เหตุการณ์ไฟไหม้อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ ความประมาท หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว ลูก (รวมถึงสมาชิกในครอบครัวด้วย) ต้องเอาตัวรอดจากสถานการณ์ไฟไหม้ได้ค่ะ
1. สอนลูกให้รู้จักสัญลักษณ์ทางออกฉุกเฉิน และเมื่อไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นชิน ให้มองหาทางออกฉุกเฉินหรือบันไดหนีไฟเผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
2. บอกลูกให้รู้ว่าถ้าเกิดเหตุไฟไหม้ห้ามใช้ลิฟท์เด็ดขาด เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้สัญญาณไฟจะถูกตัด ถ้าใช้ลิฟท์ขณะไฟไหม้ เราอาจติดอยู่ในลิฟท์ และมีโอกาสเสียชีวิตได้
3. สอนลูกให้รู้จักทักษะการสื่อสาร รู้จักใช้โทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายได้ บอกลูกให้รู้ว่าเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ควรโทรแจ้ง 199 หรือแจ้ง 191 เมื่อมีเหตุด่วนเหตุร้าย
4. บอกลูกให้รู้จักสัญญาณเตือนไฟและวิธีใช้ รวมถึงข้อห้ามที่ไม่ควรดึงเล่น
5. สำหรับเด็กโตควรสอนหรือเปิดคลิปวิธีใช้ถังดับเพลิงให้ลูกดู เพื่อเตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
1. ตั้งสติ แล้วพาตัวเองออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด
2. ดึงหรือสัญญาณเตือนภัยเพื่อแจ้งให้ผู้อื่นในอาคารทราบ
3. โทรศัพท์แจ้งเหตุไฟไหม้ โดยเบอร์ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงคือเบอร์ 199 หรือหากมีเบอร์อื่น ๆ เช่น เบอร์เจ้าหน้าที่ตำรวจ กู้ภัย ก็สามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือได้เช่นกัน
4. ใช้ถังดับเพลิง ดับไฟกรณีที่ไฟไหม้เพียงเล็กน้อยเพื่อควบคุมเพลิง
6. อย่าเปิดประตูทันที ให้ค่อย ๆ จับเพื่อทดสอบความร้อนก่อน หากร้อนจัดแสดงว่ามีเปลวเพลิงอยู่ด้านนอก หากรู้สึกร้อนนั่นหมายถึงอาจมีไฟอยู่หลังประตู จึงไม่ควรเปิดเพราะจะทำให้ควันไฟเข้าห้อง ควรหาผ้าหรืออื่น ๆ มาอุดตรงประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้ามาในห้องได้
7. ไม่วิ่งหนีเข้าจุดอับ หลบในห้องน้ำ หรือวิ่งขึ้นดาดฟ้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้
8. ระหว่างหาทางออกจากที่เกิดเหตุ หากมีควันมากพยายามก้มต่ำหรือคลาน เพราะออกซิเจนจะลอยอยู่ที่ต่ำ
9. หากไฟไหม้เสื้อผ้าให้กลิ้งตัวกับพื้นเพื่อดับไฟ อย่าวิ่งเด็ดขาด เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น
ไฟไหม้สามารถสร้างความสูญเสียได้เพียงชั่วพริบตา แต่ถ้าเรามีสติ สอนลูกให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นได้ จะช่วยลดความสูญเสียที่อาจคาดไม่ดึงได้ค่ะ
ที่มา :
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี