ลูกทารกในท้องเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือเปล่า คนท้องเช็กได้จากอัลตราซาวนด์
ลูกทารกในท้องเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือเปล่า คนท้องเช็กได้จากอัลตราซาวนด์
คุณแม่รู้ไหมว่าความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจทารกที่อาจทำให้เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในประเทศไทยพบได้มากที่สุดประมาณ 8 ใน 1,000 หรือ ในเด็กแรกเกิด 1,000 คนจะมีเด็กทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดถึง 8 คน เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันเราสามารถตรวจได้ว่า ลูกในท้องมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงค่ะ
สาเหตุที่อาจทำให้ทารกเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
- ทางคุณแม่ ได้แก่ คุณแม่ที่เป็นเบาหวาน เป็น SLE ได้รับ teratogen (สารก่อมะเร็ง) เช่น lithium carbonate alcohol และ anti convulsant ติดเชื้อไวรัสบางอย่าง เช่น หัดเยอรมัน มีภาวะแฝดน้ำ มีหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น
- ทารก ได้แก่ มีความผิดปกติ ใน level 1 scan มีความผิดปกติของอวัยวะในระบบอื่นที่ไม่ใช่ระบบหัวใจ มีความผิดปกติของโครโมโซมของคุณแม่ ทารกในครรภ์มีการเต้นผิดปกติของหัวใจ บวมน้ำ เจริญเติบโตช้า เป็นต้น
- ครอบครัว คือ มีประวัติโรคหัวใจแต่กำเนิดในครอบครัว มีประวัติในครอบครัวเป็น Noonan หรือ Marfan sysdrome
การตรวจหัวใจทารกด้วยอัลตราซาวด์
การตรวจหัวใจทารกในครรภ์ จะเริ่มจากภาพโครงสร้างหัวใจทารกในหลาย ๆ ระนาบทั้ง 4 ห้องที่เรียกว่า ภาพ 4 chamber ซึ่งสามารถคัดกรองความผิดปกติของหัวใจทารกในครรภ์ได้ถึงร้อยละ 92 แต่ในภายหลังพบว่าความไวในการคัดกรองลดต่ำลง และต่างกันไปได้ตั้งแต่ร้อยละ 33-69 ซึ่งความแตกต่างของตัวเลขดังกล่าว อาจสืบเนื่องจากชนิดของพยาธิสภาพของหัวใจทารกแตกต่างกันในกลุ่มประชากรที่ศึกษา
การตรวจหัวใจทารกในครรภ์ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถบอกความผิดปกติของหัวใจทารกแรกคลอดได้หมด ซึ่งพยาธิสภาพบางอย่างที่พบได้บ่อยหลังคลอด เช่น รูรั่วระหว่างหัวใจส่วนบนและส่วนล่างซ้ายและขวา จะไม่สามารถบอกได้ คุณแม่จึงควรเข้าใจถึงโอกาสของความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการตรวจหัวใจพิการของทารกในครรภ์ไว้ด้วย
หัวใจของทารกในครรภ์เติบโตและมีพัฒนาการอย่างไร
- ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์: หัวใจเริ่มพัฒนาถือเป็นอวัยวะชุดแรกที่ตัวอ่อนทารกจะเริ่มพัฒนาขึ้น ขณะนั้นตัวอ่อนจะประกอบด้วยเซลล์เพียง 150 เซลล์เท่านั้น แต่จะมีการแบ่งชั้นเนื้อเยื่อออกเป็น 3 ชั้น คือ นอก กลาง และใน เนื้อเยื่อชั้นกลางนี้เอง จะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอวัยวะที่มีความพิเศษในด้านความทนทานในการทำงาน คือ หัวใจ ไต ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นนั่นเอง จากนั้นใน 2 สัปดาห์ต่อมา หัวใจจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตามโครงสร้างที่กำหนดไว้แล้วในแบบแผนภูมิของยีนส์
การตั้งครรภ์ช่วงนี้ จึงเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องระวังมากที่สุดในการดูแลตนเอง เพราะถ้าได้รับเชื้อโรคบางอย่าง เช่น ไวรัสหัดเยอรมัน หรือคุณแม่ที่เป็นเบาหวานและควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี หรือสูบบุหรี่ กินยาบางอย่างที่เป็นอันตราย ก็จะเป็นผลให้ลูกมีหัวใจพิการได้
- ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์: จะเริ่มเห็นหัวใจของลูกเต้นจากการดูด้วยอุลตร้าซาวนด์ ซึ่งช่วงนี้ตัวอ่อนจะตัวเล็กมาก วัดได้จากหัวถึงก้นเพียง 0.08 -0.16 นิ้วฟุต เท่านั้น
- ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์: หัวใจจะมีโครงสร้างเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อเรียกจากตัวอ่อนเป็นทารก
- ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์: ฟังเสียงหัวใจทารกได้ด้วยการใช้เครื่อง doppler sound wave stethoscope ซึ่งเป็นเครื่องมือฟังเสียงหัวใจทารกได้ ตอนนี้ทารกจะยาว 1.75 - 2.4 นิ้วฟุต
- ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ – 38 สัปดาห์: หัวใจเริ่มมีการตกแต่งส่วนประกอบปลีกย่อยของหัวใจจนเสร็จสมบูรณ์ แล้วจากนั้นหัวใจก็จะเริ่มขยายขนาดให้เต็มโครงสร้างเมื่อครบกำหนดคลอด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์