กระบวนการสร้างนมแม่
กระบวนการสร้างนมแม่เกิดจากร่างกายของแม่มีการผลิตฮอร์โมนๆ จากต่อมใต้สมองในการสั่งการสร้างน้ำนมเพื่อเตรียมพร้อมรับทารกที่กำลังจะเกิด ก่อนคลอดทารก ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เต้านมของแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น เต้านม ฐานนม และหัวนมขนาดใหญ่ขึ้น คัดหน้าอก มีน้ำใสๆ ไหลออกจาหัวนม เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการปกติของแม่ตั้งครรภ์ แต่หลังจากคลอดทารกแล้ว กระบวนการผลิตน้ำนมจะมีฮอร์โมน 2 ชนิดที่ควบคุมการสร้างและหลังน้ำนมอย่างชัดเจน คือ โพรแลคตินและออกซีโทซิน
โพรแลคติน ฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนม แต่จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อทารกดูดนมแม่ แต่หากทารกไม่ได้ดูดนมแม่ หรือไม่ได้ดูดต่อเนื่องบ่อยๆ ฮอร์โมนี้ก็จะลดลงจนทำให้ต่อมใต้สมองไม่ผลิตโพรแลคตินออกมาอีก เต้านมของแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้น้อยลงเช่นกัน
ออกซีโทซิน ฮอร์โมน หรือ bonding hormone เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความรักความผูกพัน ทุกครั้งที่ทารกดูดนมแม่ สมองจะผลิตฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความรักความผูกพันระหว่างคุณแม่และลูกน้อยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ออกซีโทซินยังทำให้แม่มีน้ำนมพุ่งออกจากเต้า เพราะฮอร์โมนจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ ต่อมน้ำนมให้มีการบีบรัดท่อน้ำนมทำให้น้ำนมไหลอย่างต่อเนื่องในขณะที่ทารกดูดนม
นมแม่และการให้นมแม่แก่เด็กทารก 0-1 ปี
นมแม่เป็นนมที่เหมาะสมกับทารกตั้งแรกเกิด เพราะมีสารอาหารที่เหมาะสมพร้อมทั้งภูมิต้านทานที่ช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย อีกทั้งช่วยคุณแม่ประหยัด ไม่เสียเวลาในการชง สามารถเข้าปากลูกและดูดกลืนน้ำนมได้ทันที
นมแม่ที่เรียกได้ว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยสารอาหารครบถ้วนที่สุด คือ ช่วงหลังคลอดที่จะมีน้ำนมเหลืองออกมาเรียกว่า โคลอสครัม (Colostrum) ถือเป็นหัวน้ำนมชั้นยอดของลูก เนื่องจากให้สารอาหารพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วนในสัดส่วนที่พอดี และสร้างภูมิต้านทานต่อเนื่องจากในครรภ์ได้อีกด้วย
ส่วนใหญ่แล้วนมแม่จะมาประมาณ 3-4 วันหลังคลอด ซึ่งก็จะเป็นช่วงที่ทารกกำลังนอนขี้เซาและปรับตัวกับโลกใบใหม่อยู่พอดี จากนั้นเข้าสู่วันที่ 7 ฮอร์โมนของคุณแม่ก็จะหลั่งช่วยเร่งสร้างน้ำนมให้มากขึ้นเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูก และการให้ลูกดูดนมเร็วหรือช้าค่อนข้างมีผลในการกระตุ้น เพราะหากคุณแม่ให้ลูกดูดนมบ่อยก็จะถือเป็นการกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมสำหรับมื้อต่อไปเยอะขึ้น อีกทั้งลูกก็จะคุ้นเคยกับหัวนมเร็วขึ้นด้วย
คุณแม่ควรให้ลูกอมดูดนมตั้งแต่หัวนมจนถึงลานนม เพื่อให้ลูกช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนมที่กระจายอยู่ทั่วเต้านม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหัวนมแตกได้ด้วย และการให้นมที่ดีควรให้ทุก 4 ชั่วโมงโดยสามารถสลับเต้าได้ เพราะปริมาณน้ำนมจะผลิตออกมาเพียงพอ และเมื่อลูกได้ดูดเต็มอิ่มก็จะนอนหลับยาว
ปริมาณและความถี่ในการให้นมลูก
จากวันแรกคลอด แม่จะมีน้ำนมประมาณ 30 ซีซี (หรือเฉลี่ยตั้งแต่ 7-123 ซีซี) ต่อวัน ต่อมาจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 70 ซีซี เป็น 100 ซีซี จนเป็นวันละ 200-300 ซีซี มากน้อยตามความบ่อยของการกระตุ้น การดูดที่ถูกวิธี และความรวดเร็วในการเริ่มให้ลูกกินนมแม่ จนกระทั่งถึงวันที่ 5 นมแม่จะเพิ่มปริมาณขึ้นเป็นประมาณ 500 ซีซีต่อวัน จะเป็นช่วงที่คุณแม่เริ่มรู้สึกว่าเต้านมตึงคัดและน้ำนมเริ่มมีมากขึ้น
