เพราะเราอยู่กับลูกตลอดเวลาไม่ได้ การเป็นผู้ปกครองไม่เพียงพอให้ลูกอยู่รอดได้โลกที่มีความผันผวนได้ ครูหม่อม ชวนเปลี่ยนจากผู้ปกครองเป็น “ผู้ประคอง” เพื่อให้ลูกสามารถอยู่รอดได้อย่างมีความสุข
ฟังวิธีการโดยครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่จริงคำนี้ครูหยิบมาพูดเพราะว่า พอพูดแล้วมันคลิกว่าคุณพ่อคุณแม่ติดเป็นผู้ปกครองลองเป็นผู้ประคอง พอบอกเป็นผู้ประคองคำนี้ทุกคนจะผ่อนคลาย กลายเป็นว่าที่ครูหม่อมอธิบายมาเป็นชั่วโมงมันจบอยู่ที่ผู้ปกครองแต่พอเราคลายคำว่าลองเป็นผู้ประคองดูแล้วความปกครองเราจะหายไป ปรากฏว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจครูหม่อมเลยหยิบยกคำนี้ขึ้นมาและพูดถึงอยู่บ่อยๆ ความต่างก็ตามความรู้สึกหรือความหมายตามที่เรารู้สึก
ถ้าเราเป็นผู้ปกครองเมื่อไหร่ก็กลายเป็นเราต้องไปปกครองเขาคอยสั่ง ตัดสิน ควบคุม ตีตรา แต่ถ้าเราลองเป็นผู้ประคองแปลว่าเรากำลังอนุญาตให้ลูกได้รู้สึกในแบบที่เขารู้สึกจริงๆ คิดในแบบที่เขาคิดจริงๆ มันจะผิดหรือถูกไม่รู้มันไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ความคิด ความรู้สึกนึกคิดของลูกเกิดขึ้นจริง แล้วเราจะประคองลูกเราอย่างไรให้กลับมาอยู่บนทิศทางที่ควรจะเป็นถ้าเราประคองเขาได้วันหนึ่งเขาก็จะอยู่ได้ประคองตัวเองได้
แต่ถ้าเราปกครองเขาวันหนึ่งเราไม่อยู่แล้วใครจะไปควบคุมเขา หรือถ้าเราไปทำแทนไปทำให้วันหนึ่งเราไม่ทำให้ใครจะไปทำให้เขา แต่ตอนนี้เรากำลังให้เขาทำให้เขาคิดให้เขารู้สึกแล้วเราประคองสิ่งที่เขาคิดสิ่งที่เขาทำสิ่งที่เขารู้สึกให้อยู่ในลู่ในทาง
คนเป็นพ่อเป็นแม่มักไม่ค่อยอนุญาต บางทีไม่อนุญาตตัวเองให้ทำอย่างนู้นอย่างนี้ด้วย ยิ่งเป็นลูกเราก็เผลอไปปกครอง เราอนุญาตให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยที่เราค่อยๆ เรียกให้เขากลับเข้าลู่ทางที่มันควรจะเป็น อย่างเช่น ถ้าลูกอยากไปพัทยาเราไม่ห้ามลูกไปพัทยาแต่เขาก็จะหาวิธีทางไปของเขาถ้าเขาอ้อมไปหัวหินเราก็ต้องกวักมือกลับมาแต่ในการกวักมือเราก็ต้องอยู่ข้างๆ ทางที่เขาไปหัวหินประคองเขากลับมาเพื่อไปสู่พัทยา แต่ถ้ายืนอยู่ตรงนี้แล้วตะโกนไปตรงนั้น มาทางนี้ ต้องไปทางนี้ แบบนี้ก็จะยากคือการปกครอง ลูกจะมาเวลาที่เราไปสั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุมลูก
สิ่งที่เกิดขึ้นคือลูกทำเพราะกลัวกับลูกไม่ทำเพราะก้าวร้าวเราจะได้ลูกแบบนี้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราประคองเราจะได้ลูกที่เรียนรู้ลองผิดลองถูกเรียนรู้ได้จากสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมคือเขาจะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่าอันนี้ไม่เหมาะสมและสิ่งที่เขาทำไม่เหมาะสมมันเกิดอะไรไม่ดีกับเขาบ้าง
