ความเชื่อโบราณในการเลี้ยงลูก หลายความเชื่อไม่จริงและแม่ก็อาจเผลอทำตามจนลูกได้รับอันตราย ความเชื่อการเลี้ยงทารกเรื่องไหนจริง เรื่องไหนไม่จริง เช็กกันเลยค่ะ
6 ความเชื่อโบราณกับการเลี้ยงทารก เลี้ยงลูกผิด ชีวิตลูกเปลี่ยนและอันตราย
สำหรับคุณแม่หลายคน การเลี้ยงลูกเป็นความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากทั้งผู้มีประสบการณ์หรือประสบมาด้วยตัวเอง ความเชื่อความเข้าใจในการดูแลทารกหลายอย่างที่ได้รับการถ่ายทอดมานั้น ก็มีทั้งเป็นเรื่องที่ดี และเข้าใจผิดกันได้
ความจริง : เด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองไม่ต้องดื่มน้ำเปล่า ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะปกติที่พบได้ในทารกแรกเกิด 2-3 วันหลังคลอดค่ะ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด และมักหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ โดยไม่มีอันตราย
สาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลือง เป็นเพราะมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งจะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางตับ แต่ตับของทารกแรกเกิดยังทำงานไม่เต็มที่ ทำให้ต้องใช้วิธีขับสารเหลืองออกจากร่างกายผ่านการอุจจาระ (อ่านเรื่องภาวะตัวเหลืองเพิ่มเติม > ภาวะทารกตาและตัวเหลือง อันตรายที่พ่อแม่ควรรู้)
นอกจากนี้ การป้อนน้ำให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดอันตรายได้เช่นกัน
ความจริง : สำหรับลักษณะขาเด็กตอนแรกเกิดจะดูโก่ง ๆ โค้ง ๆ อยู่แล้ว ซึ่งพัฒนาการตามวัยนั้น พอช่วง 2 ปี ขาโก่ง ๆ ที่เห็นก็จะตรงเอง ถึงไม่ดัดและก็ตรงเอง และพอเลย 2 -7 ปีไป ตรงหัวเข่าก็จะเอนและแบะออกข้างนอกเล็กน้อย และ 7 ปีถึงจะกลับเข้าที่เดิมคือดูตรงเหมือนเดิม
ดังนั้น ถึงเราไม่ดัดหรือทำอะไร ขาก็จะกลับมาตรงสวยอยู่แล้ว ถ้าไปดัดขาให้ลูก ก็อาจจะส่งผลได้ เช่น ถ้าถึงวัยที่มันจะตรง มันอาจจะไม่ตรงอย่างที่ควรจะตรง ทำแรงไปจนฝืนสรีระที่ปกติของเด็ก อาจเกิดกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อนหลุดได้ แต่ถ้าขาลูกผิดปกติ หรือเป็นโรคบางอย่างที่ทำให้ขาโก่งผิดปกติ หรือกระดูกมันแบะออกผิดปกติก็จะสังเกตเห็นได้
พ่อแม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ อย่างเช่นถ้าถึงวัยที่ควรจะตรงแล้วมันไม่ตรง หรือถึงวัยที่จะแบะออกแต่ยังโก่งอยู่ หรือว่าถ้าความโก่งหรือความแบะมันไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง อาจจะขวามากกว่าซ้ายอันนี้ก็อาจจะผิดปกติ หรือลูกเดินลงน้ำหนักข้างซ้ายและขวาไม่เท่ากัน อาจลงน้ำหนักข้างซ้ายเยอะแต่ข้างขวาไม่ค่อยลง หรือหลังอายุ 3 ปี ไปแล้ว ขาลูกยังมีลักษณะโก่ง มีอาการเท้าปุก แนะนำให้พ่อแม่พาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุ (อ่านเรื่องลูกขาโก่งเพิ่มเติม > ลูกขาโก่ง ทำอย่างไรดี ต้องแก้ไขไหม?)
