตามบ้านตรวจแล้วถ้าพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าก็ต้องให้ครอบครัวช่วยพาเด็กเข้าสู่กระบวนการกระตุ้น ถ้าเราพลาดพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยเหมือนก่อกำแพงบ้านต้องเริ่มต้นจากอิฐแนวฐานแรกต่อแถวสองแถวสามจนเป็นกำแพงสูงถ้ามันโหว่ตรงไหนมันกลับมา Fix ไม่ได้แล้วฐานก็ไม่แน่น
เพราะฉะนั้นกระบวนการที่ตรวจพัฒนาการเชิงรุกอันนี้ดีแต่พอตรวจเจอว่ามีดีเลย์หรือสงสัยว่าจะดีเลย์ในด้านใดด้านหนึ่งกระบวนการที่จะเข้าไปกระตุ้นเด็กคนนั้นให้พัฒนาการกลับมาตามปกติตามวัยของเขาตรงนี้เป็นจุดที่มีปัญหามากเลยทำให้เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยว่าล่าช้าหรือว่าล่าช้าไม่ได้รับการแก้ไขในเวลาที่เหมาะสม
เมื่อเข้าอนุบาล 1 ป.1 มันก็จะโผล่อีกอาจจะเป็นเรื่องแอลดีเรียนรู้ช้าหรือมีปัญหาเรื่องสมาธิหรืออะไรต่างๆ ซึ่งสุดท้ายก็กลายเป็นฐานทุนชีวิตของเด็กที่ไม่แข็งแรงพอที่จะส่งให้เขาต่อยอดศักยภาพในชั้นประถม มัธยมหรืออะไรต่อๆ ไปสุดท้ายเราเห็นผลสอบแข่งขันวัดความสามารถวิชาการของเด็กไทยไม่ว่าจะเป็นผลสอบด้านใดก็ตามก็จะออกมาไม่ค่อยดีมันเป็นลูกโซ่แบบนี้ก็
จุดที่หนึ่งที่เป็นปัญหาคือเรื่องครอบครัวซึ่งมีมิติทางเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างเยอะประเทศไทยมีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือมีการย้ายถิ่นภายในประเทศสูงมากเพื่อทำมาหากินเป็นเหตุผลหลัก บางหมู่บ้านวัยหนุ่มสาววัยที่เป็นพ่อแม่ไม่อยู่เลยพอ 18-19 ปี ไปหางานทำแล้วมีลูกก็ส่งกลับมาที่หมู่บ้านก็จะมีผู้สูงอายุแล้วก็มีเด็กเป็นอะไรที่เราเห็นจนชินตา แต่นั้นคือลักษณะของสังคมไทยที่ทำให้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่
เพราะฉะนั้นมันมีผลการศึกษาที่ชัดเจนมากเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ถูกเลี้ยงโดยพ่อแม่กับที่ถูกเลี้ยงโดยไม่ใช่พ่อแม่อาจจะเป็นปู่ย่าตายายพี่ป้าน้าอา พัฒนาการของเด็กสองกลุ่มแตกต่างกันโดยชัดเจน เราเดาได้กลุ่มที่อยู่กับพ่อแม่จะมีพัฒนาการที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่
สำหรับกลุ่มคุณพ่อคุณแม่ที่มีความพร้อมแต่ขาดความรู้ มีความพร้อม มีเวลา มีงบประมาณ แต่ขาดความรู้ว่าจะสร้างการเรียนรู้ที่บ้านอย่างไรดี จะทำกิจกรรมอะไรกับลูกวัยนี้วัยนั้นดี หรือจะไปเสาะหาความรู้เครื่องมืออุปกรณ์ ชุดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรม หรือว่าผู้รู้ที่ไหนดีกลุ่มนี้ สสส. ไม่ค่อยห่วง
ทีนี้สำหรับกลุ่มเด็กที่อยู่กับครอบครัวที่ไม่ได้พร้อมขนาดนี้ สสส. ก็สนับสนุนให้มีโครงการในพื้นที่เลยเป็นการเข้าไปสนับสนุนให้ชุมชนมีโครงการที่บุกเข้าไปถึงบ้าน เป็นอาสาสมัครที่จะเข้า Coaching วิธีการเลี้ยงดูเด็กวิธีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กหรือการวัดพัฒนาการเด็กไปถึงที่เลย
บางทีก็เป็นคนในพื้นที่อยู่แล้วที่เราเข้าไปสนับสนุนให้เขาทำโครงการสำหรับกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่ของเขา เราก็สนับสนุนชุดสื่อชุดอุปกรณ์ทำกิจกรรมต่างๆ หรือกล่องของขวัญหรือหนังสือนิทานอันนี้เราก็จะสนับสนุนในระดับพื้นที่