แต่ถ้าเราเป็นผู้ประคอง เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เขารักอะไรที่เราเสียใจจะกลายเป็นบทลงโทษของลูกเราอย่างหนักมาก แต่ถ้าเรายังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับลูก บางครั้งลูกประชดประชันแกล้งทำให้มันไม่ดีเพื่อให้พ่อแม่เสียใจเพราะสะใจลูกอันนี้คือความต่างผลลัพธ์ของผู้ประคองและผู้ปกครอง
Checklist เราเป็น
1.วันนี้ทั้งวันเราพูดอะไรกับลูกมากที่สุด
ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ส่วนใหญ่ที่ครูหม่อมเจอคือชื่อลูก เสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสาม ถ้าวันหนึ่งๆ เรามีเสียงไหนเราต้องเรียกลูกด้วยน้ำเสียงอย่างไรตลอดทั้งวัน เราสามารถจะตัดสินเองได้ว่าเราเป็นผู้ประคองหรือผู้ปกครอง
2.ถามตัวเองว่าเราสั่งหรือสอนลูกมากกว่ากัน
ตั้งแต่เช้าเราพูดอะไรกับลูกเป็นคำสั่งหรือคำสอนมากกว่ากัน ถ้าเป็นคำสอนต้องเป็นการสอนจริงๆ ไม่ใช่เป็นการปรับพฤติกรรมเด็กไทยในวันหนึ่งๆ ได้ยินเสียงคำสั่งเยอะ ครูหม่อมเคยทำงานวิจัยเชื่อหรือไม่ภายใน 1 นาที เด็กไทยได้ยินคำว่า ห้าม ไม่ อย่า หยุด เกือบประมาณ 80 ครั้ง ภายใน 1 นาที จากหลายๆ ทาง ลูกไม่ อย่า ห้ามอยู่ตลอดเวลา คำถามคือให้เราลองนึกถึงตัวเรามีคนมาสั่งเราทั้งวันมันกระตุ้นอารมณ์เราไหม
3.คำถามต่อไปลองเช็กดูเราดุหรือปลอบลูกมากกว่ากัน
4.ตำหนิลูกหรือชมลูก
ทั้งวันมานี้เราตำหนิหรือชมลูก วันหนึ่งๆ คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คตัวเองดูว่าสายตาเราไปจ้องจับผิดหรือมองเห็นสิ่งดีๆ ของลูกเรา ผู้ปกครองจะคอยมองว่าทำอะไรผิด จับผิด
แต่ถ้าจะเป็นผู้ประคองเราต้องประคองเขาจากสิ่งที่เขาทำได้ดี แล้วไปพัฒนาตัวเขาให้ดีขึ้นไปอีกเพราะธรรมชาติของมนุษย์คือการเรียนรู้ เราอยากประสบความสำเร็จก็จะมีกำลังที่จะไปต่อ แต่ถ้าทำอันนี้ก็ย่อท้อ อันนั้นก็ไม่ดีเราจะรู้สึกว่าไม่กล้าทำ ไม่ยากทำ ยิ่งทำแล้วโดนดุด้วย ทำแล้วโดนตัดสินว่าเป็นคนไม่ดี ทำแล้วโดนตัดสินว่าเป็นคนไม่เก่ง มันจะไม่อยากโชว์ ไม่มีใครอยากโชว์ความไม่เก่งของตัวเองความมั่นใจสูญเสีย แต่ถ้าเกิดทำแล้วมันมีคนเห็นมันเพิ่มพลังใจ มันอยากจะทำเข้าไปอีก
4 ข้อนี้ เอาไว้ Checklist ก่อนนอน หากว่าเราเช็กในวันนี้คืนนี้กลายเป็นว่าสั่งมากกว่า ดุมากกว่า ตำหนิมากกว่า ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เริ่มใหม่ เราเริ่มใหม่แล้วเราอยู่กับลูกไม่ใช่แค่วันนี้พรุ่งนี้เราอยู่กับลูกอย่างน้อย 30 ปี ก่อนเขาแต่งงาน เพราะฉะนั้นใน 30 ปี ตั้งจิตอธิษฐานไว้เลย อะไรที่ผ่านมาลูกเราอาจจะแค่ 5 ขวบ 6 ขวบ หรือ 10 หรือ 15 ขวบ ไม่เป็นไรยังเหลือเวลาอีก 25 ปี เหลือเวลาอีกเยอะที่เราจะปรับและลองใหม่ ค่อยๆ ปรับไป