ความจริง : การนอนคว่ำตามหลักวิชาการไม่แนะนำเลย ก็อาจทำให้หัวสวยจริง แต่จะพบเคสเด็กที่นอนคว่ำ แล้วมีหยุดหายใจและเสียชีวิตได้ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุที่จะเป็นได้ เช่น พอกินเสร็จก็ไปจับนอนคว่ำ มีสำลักนมออกมา คุณแม่ก็จะไม่เห็นหน้าลูก ก็อาจได้ยินเสียงแอะๆ แล้วเงียบไปโดยเราไม่ทันสังเกต คิดว่าลูกนอนหลับ ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาได้
เพราะการนอนคว่ำมีผลการศึกษาพบว่า การนอนคว่ำในเด็กอายุ 1-4 เดือน มีโอกาสเกิดภาวะ “SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือ ไหลตาย โดยสันนิษฐานว่า การนอนคว่ำทำให้เกิดการกดทับบริเวณหน้าอกของเด็ก เด็กจะหายใจลำบากขึ้น โดยเฉพาะเด็กทารกที่นอนบนเตียงนิ่ม ๆ หรือมีเครื่องนอน เช่น ตุ๊กตา หรือหมอนอยู่ใกล้ ๆ ใบหน้า หรือบางครั้งเมื่อลูกดูดนมเสร็จ แม่ไปจับนอนคว่ำ อาจทำให้สำลักนมออกมา โดยเราไม่ทันสังเกตก็เกิดอันตรายกับเด็กได้
ดังนั้นการนอนที่ปลอดภัยในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน-1 ปี ควรเป็นการนอนตะแคงหรือนอนหงาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่จับลูกนอนคว่ำไม่ได้นะคะ ในเวลากลางวัน เราสามารถให้ลูกนอนคว่ำเล่นได้ แต่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อฝึกพัฒนากล้ามเนื้อคอและหลังของเด็ก ซึ่ง ควรทำหลังจากลูกกินนมไปแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการอาเจียนหรือสำลักค่ะ และควรเลือกเบาะสำหรับที่มีความแข็งกำลังดี ฟูกหรือหมอน ต้องไม่หนานุ่มหรือมีขนาดใหญ่เกินไป
ความจริง : ฉี่คือของเสียของร่างกาย ที่ขับสารบางอย่างที่ร่างกายไม่ต้องการออกมา เช่น ยูเรีย ซึ่งคงไม่เหมาะสมที่จะเอามากวาดลิ้นเด็ก การเช็ดทำความสะอาดลิ้นลูกนั้น คุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนที่จะเช็ดลิ้นให้ลูก ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว พอหมาด ๆ เช็ดเบา ๆ ให้ทั่วทั้งปากตั้งแต่โคนลิ้นไปจนถึงปลายลิ้น ทั้งด้านบนและด้านล่าง รวมไปถึงกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก
ส่วนลิ้นของเด็กที่จะเห็นเป็นฝ้า ส่วนใหญ่เกิดจากคราบนมที่กิน ที่จะมีคราบตกอยู่เหมือนคราบอาหารติดตามลิ้น ก็จะเจอได้บ่อย ซึ่งการทำความสะอาดแค่น้ำเปล่าธรรมดาก็จะออกไปแล้ว ส่วนฝ้าจากเชื้อราจะเห็นเป็นฝ้าขาวๆ ลูกจะเจ็บ งอแง เวลาที่กินนมและเช็ดธรรมความสะอาดก็อาจจะเจ็บ แล้วมีร้องกวน
เด็กทารกแรกเกิดกินนมเป็นหลักจึงทำให้มีฝ้าขาวที่ลิ้นเป็นปกติค่ะ ถ้าคุณแม่ไม่เช็ดออกอาจจะจับตัวหนาขึ้นได้ และถ้าฝ้าหนามากจนทำให้เด็กไม่ดูดนม เจ็บลิ้น ต้องระวังว่าอาจเป็น “เชื้อรา” ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์
ความจริง : กระดูกตรงจมูกของเราเป็นกระดูกอ่อน เพราะฉะนั้น กระดูกอ่อนจะเติบโตของมันเอง การไปบีบๆ ดึงๆ ไม่ได้ช่วยให้ใหญ่หรือโตขึ้น แต่การที่ไปบีบๆ ดึงอาจทำให้ดูนูนขึ้น เพราะพวกเนื้อเยื่ออ่อนๆ ตรงจมูกนูนขึ้นมาชั่วคราว แต่แล้วก็จะย่นลงไปตามแนวกระดูกออกเดิมที่มันมี
ความจริง : ผมดกหรือไม่ดก ก็จะอยู่ตรงพันธุกรรมด้วยส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเด็กโกนผมไฟ แต่พันธุกรรมผมไม่ดก ผมที่ขึ้นใหม่ก็ไม่ได้ดกขึ้นจะปริมาณเท่าเดิม เพียงแต่ผมที่ขึ้นใหม่จะดูแข็งกว่าผมอ่อนที่ติดมาตั้งแต่แรกเกิด ทำให้ดูเหมือนมันหนาดกขึ้น แต่โดนปกติถึงไม่โกน แต่ผมที่ติดมาตั้งแต่แรกเกิดก็จะผลัดหลุดออกไปเอง และสร้างขึ้นใหม่อยู่แล้ว ซึ่งจะหลุดประมาณ 2-3 เดือนก็จะผลัดทีหนึ่ง อย่างที่โบราณเขาพูดว่า ช่วงไหนที่ลูกผมร่วงก็แสดงว่าลูกจำหน้าแม่ได้
แม้ว่าความเข้าใจผิดที่หยิบยกมานั้นอาจไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อลูกมากมายนัก แต่การได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องก็ดีต่อลูกน้อยที่สุดค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก