แม่หลังคลอดที่มีอาการซึมเศร้าไม่รุนแรง ไม่ใช่อาการทางจิตเวชจึงไม่มียารักษาได้ การรักษาจึงเป็นเรื่องของการดูแลและปรับสภาพจิตใจของคุณแม่เป็นหลัก และเป็นอาการที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะส่งผลเสียต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยที่อยู่ในช่วงดื่มนมแม่และต้องกรรักและความอบอุ่นจากคุณแม่เป็นสำคัญค่ะ
ปกติแม่หลังคลอดควรจะดีใจสุขใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการคลอดปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้น ทั้งกับตัวคุณแม่และเจ้าตัวน้อย แต่คุณแม่กลุ่มหนึ่งกลับมีอาการดังนี้
เหมือนไม่อยากมีชีวิตอยู่ เครียด หดหู่ น้อยใจสามีและคนรอบข้าง ร้องไห้ไม่มีเหตุผล วิตกกังวลสูง
ทั้งหมดนี้คืออาการที่เรียกว่า อาการซึมเศร้าหลังคลอด โดยมีสาเหตุดังนี้
ปัญหาระหว่างคลอด: คุณแม่ที่มีปัญหาระหว่างการคลอด เมื่อคลอดแล้วมักจะเกิดอาการซึมเศร้าค่อนข้างสูง เช่น มีอาการเจ็บปวดในระหว่างการคลอดมาก หรือหลังคลอดแล้วทารกไม่เป็นไปดังที่คาดหวังไว้ เช่น น้ำหนักน้อย มีปัญหาเรื่องการหายใจ ตัวเขียว เหลือง (ความจริงแล้วลูกตัวเหลืองเป็นเรื่องปกติ แต่คุณแม่หลายๆ ท่านก็กังวล) จนทำให้มีอาการซึมเศร้าได้
ความไม่สบายตัว: เช่น หลังคลอดแล้วรู้สึกเจ็บแผล รู้สึกไม่สบายตัว พักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอนมากๆ
ปัญหาครอบครัว: การไม่พร้อมในหลายๆ เรื่องของครอบครัวมีส่วนกระตุ้นให้เกิดปัญหานี้ได้ เช่น สภาพเศรษฐกิจ ไม่มีคนช่วยเลี้ยงลูก ฯลฯ
กังวลเรื่องการเลี้ยงลูก: เช่น กลัวจะเลี้ยงลูกได้ไม่ดี ไม่รู้จะอุ้มลูกอย่างไร ต้องอาบน้ำลูกเองให้เป็น ฯลฯ
กลัวไม่เป็นที่รักของสามี: เนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป เวลาส่วนใหญ่ก็หมดไปกับการเลี้ยงลูก กลัวสามีจะนอกใจ เพราะระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดใหม่ๆ ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับสามีได้ ก็ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจ และอาจทำให้ซึมเศร้าในที่สุด
มีงานวิจัยและ รายงานไว้เมื่อปี 1994 ว่าคุณแม่ที่ซึมเศร้าจะมีโปรเจสเตอร์โรนระหว่างตั้งครรภ์สูงกว่าค่ามาตรฐาน โดยทั่วไป แต่ไม่ได้แจ้งตัวเลขว่าค่ามาตรฐานเป็นเท่าไร และหลังคลอดระดับฮอร์โมนก็จะต่ำมากๆ จึงเชื่อว่าระดับโปรเจสเตอร์โรนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว มีผลให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ แต่การศึกษายังค้างอยู่แค่นั้น และไม่มีใครรายงานต่อ ส่วนแฮริสเองก็ยังไม่สรุปว่าอาการซึมเศร้าหลังคลอดเกี่ยวกับโปรเจสเตอร์โร นจริงหรือไม่ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการรักษาด้วยการให้โปรเจสเตอร์โรนกับคุณแม่ซึมเศร้า
ผลต่อตัวคุณแม่: ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว เพราะว่าแม่หลังคลอดกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติจะต้องอาศัยอาหารที่ถูกสัดส่วนด้วย แต่พอซึมเศร้าคุณแม่มักินอาหารได้ไม่ดี นอกจากนั้นก็ยังมีภาระในการเลี้ยงลูกซึ่งต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พอกินไม่ได้นอนไม่หลับ สุขภาพก็จะแย่ลง การเลี้ยงดูลูกก็พลอยแย่ลงไปด้วย
ผลต่อลูกน้อย: มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ได้รับการเลี้ยงไม่ถูกต้อง การดูแลไม่ถูกต้อง ที่ร้ายมากๆ ก็อาจถึงขั้นทิ้งลูกหรือทำร้ายลูก
1. postpartum blues เป็นอาการในระดับอ่อนและเกิดเร็วที่สุด โดยจะเริ่มเป็นภายใน 2-3 วันแรกหลังคลอด และจะคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ แต่โดยทั่วไปมักไม่นานเกิน 10 วันหรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ คุณแม่ที่มีอาการในระดับนี้จะรู้สึกวิตกกังวล หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย มีอาการเศร้า เหงา เบื่ออาหาร ซึ่งอาการจะไม่ค่อยรุนแรงมากนัก ลักษณะเหมือนคนหงุดหงิดทั่วๆ ไป ไม่กระทบต่อสุขภาพมากนัก เช่น เบื่ออาหารก็อาจจะรับประทานน้อยลง แต่ไม่ถึงกับกินไม่ได้เลย กลุ่มนี้จะมี 50-70% ของแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด
2. postpartum depression อาการจะรุนแรงมากขึ้น โดยจะเริ่มตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และอาจจะคงอยู่ส่วนใหญ่ประมาณ 4 สัปดาห์ คือไม่เกิน 1 เดือน เป็นอาการต่อเนื่องกับระดับแรก คือ ถ้าซึมเศร้าเกิน 2 สัปดาห์เมื่อไหร่ก็จะถือว่าเป็นระดับนี้ ลักษณะอาการจะเหมือนกลุ่มแรกทั้งหมด แต่มีระดับความรุนแรงมากขึ้น หลายๆ อาการจะเริ่มรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น ไม่กิน ไม่ลุกจากเตียง นอนร้องไห้ เลี้ยงดูลูกไม่ได้ ต้องมีคนเข้ามาช่วยมากขึ้น แต่กลุ่มนี้จะไม่ถึงกับหลุดไปจากโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ทำร้ายลูก ซึ่งจะพบได้ประมาณ 10-15%
3. postpartum phychosis เป็นดับรุนแรงที่สุด คือมีอาการของโรคทางจิตเวช เริ่มเกิดหลังจาก 4 สัปดาห์ แล้วก็คงอยู่จนกว่าการรักษาจะได้ผล
ส่วนสาเหตุจะคล้ายกับ 2 กลุ่มแรก แต่ที่เพิ่มขึ้น คืออาจมีประวัติป่วยทางจิตเวชมาก่อน เช่น ระหว่างท้องอ่อนๆ มีประวัติทำร้ายตัวเองมาก่อน หรือสมาชิกในครอบครัวมีประวัติทางจิตเวช หรือตัวเองเป็นอยู่แล้ว ก็จะมีอาการนำไปก่อนได้ง่ายขึ้น ลักษณะอาการกลุ่มนี้จะคล้ายกับไบโพล่าร์ คือเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย การแสดงอารมณ์จะไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ แต่กลุ่มนี้จะแยกได้ง่าย คืออาการจะหลุดออกไปจากความเป็นจริง ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้เลย ในรายที่มีอาการมากๆ อาจทำร้ายลูก แต่พบได้น้อยประมาณ 01.-04% เท่านั้น