ต้องบอกว่ายุคนี้อะไรก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ยิ่งเป็นยุคที่โควิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เทคโนโลยีเรายังตั้งรับมือได้ไม่ดีเลย แต่สถานการณ์ที่มันผันผวนปรวนแปร โควิดเราก็ไม่เคยคิดว่าจะมีระลอก 2 ระลอก 3 แล้วก็ไม่รู้จะมีอะไรอีก เพราะฉะนั้นเรื่องความมั่นคงทางอารมณ์ของมนุษย์เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ผันผวนปรวนแปรอยู่อย่างนี้ ถ้าเราไม่มีคนคอยประคองอารมณ์เราก็จะรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ลำบาก
ผู้ประคองมีเอาไว้สำหรับ เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ที่จะต้องประคองอารมณ์ตัวเองพอเราประคองอารมณ์ตัวเองเสร็จเราจะไปประคองอารมณ์คนข้างๆ ได้ ถ้าเกิดเราหวั่นไหว คนข้างๆ ก็หวั่นไหว
ในยุคสมัยนี้อารมณ์ของเราจะขึ้นลงเยอะเพราะสิ่งที่มาปะทะหรือข้อมูลภายนอกจะเร็วผันผวนควบคุมไม่ได้มันส่งผลกันมนุษย์เราแน่นอน อะไรที่เราหวังไว้ อะไรที่เราตั้งใจไว้มันไม่เป็นไปตามนั้น ความเครียดก็เกิดถ้าไม่มีผู้ประคองความเครียดเรา เราก็จะประคองความเครียดตัวเองลำบาก แต่ถ้ามีคนมาประคองความเครียดเรา เราก็จะประคองความเครียดตัวเองได้ และเราก็จะไปประคองความเครียดก็คือไปรับมือความเครียดของคนอื่นได้อีก เพราะฉะนั้นผู้ประคองจะสำคัญมากๆ ในยุคสมัยนี้
เวลาที่เราบอกว่าประคองไม่ไหวแล้วครูว่าอันนี้คือเทคนิค เมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้ตัวว่าเราประคองไม่ไหวแล้วนั่นคือทักษะอารมณ์อีกเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่คนที่เขวี้ยงอารมณ์ ขว้างปาอารมณ์ เหวี่ยงอารมณ์ใส่คนอื่น คือคนที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังประคองอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ เพราะฉะนั้นจุดเริ่มแรกในเทคนิคเลยคือ
ถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่อยากให้คิดไว้เลยว่าถ้าเมื่อไหร่ที่เราโมโหเราจะทำอย่างไร มันคือเรื่องของ Anger management หรือเรื่องการจัดการความโกรธเป็นเรื่องที่เราต้องฝึกและคิดด้วยตัวเอง เราอาจจะฟังคนอื่นมาเวลาโกรธหายใจเข้า – ออก นับ 1-10 สิ เราอาจจะรู้วิธีแต่เราไม่เคยฝึกก็ต้องฝึกด้วยตัวเองว่าวิธีนี้มันเวิร์คกับเราไหม ถ้าไม่เวิร์คหาวิธีใหม่มันไม่ได้มีวิธีเดียว
แต่ต้องคุยกับตัวเองเยอะๆ ทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จ อย่างที่ครูบอกทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จแล้วเราจะไม่ไปทะเลาะกับใคร เราไม่เคยทะเลาะกับตัวเอง พอเราโมโหเราไปทะเลาะกับคนอื่น แต่ถ้าเราโมโหเมื่อไหร่และเราบอกว่าฉันกำลังโมโหฉันอยากจะพูดคำนี้แต่ฉันจะไม่พูดคำนี้เดี๋ยวจะทำให้สายสัมพันธ์ฉับลูก กับสามี ฉันกับภรรยาเกิดการขัดแย้งกัน ฉันจะต้องทำอย่างไรกับความโกรธนี้ คุยกับตัวเองให้เสร็จ
