ความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นได้เสมอ "ท้องลม" คือหนึ่งในความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ท้องลมคือะไร ท้องลมหมายถึงการแท้งลูกหรือไม่ และ ท้องลมสามารถป้องกันได้หรือเปล่า เรามีคำแนะนำค่ะ
ท้องลม (Blighted Ovum) หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “ภาวะไข่ฝ่อ” เป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่มีทารกอยู่ในครรภ์ เนื่องจากตัวอ่อนไม่แข็งแรงทำให้เกิดการแท้งเหลือเพียงถุงตั้งครรภ์ที่มีเพียงน้ำคร่ำเท่านั้น มักเกิดขึ้นในช่วงระยะเริ่มต้นของการตั้งครรภ์
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องลมนั้นยังไม่สามารถอธิบายได้ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ตัวอ่อนไม่แข็งแรงจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ มดลูกของแม่ท้องไม่แข็งแรง เป็นต้น
อาการท้องลมจะมีลักษณะการเหมือนกับคนท้องทั่วไป เพราะร่างกายจะมีการสร้าง HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนของคนท้องขึ้นมาแต่จะสร้างในปริมาณที่น้อยกว่า จึงทำให้มีอาการเดียวกับคนท้อง เช่น รอบเดือนขาด คัดเต้านมบ่อย คลื่นใส้ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะพบว่าตัวเองท้องลมตอนที่ไปฝากครรภ์และตอนอัลตราซาวด์ตรวจอย่างละเอียด
ท้องลมเป็นกระบวนการคัดเลือกทารกทางธรรมชาติ ทารกที่ไม่แข็งแรงจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อาการท้องลมจึงเป็นการแท้งลูกตามธรรมชาติในช่วงระยะเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ ดังนั้น เวลาแท้งจึงเสียเลือดไม่มาก อาการท้องลมไม่อันตรายกับร่างกายของแม่ แต่มีผลด้านจิตใจของพ่อและแม่มากกว่า
ท้องลมเป็นการท้องที่ครรภ์ครั้งนั้นไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพราะทารกในครรภ์เสียชีวิต ต้องยุติการตั้งครรภ์ทันที โดยมีการรักษาดูแลท้องลม 3 วิธี ดังนี้
*ในกรณีที่ไม่มีเลือดออกหรือเลือดกออกน้อยขณะตั้งท้องลมสามารถรอให้แท้งเอง หรือใช้ยาเหน็บในช่องคลอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแท้ง แต่ในกรณีที่มีเลือดออกมาก ปวดท้องมาก หรือแท้งไม่ครบ แพทย์จะพิจาณาและทำการขูดมดลูกเอาชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกออกมา เพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่จะตามมา
หลังจากท้องลมคุณแม่สามารถตั้งครรภ์ปกติได้ โดยไข่รอบใหม่จะตกในช่วง 2 - 4 สัปดาห์ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้คุมกำเนิดไว้ก่อนประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้ การตั้งครรภ์ในครั้งต่อไปมีโอกาสเป็นการตั้งครรภ์ปกติมากกว่าการท้องลม หากเกิดท้องลมในครั้งต่อไปอีก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
การดูแลร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ เช่น การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ เช่น การตรวจโครโมร โซมของพ่อและแม่ (เพราะหากพ่อแม่มีโครโมโซมผิดปกติ อาจมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ผิดปกติมากกว่าคนปกติ) เพื่อป้องกันการแท้งหรือท้องลมในครรภ์ต่อไป เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก:
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