สิ่งที่ควรทำคือการให้ลูกกินนมบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 8-12 ครั้ง ส่วนคุณแม่ที่รู้สึกว่านมไม่คัดเลย อย่าเพิ่งตกใจ เพราะถ้าคุณแม่ขยันให้ลูกกินนม น้ำนมจะถูกถ่ายเทจนไม่มีการคัดคั่งอยู่ในเต้าให้ปวดเต้านม ตราบใดที่ลูกกินอิ่ม หลับสบาย ไม่ร้องกวนก็นับว่าใช้ได้ ถัดมาในช่วง 3-5 เดือน แม่จะสามารถผลิตน้ำนมได้ถึง 750 ซีซีต่อวัน
ลูกจะกินนมแม่ 100 -150 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ตัวอย่างเช่น ลูกน้ำหนัก 3 กิโลกรัม จะต้องการน้ำนม 150 x 3 = 450 ซีซี แบ่งกิน 8 มื้อ ประมาณมื้อละ 60 ซีซี หรือ 2 ออนซ์
วันแรกคลอดลูกอาจจะกินนมแม่ 8 ครั้ง ทุกครั้งก็ได้ 3-4 ซีซี คุณแม่อาจจะกลัวว่าลูกจะได้น้ำนมไม่เพียงพอหรือจะทำให้ลูกหิวก็อย่าเพิ่งตกใจ ลูกจะมีสะสมมาจากในท้องแม่เป็นทุนสำรองไว้แล้ว 2-3 วัน ในช่วงน้ำนมกำลังเพิ่มปริมาณ ประกอบกับยังเป็นช่วงเวลาที่ลูกนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ การใช้พลังงานจึงยังไม่มากนัก
การกินให้พอดีคือการกินให้อิ่ม นอนหลับสบายไม่งอแง น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ก็เพียงพอ เพราะการบอกจำนวนคงเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่กินนมจากเต้านมแม่ แต่เรามักใช้เกณฑ์ที่ว่าให้กินนมแต่ละครั้งนานไม่น้อยกว่า 20-30 นาที และให้ได้น้ำนมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน และจำนวนครั้งจะลดลงเมื่อเด็กโตขึ้น
อายุ | น้ำนมที่ต้องการ | น้ำหนัก |
สัปดาห์แรก | 10-12 ครั้ง/วัน | ลดลงไม่เกินกว่า 10% จากตอนแรกเกิด |
สัปดาห์ที่ 2-3 | 0-12 ครั้ง/วัน | 1 เท่ากับแรกเกิด |
สัปดาห์ ที่ 4 | 8-10 ครั้ง/วัน | เพิ่ม ขึ้น 0.5-1 กิโลกรัม |
2 เดือน | 8-10 ครั้ง/วัน | เพิ่มเดือนละ 1 กิโลกรัม |
3 เดือน | 7-8 ครั้ง/วัน | เพิ่มเดือนละ 1 กิโลกรัม |
4 เดือน | 6-8 ครั้ง/วัน | เพิ่มเดือนละ 1 กิโลกรัม |
5 เดือน | 6-8 ครั้ง/วัน | 2 เท่าของแรกเกิด |
6-7 เดือน | 5-6 ครั้ง + อาหารเสริม 1 มื้อ | 3 เท่าของแรกเกิด |
8-9 เดือน | 5-6 ครั้ง + อาหารเสริม 2 มื้อ | 3 เท่าของแรกเกิด |
10-12เดือน | 4-6 ครั้ง + อาหารเสริม 3 มื้อ | 3 เท่าของแรกเกิด |
กระตุ้นเพิ่มน้ำนมอย่างไร
ก่อนให้ลูกกินนม คุณแม่ควรประคบผ้าร้อนสัก 10 นาที นวดเบาๆ รอบๆ เต้านมโดยใช้ปลายนิ้วนวดเป็นวงกลมรอบๆ เต้านม คลึงหัวนมเบาๆ ด้วยปลายนิ้วโป้งกับนิ้วชี้
ประโยชน์ของนมแม่
6 เดือนแรกเป็นช่วงสำคัญในการสร้างรากฐานและการเจริญเติบโตของสมองลูก อีกทั้งร่างกายของลูกก็ยังมีข้อจำกัด อาทิ ความจุของกระเพาะอาหารยังน้อย , ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง , ระบบการย่อยและการดูดซึมยังพัฒนาไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำย่อยแป้ง ไขมัน โปรตีน ต้องเลย 6 เดือนไปแล้วถึงจะพัฒนาเต็มที่ เพราะฉะนั้นถ้าเด็กไปกินอาหารอื่นก็จะทำให้การย่อยอาหารไม่ดีพอ
โครงสร้างของเซลล์ในลำไส้ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ทำให้มีช่องว่างของเซลล์ ถ้าลูกกินอาหารอื่นเข้าไปก็อาจจะหลุดเข้าไปในช่องว่างนั้น และเข้าไปในกระแสโลหิตได้ และจะทำให้เกิดการแพ้ เช่น แพ้โปรตีนนมวัว รวมทั้งเชื้อโรคก็เล็ดลอดเข้าไปได้ เพราะภูมิคุ้มกันน้อยลง รวมทั้งสมรรถภาพของตับ ไต ยังไม่แข็งแรงดีพอในการรับอาหารอื่นด้วย
ทั้งนี้ หลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้ศึกษาเป็นระยะเวลานานเกือบ 6 ปี จึงประกาศให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพราะดีต่อสุขภาพร่างกายลูกหลายๆ ด้าน และหากคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนเต็ม จะมีผลดีกับลูกและแม่มากกว่าให้กินแค่ 4 เดือน คือ
อาหารสร้างนมแม่
โดยปกติแล้วหากแม่รับประทานถูกหลักโภชนาการ ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเรียกน้ำนม เพราะร่างกายแม่จะได้สารอาหารอย่างครบถ้วน และสารอาหารเหล่านี้ก็จะกลายเป็นสารอาหารอย่างครบถ้วนในน้ำนมแม่เช่นกัน สารอาหารหลักๆ ที่แม่ควรรับประทานเพื่อเพิ่มคุณค่าในน้ำนม ได้แก่
|
|
อาหารที่ควรรับประทานเพื่อสร้างน้ำนม
|
|
เมนูเรียกน้ำนม
|
|