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะคิดได้ว่าเราจะจัดการความโกรธอย่างไรเราต้องคิดตอนที่เราไม่โกรธ ว่างๆ คุณพ่อคุณแม่นั่งคิด เป็นอีกหนึ่งเรื่องนะคะนอกจากคิดหาเงินเข้าบ้าน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราต้องคิดว่าเวลาโกรธเราทำอย่างไร ถ้าเรารำคาญลูกทำอย่างไร นั่งคิดไว้เลย ครูจะเล่าให้ฟังว่ามีงานวิจัย งานวิจัยนี้เขาทำการแบ่งกลุ่มคนที่ไม่เคยชู้ตบาสลงห่วงมาก่อน เขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เป็นงานวิจัยที่ทำกับเด็กอายุ 15 – 60 แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือไม่เคยชู้ตบาสอย่างไรก็ไม่เคยชู้ตบาสอย่างนั้นไม่ต้องชู้ตเลย
กลุ่มที่สองให้ดูคลิปวีดิโอให้ดูจนกว่าจะจำได้ พอดูเสร็จในทุกๆ วันจะพาคนกลุ่มที่สองมานั่งเปิดเพลงแล้วให้เรานึกถึงการชู้ตบาสที่เราดูคลิปมา
กลุ่มที่สามคือให้ไปชู้ตบาสจริงเลย
ผ่านไป 1 เดือนเขาเอาคนทั้งสามกลุ่มมาชู้ตบาส ปรากฏกลุ่มที่1 ก็ตามคาดชู้ตสะเปะสะปะชู้ตไม่ได้เพราะไม่เคย สิ่งที่เราสนใจกลุ่มที่ 2 ชู้ตได้ไม่ดีเท่าฝึกปฏิบัติเหมือนกลุ่มที่ 3 แต่จุดสำคัญคือบางคนในกลุ่มที่ 2 สามารถทำได้ดีกว่ากลุ่มที่ 3 งานวิจัยชิ้นนี้สรุปไว้แบบนี้ว่ากลุ่มที่ 3 ทำได้ดีฝึกซ้อมด้วยการปฏิบัติจริงทำให้คนที่ไม่มีพรสวรรค์เลยก็สามารถทำได้
แต่กลุ่มที่ 2 ที่ให้ใช้สมองนึกจินตนาการ เขาให้ดูทีเดียวแต่วันที่เหลือนั่งนึกวิธีการชู้ตบาสไม่ให้ทำท่า ให้นั่งแล้วก็นึกว่าต้องชู้ตบาสตามภาพที่เคยเห็นให้มันลงได้อย่างไรคลิปดูทีเดียวแล้วหลังจากนั้น 1 เดือนให้นึกจินตนาการ แล้วเขาก็บอกว่าให้นึกจินตนาการพอมาให้ชู้ตจริงๆ บางคนชู้ตได้ดีมากเป็นเพราะเรื่องของพรสวรรค์ด้วย แต่ที่น่าแปลกใจคือเขาชู้ตได้ทุกคน แล้วงานวิจัยนั้นก็บอกว่าสมองของคนเราแม้ว่าตัวเราไม่เคยชู้ตบาส แต่การนั่งนึกไปตลอดหนึ่งเดือนนั้นสมองเราได้ฝึกแล้ว
ครูกำลังจะชวนทุกท่านมาเป็นนักบาสกลุ่มที่ 2 คือเราโกรธ เราต้องทำใจไปก่อนเลยว่าเราไม่ได้ฝึกตัวเองว่าไม่ให้โกรธเราต้องโกรธเหมือนที่บอกว่าผู้ประคองจะอนุญาตความรู้สึกนึกคิดเพราะเราเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ อิจฉาคนอื่นได้ไหม ได้แต่อิจฉาแล้วทำอย่างไรเป็นเรื่องที่เราต้องคิด โกรธคนอื่นได้ไหม โกรธได้แสดงว่าเราปกติแต่การโกรธนั้นเรารู้แล้วว่าเราโกรธ โกรธเสร็จเราจะจัดการกับมันอย่างไร
ผู้ประคองสอนลูกอย่างไร เหมือนกันเวลาลูกโกรธก็สอนลูกแบบนี้ว่าครั้งหน้าหนูโกรธหนูจะทำอย่างไร เวลาลูกโกรธถ้าเราเป็นผู้ปกครองเราจะบอกว่าอย่าทำอย่างนี้ โกรธแล้วตีแม่ไม่ได้นะ คำพูดนี้ สั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุม ครบเลยแต่ถ้าเราบอกลูกว่า หนูกำลังโกรธ แล้วหยุดแล้วไม่ต้องพูดอะไร หนูกำลังโกรธหนูเลยตีแม่ แค่นั้นไม่ต้องพูดอะไร ทำไมถึงให้หยุดอยู่แค่นั้น