มีโครงการที่เข้าไปสนับสนุนคุณครูศูนย์เด็กเล็กแม้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปิดคุณครูก็ยังรันกิจกรรมเหล่านี้ไปกับครอบครัวได้ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำอยู่ ในกลุ่มที่ยากลำบากจริงๆ เลยขาดแคลนเงินทอง อาหารการกินอุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขภาพช่วงนี้หน้ากาก เจล อันนี้ต้องการกล่องยังชีพ ถุงยังชีพเลย สสส. ก็ร่วมมือกับแพลตฟอร์มลงทุนออนไลน์ เทใจดอทคอม https://taejai.com/th/ เทใจดอทคอม ชุมชนการให้เพื่อคนไทย เท่ากับ สสส. ก็เตรียมไว้สำหรับครอบครัวรูปแบบต่างๆ ที่ลำบากแตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ต้องบอกว่าฝากความหวังไว้ที่ สสส. จะไม่ไหวเอา เพราะเราไม่ใช่หน่วยงานรัฐที่มีงบประมาณเยอะเหมือนกระทรวงหลัก เพราะฉะนั้นทุกสิ่งที่เล่าไปที่เราได้ทำมันจะทำเป็นหย่อมๆ ทำเป็นโครงการในอำเภอนี้ ตำบลนี้ จังหวัดนี้ ไม่ใช่ทั้งประเทศ สิ่งที่เราอยากผลักดันก็คือตัวอย่างของการทำโครงการเล็กๆ ที่เข้าไปในพื้นที่แบบนี้หน่วยงานที่เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหน่วยงานหลักสามารถหยิบวิธีการทำงานไปขยายผลได้เลย
เด็กปฐมวัยอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้เขา Lost Generation เราอาจจะเป็นพ่อแม่ที่มีความพร้อมแต่ลูกเราจะอยู่กับ Lost Generation ของเขา อยู่กับสภาพแวดล้อมเพื่อนที่เป็น Lost เหมือนกันแล้วในที่สุดเราก็จะเหน็ดเหนื่อยและจ่ายภาษีเยอะมากแต่คนอีกจำนวนมากไม่ได้มีศักยภาพจ่ายภาษีได้เท่ากับเรา เขาเป็นกลุ่มที่ตกหล่นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ภาพรวมของประเทศของเด็กรุ่นนี้ที่โตไปจะสภาพสังคมที่ค่อนข้างยากลำบากทีเดียว
จริงๆ ตอนนี้ถ้าให้ตัวเองฟันธงสักเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องที่น่าจะอยู่ในมือทุกคนสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องไปหวังให้หน่วยงานไหนมาช่วยเราคือเราต้องมองให้ทะลุไปเลยว่าท่ามกลางความยากลำบากทุกอย่างที่กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้หากเราสามารถที่จะสร้างความเข้มแข็งเชิงจิตใจให้กับคนในครอบครัวของเราได้เราก็จะรับมือกับความทุกความยากลำบากได้ในระดับหนึ่ง
ถ้าเราทำให้บ้านในสถานการณ์เศรษฐกิจ สถานการณ์โรคระบาดกำลังรุมเร้าแต่เราพยุงบรรยากาศภายในบ้านรักษากำลังใจเพื่อที่จะทำให้ภายในบ้านยังคงมีบรรยากาศของความหวังบรรยากาศในเชิงบวกเด็กเล็กๆ ในบ้านไม่ต้องซึมซับความเครียด ความเศร้า ความวิตกกังวล ไม่ต้องอยู่ท่ามกลางผู้ใหญ่ที่ทะเลาะกันเพราะความเครียด เด็กจะยังสามารถมีความเข้มแข็งในจิตใจซึ่งอีกปีสองปีเขาจะค่อยๆ ต่อยอดไปได้ไม่ต้องมีแผลเป็นในใจเราคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ แต่เข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเป็นเรื่องยากมากๆ