เพราะว่าเวลาที่ลูกของเรากำลังโกรธอยู่เป็นช่วงเวลาที่ลูกของเราต้องการผู้ประคองมากที่สุด โกรธแล้วเขาไม่รู้จะทำอย่างไร วิธีการที่จะระบายโกรธได้ดีที่สุดก็คือการตีคนอื่น การขว้างของ การตะโกน มันไม่ผิดเป็นเรื่องปกติเหมือนปวดฉี่ก็ต้องระบายออก ปวดฉี่มากมันต้องระบายออกเพราะฉะนั้นการระบายออกที่ดีที่สุดนั่นคือฉี่ราด โกรธแล้วตี โกรธแล้วขว้างของ โกรธแล้วกรี๊ด โกรธแล้วตะโกน นี่คือง่าย
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการบอกให้เขารู้ตัวก่อนว่าหนูกำลังโกรธ แต่พออารมณ์เขาลงสิ่งที่เราจะสอนเขาคือครั้งหน้าแทนการกรี๊ดเมื่อหนูโกรธแทนการตีแม่หนูจะทำอะไรได้ นั่นคือสิ่งที่เราจะสอนลูก ที่ครูถามว่าสั่งหรือสอนมากกว่ากันเราสอนลูกให้ลูกคิดหรือเปล่าเวลาสอนก็บอกเป้าไปว่าถ้าโกรธต้องทำอย่างไรแต่ที่เหลือคือลูกเป็นคนคิด
แต่ถ้าเราบอกว่าถ้าครั้งหน้าหนูโกรธหนูต้องนับ 1-10 ไม่ก็เดินหนีไป ไม่ใช่มาตีแม่ แบบนี้สอนหรือสั่ง ในคำพูดจะบอกเลยว่าเป็นคำสั่งหรือคำสอน ปกติที่ผ่านมาเราอาจจะคิดว่าเราพูดแบบนี้ว่า คราวหน้าถ้าโกรธทำอย่างนี้อีกไม่ได้นะ ไม่น่ารักเลย เราคิดว่าเราสอนอยู่แต่คนฟังไม่ใช่นะ สั่งไม่พอ ตัดสิน ตีตรา ทำแบบนี้ไม่น่ารัก ถ้าแม่ปล่อยไปลูกก็จะไปทำกับคนอื่น. แบบนี้เราคิดว่าสอน แต่ถามว่าลูกได้คิดอะไรไหม ความรู้สึกนึกคิดของลูกไม่มีเลย มีแต่เราไปปกครองเขาอยู่อย่างเดียว
ผู้ประคองประคองอารมณ์ ประคองให้เขาค่อยๆ ฝึกทักษะไปกับเรา เวลาเห็นลูกโมโหสิ่งที่ครูอยากให้มองใหม่คือดีใจในเผ่าพันธุ์ ภูมิใจว่าลูกเรามีสมองส่วนความรู้สึก มีรัก มีหลง มีอารมณ์ มีโกรธ มีอิจฉา มีอยากได้ ถ้าเกิดว่าลูกเราเป็นแบบนี้ดีใจเอาไว้ เพราะมีเด็กที่ไม่รู้สึกอะไรเลย มีตั้งแต่ไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่เข้าใจ เด็กเฉย เด็กที่ตัดตัวเองออกจากโลกไม่อยากจะรู้สึกอะไรชินชา
เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกเรามีอารมณ์ที่หลากหลายนั่นคือพรอันประเสริฐแล้ว ที่เหลือคือเราจะประคองให้เขาแสดงออกอารมณ์เหล่านั้นอย่างไรให้อยู่บนลู่บนทางที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่นั่งคิดฝึกตัวเอง ฝึกตัวเองเสร็จเอาวิธีนี้ไปสอนลูก
คาถาของครูหม่อมจะมีคำว่า มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ ถ้าเมื่อไหร่ที่เราท่องคาถา มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ แล้วคาถานี้เข้าไปอยู่ในใจลูกเราจะกลายเป็นฐานที่มั่นทางใจให้ลูกได้ทันที เพราะฉะนั้นให้ท่องคาถานี้เมื่อไหร่ก่อนจะพูดอะไรก่อนพูด มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ ไหมถ้าพูดไปแล้ว มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ พูดเลย
พบกับ รายการ รักลูก The Expert Talk ทุกวันพฤหัสบดีที่ 1 2 และ 3 ของเดือน
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u
www.rakluke.com/community-of-the-experts.html