ทั้งหมดนี้เป็นสถานการณ์ที่เด็กรุ่นนี้จะต้องเผชิญคนรุ่นเราต้องเผชิญอีกปีสองปีที่อาจจะค่อยๆ ดีขึ้นผู้ใหญ่จะพอฟื้นตัวได้ แต่เด็กปฐมวัยอย่างที่บอกอิฐแต่ละชั้นที่กำลังก่อกันอยู่มันมีช่องโหว่มันมีความแตกหักถ้าเราไม่แก้ไขตอนนี้เลยหรือป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นโอกาสที่เขาจะไปฟื้นตัวเหมือนผู้ใหญ่จะไม่มีผ่านแล้วจะผ่านเลยในแง่ของพัฒนาการเด็กปฐมวัย
จริงๆ สสส. มีแผนงานจำนวนมากไม่ใช่แค่แผนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว เช่น แผนงานทางสุขภาพจิตซึ่งก็ได้ทำงานใกล้ชิดกับกรมสุขภาพจิตที่จะพัฒนาระบบต่างๆ ขึ้นมาเพื่ออุดช่องโหว่ช่องว่าง หรือแผนที่เกี่ยวกับความเข้มแข็งของชุมชนซึ่งทำงานร่วมกับชุมชนต่างๆ ซึ่ง สสส. ก็มองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งจับมือกับอีกหลายๆ หน่วยงานที่จะไปส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นให้ระบบองค์กรต่างๆ เข้มแข็งขึ้นและให้จิตอาสาที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกคนมีความเป็นจิตอาสาในตัวเองได้มีช่องทางในการแบ่งปันเวลา แบ่งปันความคิด ความรู้ของเราในช่องทางต่างๆ สสส. เข้าไปช่วยเป็นกาวเป็นน้ำยาประสานเชื่อมเป็นสะพานส่งต่อเชื่อมโยงคงเป็นบทบาททำนองนี้ รวมไปถึงอาจจะไปช่วยลงทุนทำต้นแบบหรือโมเดลส่งต่อให้หน่วยหลักกระจายต่อทั่วประเทศ
ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่นิดนึงค่ะเราเป็นผู้ใหญ่สะสมประสบการณ์ชีวิต บทเรียนชีวิตมันพอที่จะให้เรารับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ในระดับที่ดีพอสมควร เรารู้วิธีจัดการความเครียดหรือว่าเราหาได้ความรู้หาไม่ยากและเมื่อเราลงมือทำเราก็จะช่วยเหลือตัวเองได้ แต่เด็กเล็กลูกเราเล็กๆ เขาต้องการเราที่จะช่วยถ้าเราเต็มไปด้วยความเครียด ความทุกข์ เด็กๆ เหมือนฟองน้ำเขาซึมซับ เขารับรู้เร็วมากๆ แม้เราไม่ได้เอ่ยออกมา แม้เราไม่ได้โวยวายใส่เขา แต่เด็กเล็กจะซึมซับได้ด้วยสัญชาตญาณของเขาด้วยความละเอียดอ่อนของเขาแล้วมันจะสะสม เขาจะแสดงออกไม่เก่งด้วยวัยของเขา ความเครียดของเด็กเล็กดูออกยากมาก ความกังวลใจของเด็กเล็กดูออกอยากมากแล้วเขาจะซึมซับไว้ทั้งหมด เหมือนรอยข่วนที่มันจะลึกขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านไปแต่ละอาทิตย์แต่ละเดือนที่ทางบ้านจมอยู่กับความเครียดหรือข่าวร้าย
อยากจะบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าหันไปมองคนที่เล็กที่สุดของบ้าน คนที่อ่อนแอที่สุดของบ้านเราจะปกป้องเขาได้อย่างไร และแน่นอนเราต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อนแล้วเดี๋ยวมันจะค่อยๆ เข้าไปเติมความเข้มแข็งให้เด็กตัวเล็กๆ ในบ้านเราได้ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ว่าช่วงเวลาที่อยากลำบากแบบนี้เราจำเป็นต้องมีความหวัง เราจำเป็นต้องมองทะลุไปให้ถึงวันที่เราจะรอดว่าเรายังจะรักษาความเข้มแข็งไปให้ถึงวันที่เราจะรอดได้อย่างไรแล้วก็ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าได้ย่างไร เป็นกำลังใจและขอให้ช่วยๆ กันนะคะ
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u